ประวัติความเป็นมา ฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้

ประวัติความเป็นมา ฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้

มาดูรายละเอียด ข้อมูล ความเป็นมาของ ฟุตบอลโลก 2010 ที่จะถูกจัดขึ้นที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน-11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ภายหลังจากที่ ฟีฟ่า ต้องการที่จะมีการจัดฟุตบอลโลกที่ ทวีปแอฟริกา





 


สัญลักษณ์ฟุตบอลโลก 2010 อย่างเป็นทางการ






ประเทศเจ้าภาพ

     ในการคัดเลือกประเทศเจ้าภาพนั้นได้มีประเทศ 5 ประเทศได้ร่วมชิงการเป็นเจ้าภาพ ฟุตบอลโลก 2010 ตามนโยบายการหมุนเวียนการเป็นเจ้าภาพในแต่ละสมาพันธ์ฟุตบอลต่างๆ (ตามมติในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550) มีทีมจากทวีปแอฟริกาเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2010 ได้แก่

     *ประเทศอียิปต์
     *ประเทศลิเบีย ขอเป็นเจ้าภาพร่วมกับ ประเทศตูนิเซีย
     *ราชอาณาจักรโมร็อกโก
     *ประเทศแอฟริกาใต้

     ต่อมาทีมบริหารของฟีฟ่าไม่อนุญาตให้มีเจ้าภาพร่วมในการจัดการแข่งขัน, ตูนีเซียถอนตัวออกจากการคัดเลือก คณะกรรมการตัดสิทธิลิเบียออกจากการคัดเลือกเนื่องจากมีคุณสมบัติไม่เพียงพอ หลังจากการลงคะแนนเสียง ผู้ชนะการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพถูกประกาศโดยเซ็ปป์ แบล็ตเตอร์ประธานฟีฟ่า ปรากฏว่า ประเทศแอฟริกาใต้ ได้รับเลือกในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 สำหรับ ฟุตบอลโลก 2010 (ปี พ.ศ. 2553) ให้เป็นตัวแทนจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก โดยแอฟริกาใต้เป็นประเทศที่ 16 ในโลก และเป็นประเทศแรกในทวีปแอฟริกาที่ได้จัดการแข่งขัน

ผลการลงคะแนน
     *ประเทศแอฟริกาใต้ ได้คะแนน 14 เสียง
     *ราชอาณาจักรโมร็อกโก ได้คะแนน 10 เสียง
     *ประเทศอียิปต์ ได้คะแนน 0 เสียง
     *ประเทศตูนิเซีย ถอนตัวในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 หลังจากไม่อนุญาตให้มีเจ้าภาพร่วมจัดการแข่งขัน
     *ประเทศลิเบีย การเสนอตัวถูกปฏิเสธ เนื่องจากคุณสมบัติไม่เพียงพอ







 


ซากูมี ตัวนำโชคของฟุตบอลโลก 2010



สัญลักษณ์ ตัวนำโชค หรือ Mascot

     ตัวนำโชคอย่างเป็นทางการในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 คือ ซากูมี (เกิดเมื่อ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1994) เป็นมนุษย์ครึ่งเสือดาวผมสีเขียว ชื่อของเขามีที่มาจาก ZA ซึ่งเป็นรหัสประเทศของประเทศแอฟริกาใต้ และ kumi ซึ่งมีความหมายว่า สิบ ซึ่งเป็นจำนวนภาษาที่หลากหลายในแอฟริกา สีของตัวนำโชคนี้บ่งบอกถึงชุดที่ทีมเจ้าภาพใช้ทำการแข่งขัน คือ สีเหลือง และ สีเขียว

     วันเกิดของ ซากูมี ใช้วันเดียวกับวันเยาวชนในประเทศแอฟริกาใต้ and their second group match. The year 1994 marks the first non-racial nationwide elections in South Africa. เขาอายุ 16 ปี ใน พ.ศ. 2553

     คำขวัญประจำของซากูมี คือ: Zakumi s game is Fair Play. ซึ่งคำขวัญนี้ได้แสดงในป้ายโฆษณาดิจิตอลระหว่างการแข่งขันคอนเฟเดอเรชันคัพ 2009 และจะปรากฏอีกในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010


