ผ้าห่อพระศพถูกพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1357 ที่หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในประเทสฝรั่งเศส แต่ก่อนหน้านี้ก็มีการเล่าลือถึงผ้าซึ่งมีภาพของพระเยซูเจ้าปรากฏอยู่แล้ว นักประวัติศาสตร์กล่าวว่า.. เริ่มพบหลักฐานของผ้าอยู่ที่กรุงคอนแสตนติโนเปิล ในปี 944 และมีเอกสารกล่าวถึงผ้าโบราณซึ่งเรียกว่า.. ภาพแห่งเอเดสสา Image of
ตามบันทึกของ Eusebius (และนี่ต้องพิจารณาว่าเป็นเพียงตำนาน) ผ้าถูกนำมาที่ Edessa โดยอัครสาวกโทมาส หรือไม่ก็เทเดียส ในปี 544 ผ้าที่มีภาพของพระเยซูเจ้านั้นก็ถูกซ่อนเอาไว้ที่กำแพงทางเข้าเมืองแห่ง Edessa ผ้าถูกนำไปที่คอนแสตนติโนเปิลเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 944 ในเวลานั้นมีการเขียนบรรยายถึงความยาวของผ้าและภาพของพระเยซูเจ้าและรอยเปื้อนพระโลหิตของพระองค์ ต่อจากคอนแสตนติโนเปิล
ปัจจุบันผ้าตราสังถูกเก็บรักษาไว้ที่อาสนวิหาร ซาน โจวานนี่ บัตติสต้า ในเมืองโตริโน่(ตูริน) ประเทศอิตาลี
ผ้าห่อพระศพแห่งตูรินเป็นผ้าลินินยาว 14 ฟุต กว้าง 4 ฟุต นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการตรวจสอบร่องรอยที่เปรอะเปื้อนบนผืนผ้าห่อพระศพก็พบว่า.. รอยเหล่านั้นเป็นคราบเลือดกรุ๊ป AB ของผู้ชาย ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องที่พระเยซูได้รับบาดเจ็บจากการถูกตรึงบนไม้กางเขนและยังมีร่องรอยบาดแผล เกิดจากมงกุฏหนามและรอยบาดเจ็บอื่น ๆ
เมื่อเร็วๆ นี้ทางวาติกันได้ออกมาแถลงให้ทราบว่า.. อัศวิน Knights Templar เป็นคนเก็บรักษาผ้านี้ไว้มากกว่า 100 ปีนับตั้งแต่สงครามครูเสด ทางวาติกันแถลงครั้งนี้เพื่อแก้ข้อสงสัยหลายคนเกี่ยวกับประวัติของผ้าที่สูญหายไปก่อนปี 1349
ราว 11.45 น. ของวันศุกร์ที่ 11 เมษายน 1997 ได้เกิดไฟไหม้ขึ้นที่โบสถ์กัวริน (Guarini) สถานที่ตั้งแสดงผ้าห่อพระศพของพระเยซู ไฟได้ไหม้ลุกโหมอย่างรวดเร็ว เดชะบุญที่ผ้าห่อพระศพได้ถูกย้ายจากแท่นบูชามาเก็บไว้ในวิหารใหญ่ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1993 ผ้าห่อพระศพถูกบรรจุอยู่ในหีบเงิน และใส่ไว้ในตู้กระจกกันกระสุนอีกทีหนึ่ง แต่กระนั้นนักผจญเพลิงก้ยังไม่ไว้ใจว่าผ้าผืนนั้นจะปลอดภัยจากเพลิงที่กำลังโหมเข้ามาใกล้ พวกเขาจึงกรูกันเข้าไปใช้ฆ้อนปอนด์อันใหญ๋ทุบกระจกกันกระสุนอย่างหนา เพื่อจะเอาหีบพระศพออกมา
เป็นที่น่าอัศจรรย์ว่ากระจกที่สามารถกันกระสุนได้กลับถูกนักดับเพลิงทุบจนแตกกระจาย และนั่นก็อาจเป็นเพราะพลังแห่งศรํทธาที่นักดับเพลิงมีต่อผ้าศักดิ์สิทธิ์ผืนนั้น
เมื่อได้หีบนั้นมาแล้วพวกเขาต่างก็รีบนำไปส่งให้กับพระคาร์ดินัลจิโอวานนิ ซาล ดารินิ ถึงแม้ว่าพระเพลิงจะยังมาไม่ถึงวิหารใหญ่ที่เก็บหีบก็ตาม แต่เศษกระจกจากยอดโดมที่แตกลงมาเกลื่อนกลาดก็เป็นอันตรายต่อเหล่านักผจญเพลิงเป็นอย่างมาก
