15 เมษายน 1989 เป็นวันที่การแข่งขันรอบรองชนะเลิศของเอฟเอคัพระหว่างทีมลิเวอร์พูลและน็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ต้องตัดสินชะตาเพื่อหาผู้ชนะเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศกับเอฟเวอร์ตั้น สนามที่ใช้เป็นสังเวียนฟาดแข้งคือสนามฮิลล์โบโร่ของทีมเชฟฟิลด์ เวนส์เดย์ ก่อนแข้งมีการกำหนดอัฒจรรย์สำหรับกองเชียร์ทั้งสองทีมและถูกทักท้วงโดยลิเวอร์พูลมาก่อนหน้าแล้วเนื่องจากทีมลิเวอร์พูลซึ่งมีแฟนบอลมากกว่าแต่ได้ฝั่งที่นั่งที่จุคนได้น้อยกว่าคือ Leppings Lane End ทีจุได้ 14,600 ที่ แต่ทีมน็อตติงแฮม ฟอเรสต์ทีมที่เล็กกว่าแต่ได้อัฒจรรย์ฝั่งที่จุคนมากกว่าที่ฝั่งด้านตะวันออกหรือ Spion Kop ที่จุ 21,000 ที่ และเป็นความผิดพลาดแรกของฝ่ายจัดการแข่งขันก่อนที่เหตุการณ์เศร้าสลดจะตามมา
การแข่งขันมีกำหนดการณ์คือเวลา 3:00 และมีการประกาศให้แฟนบอลควรเข้าสนามก่อนเวลา 2:45 แฟนบอลของน็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์เข้าสู่สนามไม่ยากนักเพราะจำนวนที่น้อยและที่นั่งที่พอเพียง แต่แฟนบอลลิเวอร์พูลที่ประสบปัญหาการจราจรและการตรวจตราอย่างเข้มงวด รวมทั้งรู้อยู่แล้วว่าตั๋วที่มีจำกัดกับความต้องการชมของแฟนบอลที่มีมากกว่า ทำให้มากระจุกอยู่ที่ทางเข้าที่มี 3 ทางและมีช่องเช็คตั๋วเก่าๆแบบหมุนๆ 7 ตัว และยิ่งใกล้เวลาแข่งแฟนบอลยิ่งกังวลใจและอยากจะเข้าไปชมเกมส์ในสนามอย่างรวดเร็วทำให้ทางเข้าที่ค่อนข้างแคบถูกผลักดันจากแฟนๆข้างหลัง ในขณะที่แฟนบอลบางคนก็ไม่มีตั๋วชมเกมส์ทำให้ถูกกัก แฟนบอลข้างหลังก็ผลักดันและเมื่อคนคุมเห็นฝูงชนที่แออัดก็เลยเปิดประตูทางเข้า Gate C ที่ไม่มีช่องเช็คตั๋วทำให้กองทัพแฟนบอลแห่กันเข้าไปช่องทางนั้นอย่างมากมาย ประกอบกับการแข่งขันเริ่มไปแล้ว เสียงกองเชียร์ในสนามโห่ร้องยิ่งเพิ่มแรงผลักดันถาโถมเข้าไป และทางเข้า Gate C ที่นำไปสู่ล็อคผู้ชมที่ 3 และ 4 ในสนามที่รองรับผู้ชมได้เพียง 1,600 คน แต่การถาโถมแบบไม่มีทิศทางเพราะไม่ได้ผ่านช่องเช็คตั๋ว ทำให้แฟนบอลกว่า 3,000 คนเข้าไปอัดกันในล็อคที่นั่ง 3 และ 4 และเนื่องจากในสมัยนั้นแต่ละล็อคจะมีรั้วกั้นเพื่อป้องกันบรรดาฮูลิแกนส์อันธพาลลูกหนังที่ก่อเรื่องในสมัยนั้น แฟนบอลที่แห่แหนเข้าไปจากข้างหลังก็อัดแฟนบอลที่อยู่ข้างหน้าจนติดรั้ว และเมื่อเริ่มการแข่งขันมา 4 นาทีปีเตอร์ เบรียดลี่ย์ก็ซัดลูกข้ามคานทำให้เรียกเสียงเชียร์จากแฟนๆในสนามแต่กลับเป็นการเร่งเร้าให้กองเชียร์นอกสนามทะลักเข้ามาในสนาม แฟนบอลถูกอัดจนหายใจไม่ออกมีบ้างที่ปีนกำแพงหนีออกมาได้ การแข่งขันที่เริ่มไปเพียง 6 นาทีตำรวจก็ให้สัญญาณหยุดการแข่งขัน และต่างเข้าไปช่วยแฟนบอลที่โชคร้าย แต่โศกนาฏกรรมที่เลวร้ายที่สุดในสนามฟุตบอลก็เกิดขึ้นเพียงเพราะความผิดพลาดในการจัดการตั้งแต่แบ่งที่นั่งจน,การดูแลการเข้าสนามและการช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์
