‘บอลเวียดนามต้องการ เนวิน ชิดชอบ เวอร์ชันเหงียน' ลองอ่านกันดูค่ะ
ไอดอลเลย!... ‘เหงียน’ อยาก’โคลนนิ่ง’เนวิน’ไปไว้เวียดนาม
‘บอลเวียดนามต้องการ เนวิน ชิดชอบ เวอร์ชันเหงียน' ลองอ่านกันดูค่ะ
‘เนวิน ชิดชอบ นักการเมืองของไทยลงทุนก่อตั้งทีม บุรีรัมยื PEA ในปี 2010 (ต่อมาคือ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด) ในเวลาเพียง 5 ปีเขาทำทีมนี้เป็นอันดับ 1 ของอาเซียนและอยู่ใน 1 ใน 10 ที่ดีที่สุดในเอเซีย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าศึกษา
ก่อนที่จะมาเป็นทีม บุรีรัมย์ PEA ทีมนี้เป็นทีม ไฟฟ้าอยุธยา มาก่อนและได้แชมป์ TPL 2008 เป็นครั้งแรก ในปี 2009 เนวิน ชิดชอบ ลูกหลายชาวบุรีรัมย์ ได้ตัดสินใจซื้อทีม PEA และเปลี่ยนชื่อทีมเป็น บุรีรัมย์ PEA พร้อมย้ายฐานมาที่บุรีรัมย์ หลังได้ 3 แชมป์ในปี 2011 แล้วก็เปลี่ยนชื่อทีมเป็น บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในปี 2013 การแปลงสภาพทีมเช่นนี้ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ในเวียดนามเพราะในปี 2009 เอง ทีม เวียดเทล ก็ถูกซื้อแล้วเปลี่ยนเป็นชื่อ ทันห์ฮัว ในปัจจุบัน
ในขณะนี้ ทีมบุรีรัมย์ได้ก้าวเข้าสู่ Top10 ของเอเซียแล้วโดยเคียงข้างกับทีมอย่าง เอฟซี โซล, อุราวะ เร้ดส์, อัล อิตติฮัด, อัล ซ้าด และ เล็กวิย่า และ พักตะกอร์ บุรีรัมย์เป็นจังหวัดยากจนในแดนอิสานของไทย แต่ผู้คนที่นั่นมีชีวิตที่สบายๆและสนุกสนาน เนวินจึงสร้างทีมด้วยแนวคิดที่ให้แฟนบอลเข้าสนามทุกๆวันเหมือนไปงานเทศกาล ตอนแรกเขาสร้างสนามใหม่ชื่อว่า ธันเดอร์ คาสเซิ่ล อยู่ชายขอบเมืองมีความจุ 32,000 ที่นั่งซึ่งมีมูลค่า 17 ล้านดอลล่าร์ซึ่งคิดเป้นเพียง 1 ใน 3 ของสนามหมีดิ่งเท่านั้น
สาเหตุที่ธันเดอร์ คาสเซิ่ล ราคาถูกกว่าสนาม หมีดิ่ง มากเพราะไม่มีลู่วิ่ง เลยถือเป็นสนามฟุตบอลโดยเฉพาะซึ่งทำให้แฟนๆได้ใกล้ชิดเวลามาดูเกม สนามแห่งนี้สร้างด้วยมาตรฐานเดียวกับสนาม สแตมฟอร์ด บริดจ์ และเป็นหนึ่งในแผนของบุรีรัมย์ที่จะสร้างตัวเองเป็น "ศูนย์กลางลูกหนังอาเซียน ดังนั้นมันจึงไม่ใช่แค่สนามบอล เนวินยังสร้างกิจกรรมเพื่อสร้างแบรนด์ของทีมและเพิ่มรายได้ด้วย ตัวอย่างเช่น สร้างโอกาสให้มีการเปิดร้านขายของกินเล่นรอบๆสนามซึ่งจะเป็นดอกาสให้แฟนบอลได้ใกล้ชิดถ่ายรูปกับนักบอล ก่อนแต่ละเกมแฟนๆจะมาออกันรอบสนาม ยังมีการสร้างโรงแรมข้างสนามโดยในแต่ละห้องมีการตกแต่งด้วยรูปทีมและสิ่งแต่งเล้กๆน้อยๆซึ่งแขกที่มาพักสามารถซื้อของเหล่านั้นได้ด้วย นี่นำไปสู่รายได้ที่มากขึ้นของสโมสรอย่างไม่หยุดหย่อน รายได้จากการขายของของทีมในปี 2013 = 2.9 แสนล้านด่องซึ่งมากเป้น 4 เท่าของปี 2010 ในแง่ของในสนามบ้าง เนวินได้ดึงดูดเอานักบอลมีความสามารถมาสู่ทีม
