The Soong Sisters สามพี่น้องตระกูลซ่ง










src=http://img.photobucket.com/albums/v622/jump2002/blog/song1.jpg


คนทำหนังคู่หูอย่าง Marbel Cheung และ Alex Law นั้นสร้างชื่อในวงการภาพยนตร์ จากบอกเล่าเรื่องราวของคนเล็กๆ ที่มุ่งสำรวจชีวิตของคนจีนในสังคมร่วมสมัยได้ อย่างลุ่มลึก และอย่างต่อเนื่อง ที่โด่งที่สุดก็คืองานชุด “ไตรภาคแห่งคนอพยพ” หนังดังที่เรารู้จักกันดีอย่าง “ดอกไม้กับนายกระจอก” ก็เป็นหนึ่งในไตรภาคชุดนี้ (ส่วนงานอีกสองเรื่องในชุดก็คือ The Immigrant Story และ Eight Taels of Gold)


จนกระทั่งในปี 1996 ทั้งสองเลือก ในทางเดินสายใหม่ หันมาสร้างงานในประเภท อีพิคอิงประวัติศาสตร์ ที่เล่าอันแสนเรื่องยิ่งใหญ่ ของคนที่มีชื่อเสียงแห่งยุค อย่างสามพี่น้องตระกูลซ่ง เรื่องราวของพี่น้องผู้หญิง 3 คนที่ใช่ชีวิตอยู่ชิดกับความเปลี่ยนแปลงการปกครองของจีนแผ่นดินใหญ่ The Soong Sisters เป็นงานที่แสดงออกถึงความทะเยอทะยาน ในฐานะคนทำหนังของ Marbel Cheung และ Alex Law ทั้งในแง่การสร้างงานที่ยากลำบาก ด้วยงานสร้างที่ใหญ่โต ความเข้มงวดของรัฐบาลจีน ในการตรวจทานบทภาพยนตร์


ความทะเยอทะยานของผู้สร้าง ยังแสดงออกในการบอกเล่าเรื่องราว อันเป็นแง่มุมของประวัติศาสตร์ ที่สะท้อนไปถึงความเป็นไปของคนจีนในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดยืนทางการเมืองที่แตกต่างของ จีน ฮ่องกง และไต้หวัน น่าเสียดาย The Soong Sisters เป็นได้เพียงความทะเยอทะยานอันล้มเหลว หนังอาจจะมีแง่มุม รวมถึงการแสดงที่น่าสนใจ อยู่บ้าง แต่ภาพรวมนั้น กลับกลายเป็นความผิดหวัง



src=http://img.photobucket.com/albums/v622/jump2002/blog/song3.jpg


The Soong Sisters นั้นบอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่เริ่มต้น ความรุ่งเรื่อง วิบากกรม ตราบจนถึงปั้นปลายของชีวิต ของพี่น้องสามคน ลูกสาวของ ชาลี ซ่ง (เจียงเหวิน) ชาวจีนผู้มีการศึกษา และเลี้ยงลูกอย่างสมัยใหม่ ให้การศึกษาเทียบเท่าผู้ชาย สอนภาษาอังกฤษ ส่งไปเรียนหนังสือยังต่างประเทศ แต่ผู้หญิงทั้งสามคนกลับมีทางเดินที่แตกต่างกัน ทางแยกของเธอทั้งสามได้สะท้อนออกมาอย่างเด่นชัด ในการเลือกคู่ครองนั้นเอง ที่ล้วนการเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในชีวิตของพวกเธอแต่ละคน


