แมนยูเล็งทุบโอลด์ แทรฟฟอร์ด สร้างรังเหย้าใหม่
หน้าแรกTeeNee ที่นี่กีฬา พูดคุยเรื่องฟุตบอลและกีฬาต่าง ๆ ปีศาจแดง แมนยู แมนยูเล็งทุบโอลด์ แทรฟฟอร์ด สร้างรังเหย้าใหม่
แมนยูเล็งทุบโอลด์ แทรฟฟอร์ด สร้างรังเหย้าใหม่ พิจารณาแล้วเก็บไว้ต้องใช้งบดูแลเพียบ
"เดลี่เมล" รายงานว่า แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จะมีการทุบสนามโอลด์ แทรฟฟอร์ด เพื่อสร้างสนามเหย้าใหม่ ความจุ 100,000 ที่นั่ง ในมูลค่า 2,000 ล้านปอนด์(88,034 ล้านบาท) แทนที่แผนเดิมจะสร้างสนามใหม่ในบริเวณใกล้เคียงกับโอลด์ แทรฟฟอร์ด แล้วปรับให้โอลด์ แทรฟฟอร์ด เป็นสนามเหย้าของทีมหญิง และเป็นพิพิธภัณฑ์ของสโมสรแทน
อย่างไรก็ตามคณะทำงานในเรื่องการพิจารณาเรื่องสนามเหย้าใหม่ มองว่าถ้ายังคงเก็บโอลด์ แทรฟฟอร์ดไว้ จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการบำรุงรักษา และทีมหญิงต้องการสนามเหย้าความจุไม่เกิน 30,000 ที่นั่งเท่านั้น จึงไม่เหมาะที่จะใช้สนามที่มีความจุมากกว่า 70,000 ที่นั่งในระยะยาว ดังนั้นจะมีการสร้างสนามใหม่ที่มีความจุ 15,000 ที่นั่ง ให้เป็นสนามเหย้าใหม่ของทีมหญิง
นอกจากนั้นแมนยูจะมีการส่งอีเมลเพื่อสอบถามความเห็นของแฟนบอลที่ถือตั๋วปีของสโมสร ว่าอยากให้ดำเนินการเรื่องสนามเหย้าไปในทิศทางไหน ส่วนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในเรื่องสนามเหย้าใหม่นั้น จะต้องได้ข้อสรุปภายในซัมเมอร์ ปีหน้า และจะก่อสร้างให้พร้อมใช้งานภายในปี 2030
"เดลี่เมล" รายงานว่า แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จะมีการทุบสนามโอลด์ แทรฟฟอร์ด เพื่อสร้างสนามเหย้าใหม่ ความจุ 100,000 ที่นั่ง ในมูลค่า 2,000 ล้านปอนด์(88,034 ล้านบาท) แทนที่แผนเดิมจะสร้างสนามใหม่ในบริเวณใกล้เคียงกับโอลด์ แทรฟฟอร์ด แล้วปรับให้โอลด์ แทรฟฟอร์ด เป็นสนามเหย้าของทีมหญิง และเป็นพิพิธภัณฑ์ของสโมสรแทน
อย่างไรก็ตามคณะทำงานในเรื่องการพิจารณาเรื่องสนามเหย้าใหม่ มองว่าถ้ายังคงเก็บโอลด์ แทรฟฟอร์ดไว้ จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการบำรุงรักษา และทีมหญิงต้องการสนามเหย้าความจุไม่เกิน 30,000 ที่นั่งเท่านั้น จึงไม่เหมาะที่จะใช้สนามที่มีความจุมากกว่า 70,000 ที่นั่งในระยะยาว ดังนั้นจะมีการสร้างสนามใหม่ที่มีความจุ 15,000 ที่นั่ง ให้เป็นสนามเหย้าใหม่ของทีมหญิง
นอกจากนั้นแมนยูจะมีการส่งอีเมลเพื่อสอบถามความเห็นของแฟนบอลที่ถือตั๋วปีของสโมสร ว่าอยากให้ดำเนินการเรื่องสนามเหย้าไปในทิศทางไหน ส่วนการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในเรื่องสนามเหย้าใหม่นั้น จะต้องได้ข้อสรุปภายในซัมเมอร์ ปีหน้า และจะก่อสร้างให้พร้อมใช้งานภายในปี 2030