คุณจะไม่มีทางได้ยินเรื่องนี้จากนิตยสารแฟชั่นเลย แต่คุณก็หลีกเลี่ยงมันไม่พ้นหรอก เป็นเวลาครึ่งปีมาแล้วที่ เสื้อบอลสีฉูดฉาดเว่อๆจากเมืองไทยได้มาเป็นที่นิยม เรามาดูที่มาที่ไปกัน
ตำรวจแฟชั่นทำอะไรกับเรื่องนี้ไม่ได้เลย เสื้อเหล่านี้ค่อยๆเข้ามาทีละน้อยจนในที่สุดถึงช่วงพีคของมัน ก็ทำอะไรไม่ได้แล้วเพราะแพร่ไปทั่วเมือง สิ่งนี้คือเสื้อบอลสีฉูดฉาดแวววาวและมีโลโก้สินค้าชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น เบียร์ช้าง ของไทย,ยามาฮ่า รถจักรยานยนตร์ญี่ปุ่น หรือที่เซอร์ไพรซ์ก็คือ ธนาคารแห่งปาเลสไตน์ แต่สิ่งที่เหมือนกันสำหรับเหล่าเสื้อแบบนี้คือ: นำเข้ามาจากประเทศไทย
ความคลั่งไคล้ใน "Clicli"
อองโตนี่ แอสปาร์ซ่า ผจก ของ Sunset Soccer ใน มิอองซ์ ทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง ลียง ซึ่งเคยเล่นให้ ชลบุรี เอฟซี ในปี 2012 โดยตัวเขาเคยเป็นเด็กฝึกของ โอลิมปิก ลียอง บอกว่า "เสื้อเหล่านี้ไม่ใช่เสื้อทีมสโมสรไทย" และ เรด้า เจ้าของร้านขายเสื้อในเขต Clignancourt หรือที่เรียกกันว่า "Clicli" ในเขตปารีสก็ยืนยันเช่นเดียวกันโดยบอกว่า "เสื้อพวกนี้ดังในทั้ง 3 แผงในย่านนั้น เสื้อเหล่านี้พอมาถึงฝรั่งเศสก็ค่อยเอามาติดโลโก้สปอนเซอร์และ โลโก้ ทีมชาติไทย"
พัทยา ความทรงจำหรือความฝันกัน?
คนที่ทำให้เสื้อเหล่านี้ฮิตคือวัยรุ่นฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ในชานเมือง และสิ่งที่คนเหล่านี้ชอบ (kiffent เป็นศัพท์ฝรั่งเศสที่มีรากมาจากโมร็อกโก เป็นภาษา slang แปลว่า "ชอบมากๆ" หรือ "ดูดยา" ก็ได้)ไปมากๆคือเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นชายหาด ภูเก็ต หรือ พัทยา ด้วยเหตุผลง่ายๆเลยคือ "สวยและประหยัด"
คุณภาพของเสื้อเหล่านี้อยู่ในระดับเดียวกับ third kit ของสโมสรใหญ่ในยุโรป และมีสินค้าประเภท หมวกหรือเสื้อ โมโตครอซ ที่มีตรา เร๊ดบุล ซึ่งของเหล่านี้มีราคาประหยัด และการไปพัทยาก็ถือว่าเป็นการไปพักผ่อนในฝัน
แร็ปเปอร์ที่เป็นชาวเมืองมาร์กเซย์ อย่าง จุล และ อลองโซ่ ก็ติดแฟชั่นเสื้อบอลจากไทยนิดหน่อยเช่นกัน เห็นได้จาก MV ของพวกเขาที่มียอดวิวเป็นหลายสิบล้านครั้ง โดยจะเห็นมีการใส่เสื้อบอลจากไทยเป็นการเสริมความฮิตเข้าไปอีก เรด้า เจ้าของร้าน(แผง)ขายเสื้อบอลไทยในปารีส กล่าวว่า "มีสองร้าน ตอนแรกก็ค่อยๆเริ่ม ปีที่แล้วก็เริ่มกระเตื้องขึ้นอีกนิดด้วยการมีภาพถ่ายเสื้อตอนไปเที่ยวลงในโซเชีลย เน็ตเวิร์ก แต่ตอนนั้นก็ถือว่ายังใต้ดินอยู่ แต่พอแร็ปเปอร์มาใส่นี่ ดังระเบิดเลย"
จากธุรกิจเล็กๆสู่อุตสาหกรรม
แล้วการเติบโตทางธุรกิจก็เริ่ม "พวกคนที่ไปเที่ยวเมืองไทยก็ซื้อกลับมา 15-20 ตัว เอามาขายเพื่อจ่ายค่าตั๋วเครื่องบิน 600 ยูโร(ประมาณ 23,000 บาท)" อองโตนี่ แอซปาซ่า กล่าว แต่ในตอนต้นก็เอามาขายในตลาดนัดซึ่งต้องต่อราคาเอา "ใช่แล้ว แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไปแล้ว เดี๋ยวนี้มียี่ปั๊วนำเข้ามา อย่างน้อยก็สองเจ้าในเขต 93 แล้วตอนนี้ใครๆก็ไปซื้อที่นั่น"
นี่คือที่มาที่ไปที่เสื้อเหล่านี้มาฮิตในช่วงฤดูร้อนปี 2016 และอาจจะฮิตต่อไปอีก เสื้อของ Cadenza, Eureka หรือ FBT น่าจะเห็นคนสวมใส่กันมากขึ้นในเมือง แต่ถ้าคุณไม่เห็นมันละก็ แสดงว่าคุณล้าสมัยแล้ว