ยังคงกระแสแรงต่อเนื่องและเป็นที่น่ากังขาสำหรับคนไทยทั้งชาติในกรณีการแข่งขันวอลเลย์บอลระหว่าง ไทย-ญี่ปุ่น ที่สุดท้ายญี่ปุ่นตบชนะสาวไทยไปแบบงงๆ 3-2 เซ็ตและพบปัญหาต่างๆที่คนไทยรับไม่ได้เป็นอย่างมาก
จบข่าว!!ประชุมด่วน FIVB แจงปมไทย-ยุ่น ข้อสรุปออกมาเป็นแบบนี้
ทาง FIVB เชิญตัวแทนทั้งแปดทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลคัดโอลิมปิก ร่วมประชุมเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาของระบบการใช้แทปเลตของทีม โดยในช่วงแรก FIVB ได้ถามตัวแทนแต่ละทีมว่าประสบปัญหาอะไรบ้างในการใช้แทปเลตกับการแข่งขันที่ญี่ปุ่น ซึ่งทุกทีมก็เสนอปัญหาคล้ายๆกันคือเรื่องของระบบดีเลย์ การเปลี่ยนตัวนักกีฬา การเสริฟ และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดีเลย์ ส่วนเรื่องของการ Challenge ไม่มีปัญหามากนัก โดยในส่วนของไทย คุณโก้ พิสิษฐ์ นัทธี ผู้จัดการทีม กล่าวว่าปัญหาของทีมไทยคือแทปเลตไม่เวิร์ค ก่อให้เกิดดีเลย์หลายช่วงจังหวะ ทั้งการเปลี่ยนตัว การขอ challenge ซึ่งพอมีเรื่องดีเลย์เข้ามาเกี่ยวข้อง ก็เลยทำให้ไทยมีใบเหลือง ใบแดงตามมา ....ที่น่ารำคาญคือทาง FIVB เน้นอยู่อย่างเดียวว่าแทปเลตอันนี้ เราแจกคู่มือการใช้งานไปให้ทุกทีมศึกษาแล้วล่วงหน้า และย้ำให้ทุกทีมกลับมาหา หากมีปัญหาการใช้งาน แต่ก็ไม่มีทีมใดที่กลับมาปรึกษาเลย....
โค้ชยะ ณัฐพนธ์ ศรีสมุทรนาค ผู้ช่วยหัวหน้าผู้ฝึกสอนบอกว่ามันจะเอาเวลาไปศึกษาได้ไง ในเมื่อให้มาแต่คู่มือการใช้งาน หากจะใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพ มันก็ควรต้องมีการปฎิบัติจริง แต่นี่เราได้สัมผัสเจ้าแทปเลตก็คือในวันแข่งเลย ก่อนจะเริ่มทำการแข่งขันไม่นาน มันคงไม่มีเวลาที่จะไปดูว่าปุ่มนี้ใช้สำหรับเปลี่ยนตัว ปุ่มนี้กดยืนยัน ปุ่มนี้กด cancel แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้ศึกษา ได้อ่านเข้าใจมาอย่างดี แต่ที่มีปัญหาก็คือการดีเลย์ อย่างเช่นเวลาเราเปลี่ยนตัว จะเอายุพา สนิทกลางแทนแนน ทัดดาว เราก็กดสแตนด์บายไว้ พร้อมจะส่ง แต่พอโค้ชอ๊อตแจ้งมาว่าขอเปลี่ยนนุศรา ต้อมคำ มือเซ็ตกับชมพู่ พรพรรณ ก่อน เราก็ต้องไป cancel อันแรกที่เราขอไป ซึ่งตรงนั้นมันจะเกิดการดีเลย์ขึ้น เพราะเราต้องรอสัญญานให้เกิดปุ่มที่เราจะกดเพื่อเปลี่ยนเป็นคู่ของนุชและชมพู่....โค้ชยะเพิ่มเติมว่าหากคิดในความเป็นไปได้ คนที่ควบคุมสัญญานดังกล่าวเป็นชาวญี่ปุ่น หากเขารู้ว่าเขากำลังทำให้เกมระหว่างญี่ปุ่นกับไทย เวลาส่งสัญญานให้ทีมญี่ปุ่น เขาอาจจะรีบส่ง เลยไม่ค่อยมีปัญหาดีเลย์ แต่หากเป็นฝ่ายไทยขอ ลองคิดดู เขาจะรีบส่งสัญญานให้ช้าหรือเร็ว
