แก่นแท้แห่งการเกิด...อมตะ

แก่นแท้แห่งการเกิดอมตะ อยู่ที่การสั่งสมความดีในภพชาตินี้
ผมเชื่อว่าคนส่วนมาก กลัวแก่ กลัวเจ็บ กลัวตาย เป็นธรรมดา แต่.. ไม่น่าจะมีคนมากนัก ที่อยากอยู่ไปชั่วฟ้าดินสลาย เพราะอยู่ๆไป ก็จะค่อยๆเห็นเอง ว่าชีวิตมันไม่เที่ยงแท้ ถาวร ชีวิตมันเปราะบาง เป็นทุกข์ และที่สำคัญ.. มันบังคับไม่ได้เสียด้วย ที่น่าสนใจคือ..ถึงจะรู้ว่า การเกิดเป็นทุกข์ แต่ไม่ยักกะมีใครบอกว่า กลัวเกิด สักเท่าไหร่ ที่จริง..ไม่ต้องอยากมีชีวิตอมตะ เราก็มีกันทุกคนอยู่แล้ว เว้นแต่ อริยบุคคลระดับพระอรหันต์เท่านั้น ที่เหลือ ต่างก็ต้องเวียน ว่าย ตายเกิด เดินทางจากภพหนึ่ง สู่อีกภพ การเข้าถึงความสุขที่แท้จริงไม่ใช่การยึดรั้งรักษาสิ่งที่เขา เชื่อว่า มันเป็น
ของผมหากแต่เป็นการเข้าใจความจริงว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา คำถามของชีวิต ไม่ควรจะเป็น จะอยู่นานเท่าไหร่ แต่มันควรจะ เป็น เมื่อไหร่จะจบ มากกว่า  เคยมีผู้ทูลถามพระพุทธเจ้า เรื่องสังสารวัฏของชีวิต ว่าจะยาว ขนาดไหน? พระพุทธองค์ทรงบรรยายว่า จับต้นไม่ได้ หาปลายไม่เจอ

เราเป็นอมตะครับ
แต่ที่แย่ก็คือเราอยู่ที่นี่มานานจนจำไม่ได้ว่าเราเป็นอมตะ
ที่แย่กว่าก็คือ
เราไม่รู้ว่าเราเป็นใคร
เราอยู่ที่ใหน
เราจะไปใหน
มาทำไมและไปทำไม
งงไหม
จักรวาลเกิดขึ้นมาอย่างไร ทำไมมนุษย์ต้องเกิดมา เพื่ออะไร
ในจักรวาลนี้ยังมีมนุษย์เหมือนเราไหม


อมตะ หมายถึง ไม่ตาย, พระนิพพาน[3] โดยเฉพาะในความหมายของคำว่านิพพานเป็นคำที่น่าสนใจยิ่ง แล้วนิพพานคืออะไร นิพพาน มีคำแปลได้หลายแบบ เช่น
  - แปลว่า ความดับ คือ ดับกิเลส ดับทุกข์
  - แปลว่า ความพ้น คือ พ้นทุกข์พ้นจากภพสาม



 นิพพาน โดยความหมาย หมายถึงได้ ๒ นัยยะใหญ่ๆ คือ
  ๑.หมายถึง สภาพจิตที่หมดกิเลสแล้ว
  ๒.หมายถึง สถานที่ที่ผู้หมดกิเลสแล้ว ไปเสวยสุขอันเป็นอมตะอยู่ ณ ที่นั้นๆ



 นิพพาน เป็นที่ซึ่งความทุกข์ทั้งหลายเข้าไปไม่ถึง อยู่พ้นกฎของไตรลักษณ์ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีแก่ เจ็บ ตาย ทุกอย่างเป็นสุขัง เป็นนิจจัง เป็นอัตตา เป็นตัวตนที่แท้จริง บังคับบัญชาได้ เที่ยงแท้แน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นด้วยอำนาจการปฏิบัติธรรม มีพระพุทธพจน์ที่กล่าวถึงนิพพานไว้หลายครั้ง อาทินิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํนิพพานสูญอย่างยิ่ง คือ สูญกิเลส สูญทุกข์ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํนิพพานสุขอย่างยิ่ง ทหารเมื่ออยู่ในหลุมหลบภัย ย่อมปลอดภัยจากอาวุธร้ายของศัตรูฉันใดผู้ที่มีใจจรดนิ่งอยู่ในพระนิพพาน ก็ย่อมปลอดภัยจากทุกข์ทั้งปวงฉันนั้น หากจะกล่าวถึงนิพพานให้เข้าใจได้ง่าย อาจจะพูดได้ว่า นิพพานคือการดับทุกข์ สิ้นตัณหา เหมือนไฟที่ดับจนสิ้นเชื้อไม่สามารถที่จะลุกลามขึ้นมาได้อีก


ในพระไตรปิฎกมีแต่ระบุลงไปว่านิพพานเป็นอนัตตา นิพพานไม่ใช่อัตตา เมื่อเป็นเช่นนั้นการเข้าถึงนิพพานเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะเข้าใจคำว่า การไม่มีตัวตนอยู่จริง แล้วอะไรบ้างล่ะที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง โดยทั่วไปหมายถึง สังขารธรรม อันได้แก่ ขันธ์ ๕ ซึ่งประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ความหมายในแต่ละขันธ์มีดังนี้


·        รูปขันธ์ หรือรูป คือส่วนที่เป็นร่างกาย ถ้าใจเข้าไปยึดถือว่า เป็นกายของเรา พอกายมีการเปลี่ยนแปลง หรือทรุดโทรมลงไป ใจก็จะรับไม่ได้ และทำ ให้เกิดทุกข์ขึ้นมา ฉะนั้นท่านจึงบอกว่า การ เข้าไปยึดมั่นในรูปขันธ์ นี่ก็เป็น ตัวทุกข์อย่างหนึ่ง