บุรีรัมย์มีระบบค้นหานักเตะไปไกลถึงอเมริกาใต้และยุโรป ในปีแรกพวกเขาหาในสเปนและเซ็นต์สัญญาระยะยาวและด้วยโมเมนตัมที่ดีของสโมสรทำให้มูลค่านักเตะสูงตามและบุรีรัมย์ก็สามารถขายนักเตะเหล่านั้นแบบได้กำไร ในปี 2012 บุรีรัมย์เซ็นต์ ออสม่า จากทีม ราซิ่ง ซานตานแดร์ ในสเปน โดยอีก 2 ปีต่อมาขายให้ เอฟซี โซล ต้องขอบคุณความสำเร็จที่ทำให้บุรีรัมย์สามารถซื้อนักเตะนอกที่พูดสแปนิชได้อีก อย่าง ปาติโย่, กาเมโล่ และ ตูเญส แม้กระทั่งโค้ชก็จ้างสเปนมา ดังเช่นที่จ้าง เมเนนเดซ อดีตโค้ชเยาวชน เรอัล มาดริด วิธีการแบบสเปนนั้นนักเตะไทยเข้าใจได้ง่ายเพราะมีเทคนิกดีอยู่แล้ว และยังได้เรียนรู้หลายอย่างจากคนที่เล่น ลา ลีก้า มาแล้ว แต่ในปี 2014 เนวินก็เปลี่ยนไปใช้บริการบราซิลโดยจ้างโค้ชกาม่า ที่เคยเป็นผุ้ช่วยโค้ชทีมชาติเกาหลีใต้ พร้อมๆกับจ้างนักเตะบราซิลอย่าง ดิโอโก้ และ มาเชน่า และ แจนด์ซั่น คนล่าสุดต้นปี 2015 นักเตะที่กล่าวมาล้วนการันตีถึงคุณภาพในการเล่นบอลสมัยใหม่
แต่บุรีรัมย์ก็ไม่ลืมที่จะปั้นเด็กเอง พวกเขามีอคาเดมี่ที่เยี่ยมที่สุดของไทย สามารถบอกได้ว่าเนวินกล้าลงทุนและรู้ว่าจะลงทุนอย่างไร ตอนต้นอาจจะลงทุนหนักแต่ผลตอบแทนก็คืนเร็วซึ่งต้องขอบคุณที่มีกลยุทธธุรกิจที่ดีซึ่งสร้างแบรนด์ได้ ตอนนี้บุรีรัมย์กลายเป็นทีมที่มีตัวตนในเอเซียซึ่งเครดิตต้องให้กับ สถาปนิกสำคัญคือตัวเนวินเอง โมเดลของบุรีรัมย์ถูกลอกแบบโดยทีมอื่นๆในไทยและลามไปถึงกัมพูชาที่ทีม ไตรเอเซีย พนมเปญ ก็เอาแบบไปใช้
ความจริงแล้วเวียดนามไม่ได้ขาดแคนเจ้าของทีมที่บ้าบอล เวียดนามมีทั้งเจ้าของทีม ฮานอย T&T เอย ด่องเหงียนดึ๊ก เจ้าของฮองอันยาลาย เอย หรือกระทั่งเจ้าของทีมนินบิน และตัว เลฮุงดุง ประธานสหพันธ์ฟุตบอลเวียดนามเองก็ตาม แม้แต่ละสโมสรเวียดนามที่กล่าวมาจะประสบความสำเร็จแต่ด้วยปัญหาที่แต่ละทีมมีจึงไม่สามารถไปไกลได้แบบบุรีรัมย์
ปัญหาของฮองอันยาลายก็คือ การเซ็นต์ตัวต่างชาติ ปัญหาของฮานอยก็คือการดึงคนเข้าสนาม ส่วนนินบินก็ประสบความยากลำบากในการสร้างทีมใหม่ให้กระตือรือร้นได้เหมือนรุ่นเก่าๆ ตอนนี้เวียดนามกำลังหาเจ้าของทีมที่มีกลยุทธ์ที่สมบูรณ์แบบที่จะพาทีมไปข้างหน้าได้'
ที่มาจาก bongda24h
แปลไทยโดย คุณ NTT สมาชิก thailandsusu.com