ซ่งอ้ายหลิง (มิเชล โหย่ว) เลือกชายหนุ่มร่างท้วมกับพ่อค้าใหญ่ ชาวเมืองชานสี เป็นสามี ที่ในเวลาต่อมาเขาได้กลายเป็นผู้กุมอำนาจทางเศรษกิจของจีน พี่สาวคนรอง ซ่งจิงหลิง (จางมั่นอวี้) กลับขัดขืนคำสั่งผู้เป็นบิดา เมื่อเธอตัดสินใจแต่งงานกับ ชายอายุคราวพ่ออย่าง ซุนยัดเซ็น (วินสตัน เชา) ถึงแม้ชายผู้นี้ จะได้รับการขนานนามว่า บิดาแห่งประเทศจีนยุคใหม่ ก็ตามที ส่วนน้องสาวคนสุดท้อง ซ่งเหม่ยหลิง (วิเวียน วู) เลือกคู่ครองเป็นนายทหารหนุ่ม อนาคตไกล เจียงไคเช็ก ที่ต่อมากลายเป็น ผู้นำแห่งพรรคก๊กมินตั๋ง และนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งไต้หวัน สามพี่น้องแห่งตระกูลซ่งได้เลือกทางเดินกันคนละสาย นับแต่วันที่เลือกชายที่ผู้จะอยู่เคียงนั้นเอง


src=http://img.photobucket.com/albums/v622/jump2002/blog/song4.jpg


มักมีคำกล่าวถึง พี่น้องตระกูลซ่งว่า “คนหนึ่งรักเงิน คนหนึ่งรักอำนาจ และคนหนึ่งรักประเทศ” ผู้สร้างพยายามนำแนวคิดอันนี้มาผูกกับเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ ความตึงเครียดของจีนและไต้หวัน รวมถึงการส่งมอบเกาะฮ่องกง สู่การปกครองของจีน ตัวละครหญิงทั้ง 3 กลายเป็นภาพสะท้อนถึงอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน ของแต่ละประเทศ ซ่งอ้ายหลิง ตัวแทนของฮ่องกง ที่ทุ่มเททุกอย่างให้กับการแสวงหาความมั่งคั่ง และความสุขแบบทุนนิยม ซ่งจิงหลิง ตัวแทนแห่งจีนแผ่นดินใหญ่ กลับเชิดชูการใช้ชีวิตเพื่อคนอื่นเป็นสำคัญ และซ่งเหม่ยหลิง หญิง ก็สะท้อนภาพความทะเยอทะยานทางการเมืองของไต้หวัน


อันที่จริงดูเป็นแนวคิดที่เข้าท่า ในการสร้างความขัดแย้งของพี่น้อง ที่เชื่อมโยงไปยังความขัดแย้งของชนชาติ แต่ The Soong Sisters นั้นถ่ายทำในประเทศจีน อาจจะเป็นการกดดันจากรัฐบาลปิกกิ่ง (ที่ใช้เวลาตรวจทานบทภาพยนตร์เรื่องนี้ถึง 5 เดือน) หรือแนวคิดส่วนตัวของคนทำหนังเอง ก็สุดแล้วแต่จะคาดเดานะครับ แต่นั้นทำให้ภาพพจน์ของ จีน ฮ่องกง และไต้หวัน ที่ถูกเสนอผ่านตัวละคร ออกมาในลักษณ์ของ ขาวกับดำอยู่พอสมควร ซ่งจิงหลิง นั้นถูกสร้างให้กลายเป็นแม่พระของชาวจีน มีฉากแสดงความยิ่งใหญ่ กล้าหาญ ของเธออยู่ค่อนข้างมาก นั้นจะดูตรงกันข้ามเหลือเกินกับบท ซ่งเหม่ยหลิง (และอาจรวมไปถึงเจียงไคเช็กด้วย) กลับเต็มไปด้วยความทะเยอทะยาน เกินขอบเขต หนังยังลงท้ายด้วยบทสรุปที่ตื้นเขิน ด้วยการให้พี่น้องสามคนกลับมาปรองดองกันอย่างง่ายดาย ดังความฝันของรัฐบาลปักกิ่ง ต่ออุดมคติแบบจีนเดียว