ทีมที่ร่วมแข่งขัน

ในครั้งนี้มีทีมเข้าร่วมแข่งขันมี 32 ทีม โดยทีมจากแอฟริกาใต้ผ่านรอบคัดเลือกในฐานะทีมเจ้าภาพ และสำหรับทีมอื่นจะทำการแข่งขันดังนี้

     * โซนยุโรป - คัดเลือกมา 13 ทีม เริ่มแข่งขันรอบคัดเลือกเมื่อ กันยายน 2551
     * โซนแอฟริกา - คัดเลือกมา 6 ทีม
     * โซนอเมริกาใต้ - คัดเลือกมา 4.5 ทีม โดยมี 4 ทีมเข้ารอบ และอีก 1 ทีมต้องไปแข่งเพลย์ออฟกับ 1 ทีมจากโซนอเมริกาเหนือ เพื่อต้องการอีกแค่ทีมเดียวเท่านั้น
     * โซนอเมริกาเหนือ - คัดเลือกมา 3.5 ทีม โดยมี 3 ทีมเข้ารอบ และอีก 1 ทีมต้องไปแข่งเพลย์ออฟกับ 1 ทีมจากโซนอเมริกาใต้ เพื่อต้องการอีกแค่ทีมเดียวเท่านั้น
     * โซนเอเชีย - คัดเลือกมา 4.5 ทีม โดยมี 4 ทีมเข้ารอบ และอีก 1 ทีมต้องไปแข่งเพลย์ออฟกับ 1 ทีมจากโซนโอเชียเนีย เพื่อต้องการอีกแค่ทีมเดียวเท่านั้น
     * โซนโอเชียเนีย - คัดเลือกมา 0.5 ทีม คือมีแค่ทีมเดียวที่ต้องไปแข่งเพลย์ออฟกับ 1 ทีมจากโซนเอเชีย เพื่อต้องการอีกแค่ 1 ทีมเท่านั้น

แบ่งสาย 32 ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย

สาย A
     *แอฟริกาใต้
     *เม็กซิโก
     *อุรุกวัย
     *ฝรั่งเศส

สาย B
     *อาร์เจนติน่า
     *ไนจีเรีย
     *เกาหลีใต้
     *กรีซ

สาย C
     *อังกฤษ
     *สหรัฐอเมริกา
     *แอลจีเรีย
     *สโลเวเนีย

สาย D
     *เยอรมัน
     *ออสเตรเลีย
     *เซอร์เบีย
     *กาน่า

สาย E
     *เนเธอร์แลนด์ส
     *เดนมาร์ก
     *ญี่ปุ่น
     *แคเมอรูน

สาย F
     *อิตาลี
     *ปารากวัย
     *นิวซีแลนด์
     *สโลวาเกีย

สาย G
     *บราซิล
     *เกาหลีเหนือ
     *ไอวอรี่ โคสต์
     *โปรตุเกส

สาย H
     *สเปน
     *สวิตเซอร์แลนด์
     *ชิลี
     *ฮอนดูรัส

สนามจัดการแข่งขัน

มีสนามแข่งขันทั้งหมด 10 สนามจาก 9 เมืองทั่วประเทศแอฟริกาใต้จะถูกใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ โดยฟีฟ่าได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2549 ได้แก่


1.โจฮันเนสเบิร์ก - Soccer City-ความจุ: 94,900














2.เดอร์บัน - Moses Mabhida Stadium-ความจุ: 70,000














3.เคปทาวน์(สนามกีฬากรีนพอยท์) - Cape Town Stadium-ความจุ: 69,070














4.โจฮันเนสเบิร์ก(โคคา-โคล่าปาร์ค) - Ellis Park Stadium-ความจุ: 62,567














5.พริทอเรีย - Loftus Versfeld Stadium-ความจุ: 51,760














6.Port Elizabeth(สนามกีฬาเนลสันมันเดลาเบย์) - Nelson Mandela Bay Stadium-ความจุ: 48,000














7.บลูมฟอนเท่น(สนามกีฬาฟรีสเตท) - Free State Stadium-ความจุ: 48,070














8.Polokwane(สนามกีฬาปีเตอร์โมกาบ้า) - Peter Mokaba Stadium-ความจุ: 46,000














9.เนลสไปรต์(สนามกีฬาเอ็มบอมเบล่า) - Mbombela Stadium-ความจุ: 44,000














10.Rustenburg - Royal Bafokeng Stadium-ความจุ: 42,000









ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจาก : wikipedia



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์