ทาง FIVB บอกว่าสำหรับแทปเลตนี้ ได้มีการทำวิจัย ค้นคว้าทดลอง อัพเดตเทคโนโลยี่ใหม่ๆและพิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผล 99% ไร้ปัญหาการใช้ และที่ให้แต่ละทีมมาพูดถึงปัญหาในวันนี้ก็เพื่อจะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาให้หมดไปโดยเร็ว เพราะระบบนี้ต้องเอามาใช้แน่นอนในโอลิมปิกที่บราซิล เลยได้พยายามเอามาเริ่มใช้กับรายการนี้....ทีมญี่ปุ่นไม่ค่อยพอใจ ถามย้อน FIVB คุณคิดว่าเอาแทปเลตมาใช้กับรายการนี้ครั้งแรก แล้วคุณไม่คิดว่ารายการนี้สำคัญหรือไง
FIVB ย้อนกลับบอกว่าก็เราเห็นว่ามันสำคัญไง เราเลยอยากให้ทีมที่มาแข่งขันได้ใช้ให้คล่อง มันก็เหมือนหัดขับรถวันแรก หากลองเรื่อยๆคุณก็จะขับเป็นเอง
จากนั้นแต่ละทีมก็พยายามชี้แจงเหตุผลและปัญหาที่ทีมตนประสบอยู่ ทางฝ่ายไทยเลยแจ้งว่าปัญหาเมื่อวานที่ทำให้ไทยได้รับใบแดงสองใบนี่ก็สืบเนื่องมาจากการดีเลย์ เพราะระบบมันไม่ส่งสัญญานการเปลี่ยนตัวมาให้ พอเราไปอธิบายเจ้าหน้าที่ว่าระบบมันทำงานไม่เสถียรนะ ผู้ตัดสินก็กลับมาให้ใบแดงเรา อย่างนี้ เชื่อหรือยังว่าการดีเลย์มันทำให้เรามีปัญหา....ทาง FIVB ก็เลยบอกว่าเราถึงได้บอกคุณไปแล้วว่าศึกษาข้อมูลในคู่มือให้ดี และหากมีปัญหาใดใด ให้รีบกลับมาหาเรา เราจะได้ช่วยกันแก้ไขโดยด่วน....
ทาง FIVB ก็พยายามอธิบายการใช้แทปเลตต่อไป ทีมที่มาเข้าประชุมร่วมรับฟัง ต่างก็ทะยอยเดินออกจากห้องประชุม เพราะรู้สึกว่าการประชุมไม่ได้ให้อะไรเลย เหลือแต่ทีมอิตาลีและไทย คุณโก้ก็พยายามชี้แจงเรื่องปัญหาดีเลย์ต่อว่าพอเกิดปัญหาก็พยายามเข้าไปชี้แจง แต่ก็ไม่มีใครรับฟังว่าแทปเลตมันมีปัญหา ทาง FIVB บอกว่าแล้วทำไมไม่แจ้งเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมสัญญานการทำงานของแทปเลต ทางคุณโก้เลยบอกว่าไม่มี ไม่อยู่ ไม่เห็นมา 3-4 วันแล้ว ทาง FIVB ก็เลยชี้มาที่เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นที่เป็นฝ่ายควบคุมสัญญาน คุณโก้บอกว่านี่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่เทคนิค เป็นแค่คนคอยประสานงาน (ที่สำคัญเธอเป็นชาวญี่ปุ่น)
จากนั้นก็มีความพยายามจะพูดถึงเรื่องการใช้งานแทปเลตต่อ ทางคุณโก้ก็พยายามพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่จากทาง FIVB ก็ดูเหมือนไม่เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นกับทีมไทย อธิบายเรื่องโน้นเรื่องนี้แทน สุดท้ายไทยเลยเดินออกจากห้องประชุมทันที
สำหรับเรื่องการส่งเรื่องอุทธรณ์นั้น โค้ชอ๊อตแจ้งว่าให้คุณโก้รีบร่างจดหมายให้เสร็จภายในวันนี้ เพื่อจะได้รีบส่งให้ทางสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลฯ เพื่อจะได้ส่งต่อให้กับสามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปคือการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อส่งต่อให้โอลิมปิกสากล ส่งให้ทาง FIVB และอีกหนึ่งฉบับส่งให้กับฝ่ายควบคุมการแข่งขันและฝ่ายจัดการแข่งขัน
Cr.ปรีชาชาญ วิริยานุภาพพงศ์