src=http://img.photobucket.com/albums/v622/jump2002/blog/song2.jpg


ถึงแม้บทบาทของตัวละคร รวมถึงการดำเนินเรื่อง จะดูค่อนข้างน่าผิดหวัง ก็ต้องยอมรับว่า นักแสดงอย่าง จางม่านอวี้ และวิเวียน วู ก็ยังแสดงความเจิดจรัสออกมาได้พอสมควร ทั้งสองให้การแสดงที่มีเสน่ห์ อยู่พอสมควร การดูงานแสดงของทั้งสองก็ถือเป็นความบังเทิงที่ใช้ได้ทีเดียว นั้นกลายเป็นเรื่องน่าเห็นใจสำหรับ มิเชล โหย่ว ที่ต้องแสดงบทอันพูดได้ว่า เป็นตัวประกอบดีๆ นี้เอง อาจจะเพราะความเสียเปรียบในหลายประการ ทั้งบทบาททางประวัติศาสตร์ของตัวละครที่มีค่อนข้างน้อย รวมถึงศักดิ์ศรีความเป็นนางเอกของ มิเชล โหย่ว เอง ที่อาจทำให้ผู้สร้าง ไม่กล้าจะสร้างภาพลักษณ์อันลึกซึ้ง ให้กับตัวละครตัวนี้ได้ แม้จะมีการวางบทบาทให้เธอเป็นเหมือนผู้พยายามสร้างความปรองดองในครอบครัว แต่กลับยิ่งทำให้ ตัวละคร ซ่งอ้ายหลิง ดูห่างไกลจากความเป็นมนุษย์ขึ้นไปอีก ทั้งหมดทำให้บทพี่ใหญ่แห่งตระกูลซ่ง จึงดู จืดชืด และไร้มิติ อย่างช่วยไม่ได้


หนังยังมีดาราเจ้าบทบาทแสดงอยู่ด้วยหลายคน ที่ผมประทับใจส่วนตัวก็คือ ดารางิ้วชื่อดัง อู๋ซิงกัวะ ที่รับบทเจียงไคเช็ก ได้มีสีสันดี มีฉากนึงในหนังที่ผมค่อนข้างชอบ ในมื้ออาหารเย็น ขณะที่ทุกคนดูจะมีความสุขการกับทานอาหารฝรั่งร่วมกัน เจียงไคเช็ค กลับยินดีที่จะร่วมโต๊ ด้วยการคีบตะเกียบ กินข้าวต้ม แบบไม่แยแสใคร ฉากเล็กๆ แบบนี้ก็ดูสะท้อนภาพเจียงไคเช็ค และความรู้สึกของคนจีนต่อเขาได้เป็นอย่างดี


src=http://img.photobucket.com/albums/v622/jump2002/blog/song5.jpg


พูด (เขียน) แบบนี้ดูเหมือนผมจะไม่ชอบหนังเรื่องนี้มากๆ เลยะนะครับ แต่จริงก็ไม่ถึงขนาดนั้น การดู The Soong Sisters ก็ไม่ได้เป็นเรื่องเสียเวลาซะทีเดียว หนังสนุกพอใช้ได้ คุณภาพก็ไม่ได้ย่ำแย่อะไร หนังมีงานสร้างที่ดี (โดยมีทีมงานเบื้องหลังดังๆ อย่าง คีทาโร่ แต่งดนตรีประกอบ เอมี่ วาดะ ดีไซเนอร์ชื่อดัง และ อาเธอร์ หว่อง กับงานภาพ) การเสนอภาพแห่งประวัติศาสตร์ ถ่ายทอดเหตุการณ์สำคัญต่าง ก็ทำได้อย่างน่าสนใจ น่าเสียดายที่หนังขาดแคลนความลึกซึ้งในการนำเสนอเรื่องราวเหล่านั้น ไป ความประสงค์เบื้องต้นที่ต้องการ เชื่อมโย่ง เรื่องราวแห่งประวัติศาสตร์ เข้ากับสถานการณ์ความสัมพันธ์ จีน – ไต้หวัน – ฮ่องกง ในวาระ เกาะฮ่องกง สู่การปกครองของจีน จึงไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่หวัง