ความโกลาหลยังเกิดอย่างต่อเนื่องหลังจากยุติเกมส์ แฟนบอลยังหนีตายอย่างม่คิดชีวิตแม้ว่าจะมีรั้วบางส่วนพังลงแต่การกดทับผู้คนจากด้านหลัง หลายคนต่างก็ตะเกียกตะกายแย่งชิงกันเพื่อให้มีอากาศหายใจทำให้แฟนบอล 94 ชีวิตขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตในเหตุการณ์ภายในวันนั้น แฟนบอลอีก 766 คนบาดเจ็บและประมาณ 300 คนถูกนำส่งโรงพยาบาล และสี่วันถัดมาเด็กน้อยวัย 14 ปีก็เสียชีวิตที่โรงพยาบาลเป็นรายที่ 95 สุดท้ายรายที่ 96 ซึ่งอยู่ในอาการโคม่าถึง 4 ปีก็จบชีวิตลงในเดือนมีนาคมปี 1993 รวมเป็น 96 ชีวิตที่ต้องสังเวยในโศกนาฎกรรมที่ฮิลล์โบโร่
หลังเหตุการณ์ที่ฮิลล์โบโร่ มีผลทำให้รั้วที่กั้นแฟนบอลในสนามถูกถอดออกเพื่อป้องกันเหตุไม่คาดคิดเช่นนี้ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งวัฒนธรรมการเชียร์ฟุตบอลอังกฤษที่เป็นการยืนได้ถูกพิจารณาปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นนั่งแทนเพราะการนั่งจะทำให้ไม่เกิดการแออัดยัดเยียดเข้าไปในสนามฟุตบอล เคนนี่ ดัลกริช ผู้จัดการทีมลิเวอร์พูลในขณะนั้นแทบจะไม่กล่าวถึงเหตุการณ์โศกนาฎกรรมในครั้งนั้นเลยนอกจากสิ่งที่เขาไม่เข้าใจว่าเมื่อเกิดปัญหาแฟนบอลจากนอกสนามที่มากมายทำไมตำรวจหรือผู้ดูแลจึงไม่ส่งสัญญาณให้เลื่อนเกมส์ออกไปก่อนเพียงไม่กี่นาทีก็อาจจะทำให้ไม่เกิดการสูญเสียที่มากมายเหล่านั้น และหลายคนรวมทั้งลูกสาวของเคนนี่ ดัลกริชเองเชื่อว่านี่อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่เคนนี้ ดัลกริชลาออกจากการเป็นผู้จัดการทีมลิเวอร์พูลในเวลาต่อมา นอกจากนี้สนามแอนฟิลด์แห่งใหม่จะถูกจัดให้มีตำแหน่งเฉพาะที่ว่างเว้น 96 ที่นั่งเพื่อรำลึกถึงดวงวิญาณที่เสียชีวิตในโศกนาฎกรรมฮิลล์โบโร่ บทเรียนจากฮิลล์โบโร่เป็นสิ่งที่วงการฟุตบอลไม่เพียงแต่ในอังกฤษยังรวมถึงในยุโรปที่เปลี่ยนแปลงหลายๆสิ่งเพื่อรองรับกับชีวิตของแฟนบอลที่เข้ามาเชียร์ในสนาม และดวงวิญญาณของทั้ง 96 ดวงก็เป็นประเพณีที่เดอะค๊อปจะระลึกและไว้อาลัยเมื่อวันที่ 15 เมษายนของทุกปีมาถึงและปีนี่เป็นการครบรอบ 20 ปีของการจากไป สู่สุขคติเถิดเพราะพวกท่านจะไม่เดินอย่างเดียวดาย
“One morning, before everyone was in, I went out on to the pitch and tied my children’s teddy bears around a goalpost at the Kop end. The goals, the pitch and the whole Kop were covered in flowers, scarves and tributes. I remember describing it as the ‘saddest and most beautiful sight’ I had ever seen.”
- Kenny Dalglish