ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การแข่งขันฟุตบอล AFF SUZUKI CUP 2014” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22 – 23 ธันวาคม 2557 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการติดตามและรับชม การแข่งขันฟุตบอล AFF SUZUKI CUP 2014 อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยความน่าจะเป็นด้วยวิธีแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4
ผลการสำรวจ
เมื่อถามถึงการติดตามฟุตบอล AFF SUZUKI CUP 2014 ของประชาชนพบว่า
-ร้อยละ 73.06 ติดตาม
-ร้อยละ 26.94 ไม่ได้ติดตาม
สำหรับการติดตามรับชมการแข่งขันฟุตบอล AFF SUZUKI CUP 2014 ที่แข่งในประเทศไทยวันที่ 17 ธ.ค. 2557 ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน (รวมการดูที่สนามและการดูถ่ายทอดสดทาง TV) พบว่า
-ร้อยละ 81.40 ได้ดูการแข่งขัน
-ร้อยละ 18.60 ระบุว่า ไม่ได้ดูการแข่งขัน
ด้านการติดตามรับชมการแข่งขันฟุตบอล AFF SUZUKI CUP 2014 ที่แข่งในประเทศมาเลเซียในวันที่ 20 ธ.ค. 2557 พบว่า
-ร้อยละ 92.23 ระบุว่า ได้ดูการแข่งขัน
-ร้อยละ 7.77 ระบุว่า ไม่ได้ดูการแข่งขัน
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อปัจจัยที่ส่งผลให้ทีมชาติไทยประสบความสำเร็จในการแข่งขันฟุตบอล AFF SUZUKI CUP 2014 พบว่า
-ร้อยละ 87.64 ระบุว่า เป็นตัวนักเตะ
-ร้อยละ 85.78 ระบุว่า เป็นผู้ฝึกสอน (โค้ช นายเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง)
-ร้อยละ 60.18 ระบุว่า เป็นกองเชียร์
-ร้อยละ 45.84 ระบุว่า เป็นทีมงานผู้ฝึกสอน
-ร้อยละ 33.59 ระบุว่า เป็นสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
-ร้อยละ 0.55 ระบุว่า อื่น ๆ เช่น ผู้สนับสนุนต่าง ๆ และ เป็นที่ดวงและโชคชะตา
-ร้อยละ 0.33 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ
จำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค
-ร้อยละ 20.14 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
-ร้อยละ 20.06 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง
-ร้อยละ 19.90 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ
-ร้อยละ 20.06 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
-ร้อยละ 19.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้
จำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ
**ตัวอย่างร้อยละ 54.92 เป็นเพศชาย
**ร้อยละ 44.84 เป็นเพศหญิง และ
**ร้อยละ 0.24 เป็นเพศทางเลือก
จำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ
**ร้อยละ 9.67 มีอายุ 18 – 25 ปี
**ร้อยละ 31.19 มีอายุ 25 – 39 ปี
**ร้อยละ 45.17 มีอายุ 40 – 59 ปี และ
**ร้อยละ 13.97 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
จำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา
**ร้อยละ 94.07 นับถือศาสนาพุทธ
**ร้อยละ 5.11 นับถือศาสนาอิสลาม และ
**ร้อยละ 0.81 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ
จำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส
**ร้อยละ 25.49 สถานภาพโสด
**ร้อยละ 72.39 สมรสแล้ว และ
**ร้อยละ 2.12 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่
จำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา
**ร้อยละ 26.53 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า
**ร้อยละ 30.04 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า
**ร้อยละ 9.71 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
**ร้อยละ 28.00 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
จำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก
**ร้อยละ 5.71 จบการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
**ร้อยละ 13.34 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
**ร้อยละ 14.98 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน
**ร้อยละ 21.77 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ
**ร้อยละ 13.09 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง
**ร้อยละ 16.61 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน
**ร้อยละ 15.30 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน
**ร้อยละ 4.91 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
จำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
**ร้อยละ 16.87 ไม่มีรายได้
**ร้อยละ 22.14 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000
**ร้อยละ 31.89 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 10,001 – 20,000
**ร้อยละ 10.55 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท
**ร้อยละ 5.28 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อเดือน 30,001 – 40,000
**ร้อยละ 7.27 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 40,001 บาท ขึ้นไป
**ร้อยละ 6.00 ไม่ระบุรายได้