http://mihk2002.wordpress.com/2008/02/02/the-soong-sisters-1997-marbel-cheung/


มาดูตัวจริงเรื่องจริงกันบ้างครับ



  ภาพชาร์ลี ซ่ง  บิดา  เขาได้เดินทางไปอยู่อเมริกา ตั้งแต่อายุ เพียง  6 ขวบเขากลับมาเมืองจีน เมื่อปี   พ.ศ.  2429  เดิมเขาเป็นมิชชั่นนารี  และทำธุรกิจจนร่ำรวย  เขาเป็นผู้หนึ่งที่ก่อการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์ ชิง ด้วย



 



 จริงๆ ตระกูลซ่งมีลูกทั้งหมด 6  คน  ซึ่งแต่ละคนล้วนแต่มีบทบาทสำคัญในจีนยุคใหม่  แต่ในหนัง กล่าวถึงเพียง 3 คน  



1. ซ่งอ้ายหลิง (ลูกสาวคนโต)
2. ซ่งชิงหลิง (ลูกสาวคนรอง)
3. ซ่งจื่อหวุน หรือ ทีวี ซ่ง (ลูกชายคนโต) (รัฐมนตรีคลังและรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน , ผู้ว่าการธนาคารกลางของจีน)
4. ซ่งเหม่ยหลิง (ลูกสาวคนเล็ก)
5. ซ่งจื่อเหลียง (ลูกชายคนรอง) (นักธุรกิจที่นิวยอร์ค)
6. ซ่งจื่ออัน (ลูกชายคนเล็ก) (ประธานกรรมการธนาคารกวางตุ้ง


ภาพของ   ซ่งจื่อหวุน ลูกชายคนโตของเขา ก็เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ และผู้ว่าการธนาคารกลางของจีน


พ.ศ.2437 ที่เซี่ยงไฮ้ ชาร์ลี มีโอกาสได้รู้จัก กับ นายแพทย์นักปฏิวัติผู้มีชื่อว่า ซุนเหวิน หรือ ซุนยัดเซ็น (ซุนจงซาน:孙中山) และช่วยจัดพิมพ์เอกสารที่สนับสนุนต่อต้านราชวงศ์ชิง โดยในเวลาต่อมาเมื่อ ซุนยัดเซ็นร่วมก่อตั้ง ขบวนการกู้ชาติที่ชื่อ ถงเหมิงฮุ่ย (同盟会) ขึ้นที่ญี่ปุ่นในปี ค.ศ.1905 ชาร์ลีก็ได้ให้เงินสนับสนุนถงเหมิงฮุ่ยมากถึง 20,000 เหรียญสหรัฐฯ


     ซ่งอ้ายหลิง พี่สาวคนโต เป็นภริยาของ ข่งเสียงซี 孔祥熙นักการเมืองหลายตำแหน่ง


ซ่งอ้ายหลิง (宋蔼龄; ) มีชื่อคริสเตียนว่า แนนซี่ (Nancy) เข้าเรียนที่วิทยาลัยสตรีเวสลีเยน (Wesleyan) เมืองเมคอน มลรัฐจอร์เจีย ซ่งอ้ายหลิง ออกเรือนไปกับ ข่งเสียงซี (孔祥熙) หรือ เอช เอช ข่ง (H. H. Kung) ลูกชายของตระกูลข่ง ผู้ร่ำรวยแห่งมณฑลซานชี  และเป็นผู้หนึ่งที่บริจาคเงินจำนวนมากในการช่วยเหลือการปฏิวัติ 


    ซ่งชิงหลิง  เธอมีจิตใจอันมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศจีนให้พ้นจากความครอบงำของต่างชาติและล้าหลังรอบด้าน ลัทธิขุนศึก แนวคิดอนุรักษ์นิยมแบบเก่าๆ ที่ตกทอดกันมาตั้งแต่ยุคจีนปกครองด้วยระบอบกษัตริย์นั้นมีเหนือกว่าผู้หญิงจีนธรรมดาทั่วๆ ไป

                ซ่งชิ่งหลิง รับตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของ ดร.ซุนยัดเซ็น ได้ไม่นาน ก็ตกหลุมรักกับ ดร.ซุนยัดเซ็น วีรบุรุษผู้ที่เธอเทิดทูนและเพื่อนพ่อซึ่งมีอายุห่างจากเธอเกือบ 30 ปี

       





                ชาร์ลี ซ่ง เมื่อทราบข่าวความรักต่างวัยระหว่างเพื่อนกับลูกสาวเข้าก็คัดค้านอย่างเต็มที่ โดยถึงกับขู่ว่าหาก ชิ่งหลิง จะแต่งงานกับ ดร.ซุนยัดเซ็น จริงแล้วละก็ เขาพร้อมจะตัดเป็นตัดตายกับลูกสาวคนนี้ และเพื่อนผู้กอดคอกันร่วมทำการปฏิวัติมาด้วยกัน! โดยเหตุผลของ ชาร์ลี ก็คือ นอกจากลูกจะแต่งงานกับเพื่อน ที่ยังไม่หย่ากับภรรยาเดิม แล้ว เธออาจไปรบกวนสมาธิในการทำเรื่องใหญ่ คือ การกู้ชาติ ของ ซุนยัดเซ็น อีกด้วย
      
                ซ่งชิ่งหลิงที่ถูกพ่อกักขังไว้ในบ้านเพื่อไม่ให้ไปพบกับ ดร.ซุนยัดเซ็น ก็ปีนหนีออกมาจากห้องนอน และหลบหนีออกจากจีนไปแต่งงาน ณ ฐานที่มั่นในการปฏิวัติของ ดร.ซุนยัดเซ็น ที่ญี่ปุ่น ในที่สุดพ่อก็ให้อภัยเมื่อเธอกลับไปเยี่ยมพ่อ








)หลังจากการล้มล้างราชวงศ์ชิง  ดร. ซุน ยัด เซ็น ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรกของจีน  จนกระทั่งเกิดสงครามนานกิง ที่ญี่ปุ่นบุกเข้าจีน และ เกาหลี และกวาดล้างฆ่าผู้คนชาวจีนตายไปเป็นจำนวนมาก   และใช้ชาวจีนในการทดลองอาวุธชีวภาพ  ทำให้ชาวจีน และ เกาหลี ยังคงเกลียดชังญี่ปุ่นมาจนปัจจุบัน  


  ซ่งเหม่ยหลิง  เป็นภริยาของจอมพลเจี่ยงไก้สือ ( เจียงไคเช็ก ) 蒋介石



บุตรีคนที่ 4 จบการศึกษาที่ วิทยาลัยแวลสลีย์  (Wellesley College ) จอมพลเจียงไคเช็กบุรุษเหล็กของจีนเป็นประธานาธิบดีบนแผ่นดินใหญ่จีน เมื่อสิ้น ดร.ซุนยัดเซ็น 




 ชาวจีนกลับแบ่งออกเป็น 2 กล่ม โดยฝ่ายหนึ่งคือพรรคก๊ก มิน ตั๋ง ที่ถูกหนุนหลังโดย สหรัฐอเมริกา  นำโดย จอมพล เจียงไค เช็ก ตัวแทนฝ่ายขวา  และ พรรคคอมมิวนิสต์ของจีน  นำโดย  ท่านเหมา เจ๋อ ตุง  ต่อสู้กันเป็นสงครามภายในอยู่หลายปี  จนกระทั่งพรรคก๊ก มิน ตั๋ง ถอยร่นไปตั้งรัฐบาลผลัดถิ่นที่ไต้หวัน  เมื่อ ปี  2492 กลายเป็นจีนไต้หวันจนกระทั่งปัจจุบัน  ที่จีนแผ่นดินใหญ่ก็ยังไม่ยอมรับ จีนไต้หวันอยู่

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=233687

The


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์