10. Estadio Monumental Isidro Romero Carbo
10.สนามเอสตาดิโอ โมนูเมนตัล มีความสามารถรองรับแฟนบอลได้ถึง 89,930 คน เมืองกัวยากิล ประเทศเอกวาดอร์ สนาม เอสตาดิโอ โมนูเมนตัล เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี 1987 และการปรับปรุงขึ้นใหม่ในปี 1994 ซึ่งทำให้หลายๆฝ่ายคิดถึงคุณภาพของสนามในการก่อสร้าง ว่ามันได้มาตรฐานมากน้อยแค่ไหน เพราะทางรัฐบาลได้จัดการต่อเติ่มสนามใหม่หลังจาก 7 ปีให้หลังที่สร้างเสร็จ
9. Azadi Stadium
9.สนามอาซาดิ้ มีความสามารถรองรับแฟนบอลได้ถึง 90,000 คน เมืองเตหะราน ประเทศ อิหร่านสนามอาซาดิ้ เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลอย่างทีมเอสเทคห์ลา และทีมเพอร์เซโพริส รวมถึงเป็นสนามไว้สำหรับแข่งขันฟุตบอลทีมชาติอีกด้วย
8. Wembley
8. สนามนิว เวมบลีย์ มีความสามารถรองรับแฟนบอลได้ถึง 90,000 เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ
เปิดใช้ในปี 2007 เพื่อแทนสนามเวมลีย์เก่า(ซึ่งถือส่าเป็นตำนานสนามฟุตบอลของโลกอีกหนึ่งสนาม) อย่างไรก็ดีเหล่าแฟนบอลต่างก็ตั้งคำถามว่า ทำไม? สนามนิว เวมบลีย์ ถึงมีราคาแพงสูงริบถึงเพียงนี้ ซึ่งราคาสนามนิว เวมบลีย์ สามารถสร้างสนามอัลลิแอช อารีน่า ได้ถึง 3 สนาม!
7. Maracana
7.สนามมาราคาน่า มีความสามารถรองรับแฟนบอลได้ถึง 96,000 คน เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล สนาม มาราคาน่า เป็นอีกสนามที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่ยาวนาน โดยในปี 2007 ได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติ่มใหม่ และยังเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลอย่างทีมฟูลมิเนนเซ่ และทีมฟลามิงโก้ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมามีการคาดกันว่า ในปี 1950 ในเกมการแข่งขันระหว่างทีมชาติบราซิล พบกับ ทีมชาติอุรุกวัย มีผู้ชมเข้าไปเบียดเสียดกันในสนามถึง 210,000 คนเลยที่เดียว!
6. Camp Nou
6.สนามคัมป์ นู มีความสามารถรองรับแฟนบอลได้ถึง 98,772 คน เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน เปิดใช้เมื่อปี 1957 และสนามคัมป์ นู ยังเป็นสนามเหย้าของทีม เอฟซี บาร์เซโลน่า และสนามแห่งนี้ยังเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงทั่วโลกด้วย ซึ่งสนามคัมป์ นู ยังสวยงามติดอันดับต้นๆของยุโรป อีกด้วย
5. Melbourne Cricket Ground
5.สนามเมลเบิร์น คริกเก็ต มีความสามารถรองรับแฟนบอลได้ถึง 100,000 คน เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย สนามเมลเบิร์น คริกเก็ต เปิดใช้ในปี 1854 ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอล และกีฬาคริกเก็ตและสนามแห่งนี้ได้มาตรฐานระดับ ฟีฟ่า สามารถใช้เป็นสนามจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกได้ด้วย
4. Bukit Jalil National Stadium
4.สนาม บูกิต จาลิล มีความสามารถรองรับแฟนบอลได้ถึง 100,000 คน เมือง เมืองกัวลา ลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย สนาม บูกิต จาลิล เปิดใช้ในปี 1998 ในการแข่งขันคอมมอนเวลธ์เกมส์ หรือมหกรรมกีฬาเครือจักรภพ
3. Azteca
3. สนามอาซ์เตก้า มีความสามารถรองรับแฟนบอลได้ถึง 105,000 คน เมืองเม็กซิโก ซิตี้ ประเทศเม็กซิโก สนามอาซ์เตก้า เคยใช้เป็นสังเวียนการแข่งขันฟุตบอลโลกในนัดชิงชนะเลิศ ที่ทีมชาติบราซิล เอาชนะ ทีมชาติอิตาลี ไป 4 ต่อ 1 ในปี 1970 และสนามอาซ์เตก้า ยังเป็นสนามเหย้าของทีม คลับ อเมริกา ซึ่งสนามอาซ์เตก้า เปิดใช้ในปี 1966 และปรับปรุ่งเพิ่มในปี 1985
2. Salt Lake Stadium
2.สนามซอลท์ เลค มีความสามารถรองรับแฟนบอลได้ถึง 120,000 คน เมืองคัลคุตต้า ประเทศอินเดีย ทราบกันดีอยุ่แล้วว่าประเทศอินเดีย มีประชากร สูงถึงพันล้านคน เป็นรองเพียงประเทศจีนเท่านั้น จึงไม่แปลกทีจะมีสนามฟุตบอลที่ใหญ่โตขนาดนี้ สนามซอลท์ เลค ยังเป็นสนามเหย้าของ 3 มโมสร คือทีมเบงกอล์ ตะวันออก, ทีมโมฮัน เบงกอล์ และทีมโมฮัมเมด สปอร์ตติ่ง อีกด้วย ซึ่งสนามซอลท์ เลท เปิดใช้อย่างเป็นทางการ ในปี 1984
1. Rungrado May Day Stadium
1.สนามรังการ์โด เมย์ เดย์ มีความสามารถรองรับแฟนบอลได้ถึง 150,000 คน เมืองเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ
สนามรังการ์โด เมย์ เดย์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสาวรีย์คอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน และใช้เป็นสนามกีฬาแข่งขันในระดับชาติ เปิดใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 1989 (สำหรับการเฉลิมฉลองคอมมิวนิสต์ในวันแรงงานแห่งชาติ)
credit mthai.com