เกาะอีสเตอร์ เกาะแห่งรูปสลักหินยักษ์
เกาะอีสเตอร์(Easter Island) หรือตามภาษาถิ่นเรียกว่าเกาะราปานุย (Rapa Nui) ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ในการปกครองของประเทศชิลี ซึ่งเกาะห่างจากฝั่งประเทศชิลีกว่า 3,600 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตก เกาะที่ใกล้เกาะอีสเตอร์มากที่สุดอยู่ห่างฝั่งจากถึง 2,000 กิโลเมตร จึงได้ชื่อว่าเป็นสถานที่อันโดดเดี่ยวแห่งหนึ่งของโลก ลักษณะของเกาะมีขนาดเล็ก มีพื้นที่เพียง 160 ตารางกิโลเมตร มีความยาว 25 กิโลเมตร
ประวัติศาสตร์
ปี ค.ศ.1680 เป็นช่วงที่ชาวเผ่าสองเผ่าที่อยู่บนเกาะ ซึ่งมีชนเผ่าหูสั้น(คาดว่าเป็นพวกที่มาจากเกาะแถบโพลีนีเซีย)กับเผ่าหูยาว (คาดว่ามาจากอเมริกาใต้)ซึ่งอยู่อย่างสงบมาช้านานได้ทะเลาะกันและทำสงคราม กัน ทำให้ป่าเริ่มหมด สภาพดินเริ่มเสื่อมลง เผ่าหูสั้นซึ่งมีประชากรน้อยกว่าแต่กลับชนะเผ่าหูยาว และช่วงที่ทำการรบอยู่นั้น พวกชาวเผ่าหูสั้นก็ได้ทำลายรูปปั้นหินและโคนรูปเกาะสลักเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นได้มีสงครามและความอดอยากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ในปี ค.ศ.1722 นักเดินชาวดัตช์ได้ เดินทางมาพบใน อาทิตย์อีสเตอร์ ซึ่งเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เข้ามาถึง ได้ค้นพบว่าบนเกาะมีชนเผ่าอาศัยอยู่สองเผ่า และได้ตั้งชื่อเกาะให้ตรงกับวันที่ได้พบคือวันอีสเตอร์
ในปี ค.ศ. 1770 นักเดินเรือชาวสเปนที่เดินทางมาจากเปรูได้ค้นพบเกาะนี้อีกครั้ง ซึ่งขณะนั้นบนเกาะมีซึ่งมีชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่ มีประชากรราว 3000 คน แต่สี่ปีให้หลังจากนั้น กับต้นเจมส์ คุก ที่เดินทางสำรวจแถบแปซิฟิกครั้งที่สอบ ก็ได้พบเกาะอีสเตอร์ ซึ่งขณะนั้นประชากรบนเกาะเหลืออยู่เพียง 600-700 คน และมีผู้หญิงอยู่เพียง 30 คนเท่านั้น (มีการเล่าต่อกันมาว่าอาจเกิดจากการที่ผู้หญิงและเด็กถูกจับกิน จึงทำให้เด็กกับผู้หญิงลดน้อยลง) ตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
ในปี ค.ศ.1862 รัฐบาลเปรูได้กวาดต้อนชาวพื้นเมืองชายประมาณ 1000 คนไปเป็นทาสบนแผ่นดินใหญ่ แต่ไม่กี่เดือนให้หลัง หลังจากทาส 15 คนที่ได้รับการปล่อยตัวเพื่อกลับมาที่เกาะ ก็ได้นำเชื้อไข้ทรพิษกลับ เข้ามาด้วย ทำให้ชาวเกาะซึ่งไม่มีภูมิคุ้มกันได้ติดโรคร้ายไปด้วย ทำให้ประชากรลดลงไปมาก จากการที่ชาวพื้นเมืองไม่ได้บันทึกอะไรไว้เลย สิ่งที่ถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นหลังคือเล่าจากปากต่อปาก ต้นตอของสิ่งต่างๆจึงได้ตายหายไปพร้อมกับชาวพื้นเมืองที่ลดจำนวนลงไปด้วย แม้จะมีข้อความสัญลักษณ์ แต่ก็ไม่สามารถถอดความได้ และยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้ว่าชาวเกาะอีสเตอร์ได้อพยบมาจากที่ใด
