เทคโอเวอร์ ของเล่นหรือขุมทรัพย์ใหม่มหาเศรษฐี

"เทคโอเวอร์" (Takeover) คำคำนี้มีความหมายว่า


เป็นการยึดครอง หรือฮุบกิจการด้วยกลวิธีการต่าง ๆ อาทิ การไล่กว้านซื้อหุ้นของบริษัท หรือกิจการต่าง ๆ เพื่อให้มีจำนวนหุ้นเกินร้อยละ 50



หลังปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา


การแข่งขันฟุตบอลได้กลายสภาพเป็นธุรกิจแขนงหนึ่งที่มีมูลค่าทางการตลาดมหาศาล จากผลประกอบการปีล่าสุด ที่สโมสร เสือใต้ บาเยิร์น มิวนิก ยักษ์ใหญ่แห่งศึกบุนเดส ลีกา เยอรมนี

แถลงการณ์สู่สาธารณชนเมื่อต้นเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา พวกเขาทำเงินได้ถึง 220 ล้านยูโร หรือ 299 ล้านเหรียญ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 10,166 ล้านบาท ถือเป็นตัวเลขที่มหาศาลมาก

หากใครได้เห็นตัว เลขดังกล่าวนี้ คงไม่แปลกใจว่า ทำไมทีมฟุตบอลจึงเป็นที่ต้องตาของเหล่ามหาเศรษฐีทั้งหลายที่หวังเข้าไปเป็นเจ้าของกิจการกัน


ในอดีต การเข้าเทคโอเวอร์ทีมฟุตบอล


ถือเป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก เนื่องจากเจ้าของส่วนใหญ่จะดำเนินกิจการ ในลักษณะธุรกิจครอบครัว มีการตกทอดกันมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่ถึงรุ่นหลาน อีกทั้ง ฟุตบอลยังไม่ได้เป็นเรื่องของธุรกิจมากเหมือนปัจจุบัน

เจ้าของทีมส่วนใหญ่เป็นผู้ที่รักในกีฬาชนิดนี้เข้ากระดูกดำ และมีความผูกพันเป็นส่วนตัวชนิดแยกไม่ออกกับสโมสร เช่น เป็นแฟนพันธุ์แท้ตั้งแต่จำความได้ แต่ในปัจจุบันฟุตบอลได้กลายสภาพเป็นธุรกิจเต็มตัว

หาใช่เพียงการแข่งขันกีฬาเท่านั้น แน่นอนว่ารายได้จากค่าตั๋วเข้าชมเกมถือเป็นของตาย แต่รายได้จากสปอนเซอร์คาดหน้าอกเสื้อ รวมทั้งสปอน เซอร์ตามป้ายโฆษณาในสนามแข่งขัน และค่าขายสินค้าที่ระลึกต่าง ๆ ของทีม

โดยเฉพาะค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ที่ทำให้การเข้าครอบครองทีมฟุตบอลถือเป็นธุรกิจที่น่าสนใจอีกธุรกิจหนึ่ง


แม้รายได้ที่เข้ามาจะมีปริมาณมหา ศาล


แต่รายจ่ายของทีมก็มีจำนวนไม่ใช่น้อย ๆ เช่นกัน ค่าเหนื่อยของนักฟุตบอล ถือเป็นก้อนเงินที่ทีมฟุตบอลหนึ่ง ๆ ต้องจ่ายมากที่สุด รวมถึงการทุ่มเงินเพื่อซื้อผู้เล่นใหม่ ๆ เข้ามาสู่ทีม

ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นเหมือนธุรกิจต่าง ๆ หากต้องการผลกำไรย่อมต้องมีการลงทุน ทำให้มหาเศรษฐีที่จะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับธุรกิจนี้ จำเป็นต้อง วิเคราะห์สถานการณ์และความเสี่ยงให้ดี

เพราะหากผิดพลาดเพียงเล็กน้อยจะส่งผลให้ทีมมีปัญหาทางด้านการเงินได้ง่าย ๆ นั่นย่อมหมายถึงการขาดทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นในการทำธุรกิจ


