บันทึกแรกที่สุดของทีมชาติไทย


อันดับฟีฟ่าดีที่สุดครั้งแรกของทีมชาติไทย
คือ ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) ทีมชาติไทยได้อันดับที่ 45 ของโลก (เดือนกันยายน 1998 อันดับที่ 43) มีสถิติการแข่งขัน 18 นัด ชนะ 9 เสมอ 5 แพ้ 4 ได้ 29 ประตู เสีย 28 ประตู ในปีดังกล่าว ทีมชาติไทยได้อันดับ 4 ฟุตบอลเอเชี่ยนเกมส์ (กรุงเทพ) มี มร.ปีเตอร์ วิท เป็นผู้ฝึกสอนปีที่สอง.




นักฟุตบอลดาราเอเชียคนแรกสุดของทีมชาติไทย
คือ อัศวิน ธงอินเนตร (สโมสรธนาคารกรุงเทพ) ตำแหน่งผู้รักษาประตู ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2506 - 2508 ดาราเอเชียคนแรกของทวีปเอเชียในตำแหน่งผู้รักษาประตู ประจำปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2508).




นักฟุตบอลผู้ทำประตูแรกสุดในเกมระดับโลกของทีมชาติไทย
คือ อุดมศิลป์ สอนบุตรนาค (สโมสรธนาคารกรุงเทพ) ตำแหน่งกองหน้า ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2509 - 2511 ทำได้ในฟุตบอลโอลิมปิก ครั้งที่ 19 (ค.ศ. 1968) ประเทศเม็กซิโก เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2511 ณ สนามกัวดาฮาร่า รอบแรก ครึ่งแรก ทีมชาติไทย เสมอ ทีมชาติกัวเตมาลา 1 - 1 (น. 44) ก่อนจบเกมแพ้ 1 - 4.





นักฟุตบอลที่ยิงประตูเร็วที่สุดของทีมชาติไทย
คือ นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ (สโมสรการท่าเรือ) ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2510 - 2522 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2511 รายการฟุตบอลปรี-โอลิมปิก ณ สนามศุภชลาศัยฯ ทีมชาติไทย กับ ทีมชาติอินโดนีเซีย (2 - 1) โดยเริ่มเล่นไม่ถึง 1 นาที ภายหลังเขี่ยลูก ทีมไทยโยนยาวไปหน้าประตูทีมอินโดนีเซีย นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ ขึ้นโหม่งเป็นประตูแรกให้กับทีมชาติไทย.




นักฟุตบอลที่ทำแฮตทริกแรกสุดในนัดชิงชนะเลิศของทีมชาติไทย
คือ อนุรักษ์ ศรีเกิด (สโมสรบีอีซีเทโรศาสน) ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2540 - 2545 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 รายการฟุตบอลคิงส์คัพ ครั้งที่ 31 ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน ทีมชาติไทย กับ ทีมชาติฟินแลนด์ (5 - 1) โดยยิงได้ใน น. 22, น. 44 และน. 74 นับเป็นการทำแฮตทริกครั้งแรกของตนเองและทีมชาติไทยในเกมนัดชิงชนะเลิศ.




นักฟุตบอลคนแรกสุดที่ได้ใบแดงในเกมระดับโลกของทีมชาติไทย
คือ ชัชชัย พหลแพทย์ (สโมสรธนาคารกรุงเทพ) ตำแหน่งกองหลัง ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2510 - 2518 ในฟุตบอลโอลิมปิก ครั้งที่ 19 (ค.ศ. 1968) ประเทศเม็กซิโก นัดวันที่ 14 ตุลาคม 2511 ณ สนามกัวดาฮาร่า รอบแรก ทีมชาติไทย แพ้ ทีมชาติกัวเตมาลา 1 - 4 โดยทั้งสองทีมได้คนละ 1 ใบแดง.




การลงสนามนัดแรกสุด ณ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ ของทีมชาติไทย
คือ วันที่ 13 ธันวาคม 2502 รายการฟุตบอลกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 รอบแรก ทีมชาติไทย กับ ทีมชาติเวียดนามใต้ (0 - 4).อนึ่ง ระหว่าง พ.ศ. 2495 - 2515 นั้น จะใช้ชื่อทีมว่า กรุงเทพผสม หรือ กรุงเทพ 11 ในการแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการหรือนัดพิเศษ เท่านั้น.




การลงสนามนัดแรกสุด ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน ของทีมชาติไทย
คือ วันที่ 27 มิถุนายน 2541 การแข่งขันฟุตบอลทดสอบสนามราชมังคลากีฬาสถาน คู่พิเศษระหว่าง ทีมชาติไทย กับ ทีมชาติจีน (0 - 3).




นักฟุตบอลคนแรกสุดที่ทำประตู ณ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ ของทีมชาติไทย
คือ ประเทศ สูตะบุตร ตำแหน่งกองหน้า ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2500 - 2505 เป็นคนแรกที่ทำประตูอย่างเป็นทางการให้ทีมชาติไทย ณ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2502 รายการฟุตบอลกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 รอบแรก ทีมชาติไทย ชนะ ทีมชาติมาเลเซีย 3 - 1 (ยิง 2 ประตู).




นักฟุตบอลคนแรกสุดที่ประกาศเลินเล่นทีมชาติอย่างเป็นทางการของทีมชาติไทย
คือ นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ (สโมสรการท่าเรือ) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2522 รายการฟุตบอลคิงส์คัพ ครั้งที่ 22 ณ สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ ทีมชาติไทย กับ ทีมชาติเกาหลีใต้ (1 - 0) ภายหลังจบการแข่งขัน สิงห์สนามศุภ ตำนานหมายเลข 13 ของทีมชาติไทย จึงประกาศเลิกเล่นทีมชาติกลางสนามศุภฯ นอกจากประสบความสำเร็จชนะเลิศเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวของตนเองในนามทีม ชาติไทย.




นักฟุตบอลอาชีพคนแรกสุดของทีมชาติไทย
คือ เอกไชย สนธิขันธ์ (สโมสรราชวิถึ) ตำแหน่งกองกลาง ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2512 - 2516 เป็นนักฟุตบอลคนแรกของไทยที่ได้ทำสัญญาเล่นฟุตบอลอาชีพสังกัดสโมสรแรงเยอร์ (ฮ่องกง) ประมาณ พ.ศ. 2515 เป็นเวลา 2 ฤดูกาล.




นักฟุตบอลอาชีพคนแรกในทวีปยุโรปของทีมชาติไทย
คือ วิทยา เลาหกุล (สโมสราชประชานุเคราะห์) ตำแหน่งกองกลาง ติดทีมชาติไทยระหว่าง พ.ศ. 2516 - 2530 สังกัดสโมสรเฮอธ่า เบอร์ลิน (บุนเดสลีกา) และสโมสรซาบรุ๊คเค่น (ลีกา 2) ในประเทศเยอรมัน ระหว่าง พ.ศ. 2522 - 2528.



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์