·        วิญญาณขันธ์ คือการรับรู้อารมณ์ทางทวารต่างๆ มีตา มีหู เป็นต้น ตัวนี้ก็ไม่เบา ถ้าเข้าไปยึดมั่นเวลากระทบอารมณ์ คือเวลาเห็นรูป เวลาได้ยินเสียง แล้วเกิดความสำคัญมั่นหมายว่า ตัวเราเห็น ตัวเราได้ยิน ถ้าได้เห็น ได้ยิน สิ่งที่ดี ก็เพลิดเพลินพอใจแต่ถ้าได้เห็น ได้ยินสิ่งที่ไม่ดี ก็จะเกิดอารมณ์ขัดเคือง ฉะนั้น การเข้าไปยึดมั่นในวิญญาณขันธ์ คือการได้เห็น การได้ยิน นี่ก็เป็นตัวทุกข์


·        เวทนาขันธ์ นี่เป็นธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องจากวิญญาณขันธ์ คือพอกระทบกับอารมณ์ ทางตา ทางหู มันก็จะเกิดความรู้สึก ( ผัสสะ  อยู่ ๒ ทาง คือชอบ กับ ไม่ชอบ ถ้าชอบก็เกิดสุขเวทนา ถ้าไม่ชอบ ก็เกิดทุกขเวทนาเวลาเกิดเวทนา ทั้งสุข ทั้งทุกข์ อันเป็นผลมาจากการกระทบกับอารมณ์ภายนอก ถ้าเข้าไปยึดมั่น ว่าความสุขเป็นของเรา ความทุกข์เป็นของเรา เวลาสุข หายไปก็ไม่สบายใจ เวลาทุกข์เกิดขึ้นก็รู้สึกอึดอัดอยู่ภายใน ฉะนั้นท่านจึง บอกว่า การเข้าไป ยึดมั่นในเวทนาขันธ์ นี่ก็เป็นตัวทุกข์อีกอย่างหนึ่ง


·        สัญญาขันธ์ คือความจำในเรื่องอดีต ที่เคยเห็น เคยได้ยิน ตัวนี้สำคัญมาก ถ้ารู้ไม่เท่าทันก็จะเข้าไปยึด และจมปลักอยู่กับอารมณ์อดีต นี่แหละคือตัวทุกข์ อย่างสำคัญทีเดียว


·        สังขารขันธ์ คือความคิดต่างๆ ดีบ้างชั่วบ้างซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากความจำ (สัญญาขันธ์ข้อที่ ๔  ตัวนี้เห็นได้ชัดมาก เพราะคนส่วนใหญ่ ที่ทุกข์เรื่องความคิด นี่มีไม่น้อยเลย สังขารขันธ์ นอกจากเป็นตัวทุกข์อย่างสำคัญแล้ว ยังเป็นบ่อเกิดของกิเลส ( อารมณ์เศร้าหมอง  นานาประการอีกด้วย.[4] 
  ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ ทั้งที่อยู่ในรูปมวล หรือพลังงาน ล้วนแล้วไร้ซึ่งตัวตนที่แท้จริง  มนุษย์สัมผัสจากอายตนะทั้ง ๕ ว่ามันมีตัวตน มวลสารเกิดจากธาตุทั้ง ๔ คือดิน น้ำ ลม ไฟแล้วจะปรุงแต่งกันเป็นวัตถุ  แต่สิ่งที่ทำให้วัตถุนั้นมีตัวตนมากกว่าการรวมกันของธาตุทั้ง ๔ คือการถูกปรุงแต่งจากจิต  ทองคำจะมีค่าได้อย่างไรหากมนุษย์ไม่สมมุติกันเอาเองว่ามันมีค่า ไม่เพียงแต่วัตถุเท่านั้นที่ถูกปรุง เป็นเรื่องน่าตลกที่มนุษย์มักจะอุปโลกว่าเราเป็นคนนู้นเป็นคนนี้ ทั้งๆที่จริงแล้วเราไม่ได้เป็นอะไรเลย แม้แต่ตัวตนของเราก็ไม่มีตัวตนอยู่จริง เราสมมุติมันขึ้นมาเองทั้งนั้น  การหลงยึดติดกับกับสิ่งเหล่านี้ ล้วนจะทำให้เกิดทุกข์



          มีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นที่มนุษย์สร้างมันขึ้นมา คือความดีที่จะคงอยู่ตลอดไปไม่มีวันแตกสลายหายไปไหนได้ และความดีเท่านั้นที่จะยืดอายุไขของสรรพสิ่งให้ยาวนาน การปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระนิพพานคือธรรมอันสูงสุดของชิวิต คุณค่าของมนุษย์อาจจะวัดกันที่ตรงนี้แล
หากนิพพานคือว่างเปล่า การเข้าถึงนิพพานได้คือการมองเห็นขันธ์ทั้ง๕ เป็นอนัตตา สำหรับผู้ปล่อยวางได้ทั้งวัตถุ ร่างกาย และจิตวิญญาณ ผู้นั้นก็เข้าถึงนิพพานแล้ว



แหล่งที่มาจาก

 ข้อความนี้นำมาจากภาพยนต์เรื่อง โอปปาติกะ



 Post by simzayimza จากเว็บไซต์  http://bbs.pramool.com/webboard/view.php3?katoo=O61746



 ความหมายโดย พจนานุกรม ไทย-ไทย เปลื้อง ณ นคร



 ความหมายของขันธ์ ๕ จากเว็บไซต์ http://www.maama.com/reading/view.php?id=001109  Post by สิริธมฺโม



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์