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเทศชิลีก็ได้ผนวกเกาะอีสเตอร์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศในปี ค.ศ.1888 หลังจากนั้นประชากรบนเกาะก็เพิ่มขึ้นอีกครั้ง
รูปสลักหินขนาดยักษ์
ถึงแม้ว่าจะไม่มีรู้ที่มาของชาวพื้นเมืองบนเกาะ แต่ชาวพื้นเมืองก็ได้สร้างรูปสลักยักษ์ขึ้น ซึ่งสร้างจากหินและกากแร่ภูเขาไฟหรือหินบะซอลต์ ซึ่งรูปสลักในยุกแรกจะเป็นรูปสลักคนนั่งคุกเข่าในช่วงประมาณ ค.ศ.380 ในยุคถัดมาเริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1100 จะสลักเป็นรูปที่เรียกว่า โมอาอิ หรือ โมอาย (moai)ซึ่งเป็นที่โดดเด่นทั่วไปบนเกาะ
ชาวพื้นเมืองของเกาะนี้ มีอารยธรรมและภาษาเป็นของตนเอง ( ราปา นุย ) พวกเขาสืบเชื้อสายมาจากชาวโปลิเนเชี่ยน และดำรงชีพแบบง่ายๆ ตั้งแต่โบราณมาจนถึงทุกวันนี้ ก็ยังมีประชากรอยู่เพียงหยิบมือ เรียกได้ว่า แทบไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย ตรงนี้แหละ ที่ทำให้ใครต่อใครสงสัยกัน ท่านที่เห็นรูปของโมอายคงจะแปลกใจกันนะ ว่าดีไซน์ รูปร่างใหญ่โต และน้ำหนักขนาดนั้น ลำพังชาวเกาะอีสเตอร์ จะเอาเครื่องไม้เครื่องมือที่ไหนมาสลัก แล้วลากลงมาจากภูเขาไปตั้งทิ้งไว้ที่ชายหาดได้ มีนักวิชาการหลายท่านครับ ที่พยายามอธิบายถึงวิธีการสร้างโมอายเหล่านี้ หลายคนถึงกับลงมือสาธิตด้วยตนเอง ถึงกระนั้นหลายๆคนก็ยังปักใจเชื่ออยู่ดีว่า เจ้ารูปสลักหินนี่ ต้องมี อะไรๆ เกี่ยวพันกับอารยธรรมนอกโลกอยู่
นักวิชาการหลายคน ถึงกับลงมือขุดค้นเข้าไปในตำนานของชาวเกาะ เพื่อจะหาที่ไปที่มาของโมอาย แต่ก็ไม่ค่อยจะได้เรื่องราวะไรนัก พอถามชาวเกาะที่มีอายุ และมีความทรงจำเกี่ยวกับความเป็นมาของเกาะดู ก็ได้รับคำตอบอย่างเป็นที่น่าพอใจว่า มันเดินกันลงมาเอง ฮ่วย…มัน - จะ - เป็น - ไป - ด้าย - ยาง - ง้าย ?
แน่ ล่ะสิ รูปสลักใหญ่โตขนาดนี้ ใครล่ะจะเชื่อว่าชาวเกาะโบราณ จะใช้แรงงานของพวกเขาขนย้าย ด้วยการลากลงมาเอง อย่าว่าแต่ลากเลยครับ แค่วิธีแกะสลักเนี่ย ก็ลำบากมากแล้ว ขนาดเราเองยังนึกไม่ออกเลยว่า ชาวโพลิเนเชี่ยนเหล่านี้ เค้าเอาอะไรมาสลักหินภูเขาไฟก้อนเบ้อเริ่ม ให้ออกมาเป็นศิลปกรรมหน้าตาประหลาดแบบนี้ได้ ลิ่มหรือ หรือว่าขวานหิน ?