เมื่อ 4 ปีก่อน บุคคลแรกที่ทำให้การเทคโอเวอร์ทีมฟุตบอล


กลายเป็นกระแสที่น่าจับตามองไปทั่วโลกคือ การเข้าครอบครอง สโมสรเชลซี ของ โรมัน อบรา โมวิช มหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ที่ใช้เม็ดเงินเปลี่ยนเชลซีจากทีมระดับกลางให้กลายสภาพเป็นยักษ์ใหญ่ของฟุตบอลยุโรป ในช่วงข้ามปีเท่านั้น

แม้กรณีของ อบราโมวิช อาจไม่ได้เข้ามาฮุบทีมฟุตบอลเพื่อเน้นผลทางด้านกำไรก็ตาม เพราะเขามีธุรกิจทางด้านก๊าซธรรมชาติที่ทำเงินมหาศาลในบ้านเกิดชนิดใช้ทั้งชาติก็ไม่มีหมด เชลซีที่เมื่อแรกเปรียบเสมือนของเล่นชิ้นหนึ่ง ที่ช่วยสร้างชื่อ เพิ่มภาพลักษณ์

และสร้างกำไรมหาศาลให้ แต่ก็ต้องหมดเงินไปไม่ใช่น้อย เช่นกัน ตอนนี้ อบราโมวิช จึงไม่ได้มองเชลซีเป็นของเล่นอีกต่อไป แต่กลับกลายเป็นกิจการหลักกิจการหนึ่งภายใต้ทรัพย์สมบัติมากมายของเขาไปแล้ว


หลังการประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ของอบราโมวิช


ทำให้มหาเศรษฐีต่าง ๆ เริ่มหันมามองธุรกิจฟุตบอลอย่างจริงจัง ประกอบกับการที่สโมสรฟุตบอลส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ได้มีการผันตัวเองจากธุรกิจในครอบครัวเป็นบริษัทมหาชน

การเข้าฮุบกิจการจึงไม่ใช่เรื่องยากเหมือนแต่ก่อนอีกต่อไป ผู้ที่ต้องการครอบครองสโมสร สามารถเข้าไปกว้านซื้อหุ้นในตลาดหุ้นให้เกินกว่าครึ่งหนึ่งได้ แม้บางสโมสรจะไม่ใช่บริษัทมหาชน

แต่หากต้องการความสำเร็จ เงิน คือสิ่งสำคัญที่สุดในตอนนี้ จึงมีหลายทีมที่ต้องยอมขายสโมสรเพื่อก้าวไปข้างหน้า


แม้แต่ทีมที่ได้รับการยอมรับว่ามีแฟนบอลมากที่สุดในโลกอย่าง


ผีแดง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ก็หนีไม่พ้นกระแสเทคโอเวอร์ เมื่อ มัลคอล์ม เกลเซอร์ นักธุรกิจชาวอเมริกัน เจ้าของทีมแทมปาเบย์ บัคคาเนียร์ ในศึกอเมริกันฟุตบอล NFL ได้เข้ามาฮุบสโมสรเมื่อ 2 ปีก่อน

โดยเมื่อผ่านพ้นช่วงปีแรกภายใต้การบริหารงานของตระกูลเกลเซอร์ ผลประกอบการของผีแดงเพิ่มขึ้นจาก 157.2 ล้านปอนด์ เป็น 165.4 ล้านปอนด์ ในช่วงปิดงบเมื่อ 30 มิ.ย. ปี 2006 ผลกำไรก่อนหักภาษีเพิ่มขึ้นเป็น 30.8 ล้านปอนด์ เปรียบเทียบกับเมื่อ 12 เดือนก่อนที่ได้เพียง 10.8 ล้านปอนด์

สำหรับในฤดูกาลล่าสุดนี้ ผีแดงได้เถลิงบัลลังก์แชมป์พรีเมียร์ชิพไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งแน่นอนว่า การคว้าแชมป์ได้ย่อมทำให้รายได้ของทีมมากขึ้นตามไปด้วย