หลังจากเพลิงสงบก็พบว่า.. โบสถ์และวัตถุโบราณล้ำค่าหลายอย่างได้ถูกทำลายย่อยยับ รวมค่าเสียหายประมาณ 6 ล้านดอลล่าร์ (กว่า 250ล้านบาท)
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ผ้าศักดิ์สิทธิ์ผืนนี้ต้องเผชิญหน้ากับอัคคีภัย เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 1532 ผ้าห่อพระศพเกือบจะถูกพระเพลิงเผาผลาญเมื่อเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่โบสถ์เซนท์ ในแซมเบอรี คราวนั้นความร้อนของไฟทำให้หีบเงินหลอมละลายและหยดลงบนผืนผ้า ทำให้เกิดรอยไหม้ดังที่เราเห็นเป็นรูโหว่ตรงรอยพับ
ในปี ค.ศ.1988 ทางวาติกันอนุญาตให้มีการหาอายุของผ้าตราสังเพื่อพิสูจน์ความแท้จริง เรียกว่าโครงการวิจัยผ้าตราสังแห่งตุริน the Shroud of
นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งได้แย้งว่า.. การทดสอบนั้นน่าจะมีการผิดพลาด เนี่องจากผ้าผืนนี้มีอายุเก่าแก่มาก ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเป็นพันๆ ปี จึงทำให้มีสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นละอองเกาะตามเนื้อผ้าเต็มไปหมด และผ้าผืนนี้ก็ประสบวิบากกรรม เผชิญกับเหตุการ์ณไฟไหม้ครั้งใหญ่เมื่อปี ค.ศ.1532 คราบเขม่าและควันไฟจากเหตุการณ์ครั้งนั้นได้เกาะจับอยู่บนเนื้อผ้า ทำให้นักวิทยาศาสตร์หาอายุที่แท้จริงของมันไม่พบ
ในปี ค.ศ.1993 ดร.ลีออนซิโอ การ์ซา-วาลเดช(Leoncio A. Garza-valdes)กุมารแพทย์จากซานอันโตนิโอและเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านวัตถุ สมัยยุคก่อนค้นพบสหรัฐ กับศาสตราจารย์สตีเฟ่น เจ แมททิงลี่ย์ (Stephen J. mattingly)ประธานสมาคมจุลวิทยาแห่งสหรัฐสาขาเท็กซัส จึงอุทิศความรู้ความสามารถของพวกเขา มาพิสูจน์เรื่องนี้ให้เห็นดำเห็นแดงกันไป
หลังจากที่ใช้เวลาหลายเดือน ทำการตรวจสอบตัวอย่างชิ้นส่วนผ้าห่อพระศพพวกเขาก็พบว่า.. จริงๆ แล้วตัวอย่างที่ได้มานั้น มีอายุยาวนานกว่าอายุคาร์บอนที่อยู่ในเนื้อผ้า
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า.. เนื้อผ้าได้ถูกแบคทีเรียและราเกาะติดอยู่บนเนื้อผ้านานนับศตวรรษ แต่ที่การค้นพบครั้งนี้ไม่ถูกเปิดเผยอย่างเป็นทางการก็เพราะว่า.. ผู้มีอำนาจในโบสถ์คาธอลิกปฏิเสธ ที่จะให้การรับรองว่า.. ชิ้นส่วนตัวอย่างที่ ดร.ลีออนซิโอ กับศาสตราจารย์สตีเฟ่นได้มานั้น เป็นชิ้นส่วนที่นำมาจากผ้าห่อพระศพแห่งตูริน ทั้งที่นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 ท่านได้รับชิ้นส่วนนี้มาจากจืโอวานิ ริกกิ ติ นูมานา (Giovanni Riggi diNua) ผู้ที่ได้รับอนุญาติให้ตัดชิ้นส่วนตัวอย่างออกมาจากผ้าห่อพระศพ เพื่อตรวจสอบหาอายุคาร์บอนเมื่อปี ค.ศ.1988… |