อีกอย่างนะ ดีไซน์ของเจ้าโมอาย ดูแปลกและแตกต่างไปจากศิลปกรรม, สิ่ง สักการะทางศาสนา และ วัฒนธรรมของโปลิเนเซี่ยนโดยสิ้นเชิง บนเกาะอีสเตอร์ยังเหลือโมอายที่ทำไม่เสร็จ ทิ้งไว้ตามชายหาดอยู่จำนวนมาก เหมือนกับว่าคนสร้างได้รีบทิ้งถิ่นพำนัก แล้วจากไปอย่างปัจจุบันทันด่วนซะอย่างนั้น นอกจากนี้บนเกาะอีสเตอร์ยังมีตำนานเก่าแก่ เป็นตำนานของมนุษย์ปักษี ( Birdman ) ที่เชื่อกันว่าเป็นกลุ่มชนที่รอดตายจากทวีปมู เล่าขานต่อๆกันมา
ต่างคนก็ต่างใจ นักวิชาการบางคนเริ่มเอนเอียงที่จะเชื่อว่า อารยธรรมบนเกาะอีสเตอร์ มีส่วนเกี่ยวพันกับเอเลี่ยนนอกโลก ในขณะที่บางคนก็พะอืดพะอมที่จะรับฟัง และพยายามหาเหตุผลที่ฟังขึ้นกว่านี้มาอธิบาย
ที่มา: http://creatures.igetweb.com/index.php?mo=3&art=165185
วันนี้ผมพาเพื่อน ๆ ไปเที่ยวในดินแดนที่คงไปจริง ๆ ยากมาก ๆ ผมเองก็ไม่เคยไป งั้นเราไปเที่ยวด้วยกันผ่านทางโปสการ์ดแล้วกันนะครับ ไปไหนก็ได้ตามใจฝัน แถมประหยัดอีกด้วย อิอิอิ
วันนี้เราไปชมรูปปั้นหินขนาดยักษ์ที่เกาะอีสเตอร์ (Easter Island) กัน เกาะนี้อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกห่างจากชายฝั่งประเทศชิลีในทวีปอเมริกาใต้ประมาณ 3600 กิโลเมตร เกาะแห่งนี้ถูกค้นพบโดยนักเดินเรือชาวดัทช์ ชื่อ Jacob Roggeveen ในวันอีสเตอร์ในปี ค.ศ.1722 จึงตั้งชื่อเกาะนี้ว่าเกาะอีสเตอร์ แต่ชื่อในปัจจุบันที่ชาวโพลินีเชีย (Polynesians) ที่เป็นชนพื้นเมืองใช้เรียกเกาะนี้คือ “ราพานุย” (Rapa Nui)
จุดเด่นของเกาะแห่งนี้คือรูปปั้นหินขนาดยักษ์ที่ตั้งเรียงรายริมชายฝั่งและกระจัดกระจายรอบ ๆ ภูเขาไฟ รูปปั้นเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า “โมอาย” (Moai)
เห็นสาวน้อยกำลังรำระบำชาวเกาะไหมครับ
รูปปั้นเหล่านี้มีจำนวนหลายร้อยตัว (887 ตัว) มีทั้งอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ดี และสภาพที่ยังแกะสลักไม่เสร็จ บางตัวมีน้ำหนักถึง 80 ตัน และสูงถึง 33 ฟุต
เชื่อว่ารูปปั้นเหล่านี้ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1000 ถึง 1650 ประมาณ 1 ใน 4 ของรูปปั้นเหล่านี้ถูกวางตั้งไว้บนฐาน การเคลื่อนย้ายรูปปั้นขนาดยักษ์เช่นนี้ทำได้ยากและใช้เวลามาก รูปปั้นส่วนที่เหลือจึงยังอยู่ที่เดิมที่สร้างไว้แต่แรกหรืออยู่ในระหว่างการเคลื่อนย้ายมาวางตั้งที่ฐาน
ตามความเชื่อของชนพื้นเมือง รูปปั้นเหล่านี้มีความสำคัญทางศาสนาและยังเป็นที่สถิตของดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ แต่บางทฤษฎีก็บอกว่ารูปปั้นเหล่านี้มีความหมายทางศาสนาและแสดงถึงอำนาจทางการเมืองด้วย
จากการตรวจสอบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่าเกาะแห่งนี้มีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4-5 และมีความเจริญรุ่งเรืองมานับศตวรรษ ในช่วงที่เกาะมีความเจริญสูงสุดอาจมีประชากรถึง 1 หมื่นคน ซึ่งมากเกินไปสำหรับเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้ เกาะซึ่งเต็มไปด้วยป่าไม้ก็ถูกตัดเอาไปก่อสร้างบ้านเรือนและเรือแคนูจนโล่งกลายเป็นทุ่งหญ้าในปัจจุบัน ระบบนิเวศที่เคยสมดุลกลับเสียไป ประชากรจึงลดลงอย่างรวดเร็ว หรืออาจจะมีสาเหตุมาจากโรคติดต่อร้ายแรงซึ่งถูกนำมาโดยพวกชนผิวขาวและพวกทาสที่มาขึ้นฝั่งที่เกาะนี้ จนขณะหนึ่งมีประชากรเหลือเพียงแค่ร้อยกว่าคน
ปัจจุบันเกาะนี้มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2 พันคน และได้รับขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโก้