มาดูคะแนนของทีมชาติไทยในเดือน กรกฎาคม คะแนนสะสมในรอบ 4 ปีมีดังนี้
ปีที่ 1 : (มิ.ย.2015 ถึง ก.ค.2014) คะแนน 134.25 คะแนน สัดส่วน 100 %
ปีที่ 2 : (มิ.ย.2014 ถึง ก.ค.2013) คะแนน 15.82 สัดส่วน 50% เหลือ 7.91 คะแนน
ปีที่ 3 : (มิ.ย.2013 ถึง ก.ค.2012) คะแนน 107.30 สัดส่วน 30% เหลือ 32.19 คะแนน
ปีที่ 4 : (มิ.ย.2012 ถึง ก.ค.2011) คะแนน 124.15 สัดส่วน 20% เหลือ 24.83 คะแนน
รวมคะแนนทั้งสี่ปี เมื่อปัดเศษทศนิยม ทีมชาติไทย จะมีคะแนนสะสม 199 คะแนน
ด้วยลักษณะการจัดอันดับเช่นนี้ เมื่อเปลี่ยนเดือน คะแนนสะสมบางส่วน จะถูกนำไปคิดคะแนนสัดส่วนที่แตกต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น คะแนนของการอุ่นเครื่องในเดือนมิถุนายน 2013 หากฟีฟ่า จัดอันดับในเดือน มิถุนายน (นับคะแนน พฤษภาคม 2014-มิถุนายน 2013) คะแนนส่วนนี้ จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มหารเฉลี่ยในปีที่ 2 (50 %) แต่เมื่อการจัดอันดับประจำเดือน กรกฎาคมมาถึง คะแนนในส่วนนี้ จะถูกดันลงไปเป็นคะแนนสะสมในส่วนของปีที่ 3 (สัดส่วน 30%) ดังนั้น จึงทำให้บางครั้ง คะแนนสะสมฟีฟ่า ลดลงทั้งๆ ที่ไม่มีแมตช์แข่งขัน หรือ แม้กระทั่งชนะคู่แข่ง
ซึ่งกรณีนี้ เกิดขึ้นกับทีมชาติไทย โดยในเดือนมิถุนายน 2013 ทีมชาติไทย มีคะแนนสะสมจากการอุ่นเครื่องชนะจีน 5-1 อยู่ 270.1 คะแนน สำหรับการจัดอันดับในเดือนมิถุนายน คะแนน 270.1 คะแนนนี้ จะถูกหารเฉลี่ยอยู่ในกลุ่มปีที่ 2 แต่เมื่อจัดอันดับในเดือน กรกฎาคม 270.1 คะแนนจากการชนะจีน จะถูกนำไปหารเฉลี่ยในปีทื่ 3 ในสัดส่วนเพียง 30% นั่นจึงทำให้คะแนนสะสมปีที่ 2 ของไทย ลดจาก 29.71 คะแนน เหลือเพียง 7.91 คะแนน นี่คือสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้อันดับโลกของไทย ลดลงแบบฮวบฮาบ ทั้งที่ไม่แพ้ทีมใดในรอบเดือนที่ผ่านมาเสียด้วย
ตารางเปรียบเทียบ คะแนนอันดับฟีฟ่า ของทีมชาติไทย ระหว่างเดือน ก.ค.2015 และ มิ.ย.2015