เหี้ย กับ ตะกวด แยกแยะให้ออก






สืบเนื่องมาจากการร้องเรียนของชาวบ้านในอยุธยาซึ่งกำลังเจอปัญหาน้ำท่วม
ว่ามีตัวตะกวดบุกขึ้นบ้านและมุดเข้ามุ้งจะทำร้ายลูกอายุ 26 วันของเขา

นายสัตวแพทย์อลงกรณ์ มหรรณพ สัตวแพทย์ประจำสำนักพระราชวัง
จึงได้ออกมาให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องของตัวตะกวดค่ะ


 




ดูกันให้จะๆ นี่คือตัวเหี้ยหรือ water monitor ค่ะ
(โปรดอย่าว่าลมเพลมพัดหยาบคาย เนื่องจากมันเป็นชื่อสัตว์ล่ะเนาะ)
เจ้าตัวเงินตัวทองนี้ชอบอยู่ในน้ำ หากินตามที่ชื้นแฉะ เช่น ริมน้ำ ท่อระบายน้ำ
ลำตัวเขาจะเป็นสีเหลืองน้ำตาล มีลายดำขวางตั้งแต่ลำคอถึงหางค่ะ
เฉพาะปลายหางจะมีลายดำสลับเหลืองประมาณ 7-9 แถบ


ต่างจากตัวตะกวดหรือ tree monitor



เจ้าตัวนี้ชอบอยู่ในที่แห้งและบนต้นไม้ มีสีน้ำตาลทั้งตัว
แต่ทั้งคู่ก็เป็นสัตว์เลือดเย็น ชอบกินซากสัตว์ที่ตายแล้วเป็นอาหารเหมือนกัน


นายสัตวแพทย์อลงกรณ์บอกว่า เจ้าตัวที่มุดมุ้งในอยุธยา น่าจะเป็นตัวเหี้ยมากกว่าค่ะ
เพราะมันมากับน้ำและคงไม่มีเจตนาทำร้ายเด็ก มันก็เพียงแต่มาหาที่อบอุ่นเท่านั้นเอง

ตัวเหี้ยออกลูกเป็นไข่ คราวละ 15-20 ฟอง ใช้เวลาฟัก 45-50 วัน
วางไข่ช่วงปลายฤดูร้อนต่อต้นฤดูฝน
ช่วงเวลานี้จึงเป็นเวลาที่ลูกเหี้ยออกมาจากไข่ได้ระยะหนึ่งแล้ว ขนาดตัวคงประมาณ 30-50 ซม.


ตามแหล่งน้ำหรือท่อระบายน้ำในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
น่าจะมีเจ้าพวกนี้อาศัยอยู่ไม่ต่ำกว่าหมื่นตัว หรือคิดง่ายๆ เฉลี่ยเขตละ 200 ตัวนั่นเองค่ะ


...


เอาเรื่องนี้มาบอกต่อ
เพราะหลายคนคงเข้าใจผิดเหมือนลมเพฯ ว่าตะกวดกับตัวเหี้ยมันเหมือนกัน




คนดีกับคนไม่ดี ก็คงต้องใช้หลักการแยกแยะคล้ายกันนี้
สักวัน....ลายมันก็ต้องปรากฎออกมา



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์