ส่วนทีมอื่น ๆ ที่มีการเทคโอเวอร์ตาม ๆ กันมา ได้แก่


สิงห์ผงาด แอสตัน วิลลา ที่ถูก แรนดี เลอร์เนอร์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกันวัย 44 ปี เจ้าของทีม คลีฟ แลนด์ บราวน์ส ในศึกอเมริกันฟุตบอล NFL ซื้อกิจการไปครอบครอง, ขุนค้อน เวสต์แฮม ยูไนเต็ด ที่ถูก เอ็กเกิร์ต แม็ก นุสสัน เศรษฐีชาวไอซ์แลนด์ คว้าไปบริหารงาน

และล่าสุด หงส์แดง ลิเวอร์พูล ที่ยอมรับข้อเสนอจากสองคู่หูมหาเศรษฐีชาว อเมริกัน ทอม ฮิคส์ และจอร์จ ยิลเลตต์ โดยทั้งสามทีมดังกล่าวถูกเทคโอเวอร์ยังไม่ครบหนึ่งปี ทำให้ยังไม่ทราบผลประกอบการว่ามีแนวโน้มฟันกำไรมากขึ้นหรือไม่

แต่สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ทั้งสามทีมมีเม็ดเงินเข้ามาหมุนเวียนในการทำธุรกิจมากขึ้น สภาพคล่องสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลิเวอร์ พูล มีเงินเข้ามาสร้างสนามใหม่นิว แอน ฟิลด์ มีเงินก้อนโตไว้จับจ่ายซื้อนักเตะค่าตัวแพงเข้ามาเสริมทีมในช่วงซัมเมอร์นี้

และยังมีแผนงานต่าง ๆ อีกมากมาย ที่จะพัฒนาทีมเพื่อก้าวขึ้นไปต่อสู้ความยิ่งใหญ่กับเชลซี และแมนฯ ยูไนเต็ด


นอกจากนี้ "ปืนใหญ่" อาร์เซนอล


ยังเป็นอีกหนึ่งทีมที่ได้รับข้อเสนอเทคโอเวอร์ จากมหาเศรษฐีต่าง ๆ ชนิดหัวกระไดไม่แห้ง แต่เจ้าของเก่ายังคงใจแข็งบอกปัดไม่ยอมขายท่าเดียว

จากรายชื่อทีมที่ถูกเทคโอเวอร์ทั้งหมด จะเห็นได้ว่าเป็นทีมจากศึกพรีเมียร์ชิพ อังกฤษ ทั้งสิ้น ทำไมถึงต้องเป็นทีมในอังกฤษเท่านั้น เหตุเพราะการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ชิพ ถือเป็นรายการที่ได้รับความสนใจติดตามชมจากแฟนบอลทั่วโลกมากที่สุด

เนื่องจากเป็นการแข่งขันที่สนุกสนาน เร้าใจ มีสไตล์การเล่นที่รวดเร็ว บุกเข้าใส่กันโดยตลอด เมื่อมีคนอยากชมมาก ทำให้รายได้จากค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดที่ขายไปทั่วโลกเป็นเม็ดเงินมหาศาล รายได้เข้าสู่สโมสรต่าง ๆ จึงมีปริมาณมากกว่าลีก อื่น ๆ นักธุรกิจทั้งหลายที่วิเคราะห์สถาน การณ์ต่าง ๆ แล้ว

จึงมองเห็นว่า หากได้เข้าครอบครองทีมในอังกฤษ จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและมีความเสี่ยงน้อยกว่าการ เทคโอเวอร์ทีมในลีกอื่น ๆ

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป...ที่มหาเศรษฐีทั้งหลายจะชายตามองตำแหน่ง เจ้าของสโมสรฟุตบอลกัน!!.



ขอขอบคุณ : ข้อมูลข่าวที่มีคุณภาพ โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์