ประวัติสนามฟุตบอลโลก 2010








src=http://upload.mwake.com/images_xxx/G6/nK6SrfhO1o.jpg
ทีมงาน SBOBET
src=http://upload.mwake.com/images_xxx/VZ/50Mr6gCBsY.jpg

ซอคเก้อร์ ซิตี้

    สนามที่หรูหราและสวยงามที่สุดบนทวีปแอฟริกา โดยสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด เพื่อใช้ในนัดเปิดสนามและชิงชนะเลิศของศึกเวิลด์ คัพ 2010 ออกแบบด้วยแรงจูงใจจากภาชนะแอฟริกันชื่อ ''คาลาบาช'' และยิ่งทวีความสวยงามมากขึ้นยามค่ำคืน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของโยฮันเนสเบิร์ก ห่างจากโซเวโต เมืองที่คลั่งไคล้เกมลูกหนังไม่ไกล

    ซอคเก้อร์ ซิตี้ สร้างบนพื้นที่เก่าของเอฟเอ็นบี สเตเดี้ยม ซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของประเทศ โดยเป็นสถานที่จัดชุมนุมเมื่ออดีตประนาธิบดี เนลสัน แมนเดล่า ได้รับอิสรภาพเมื่อปี 1990 และยังเคยจัดนัดฟุตบอลชิงชนะเลิศ แอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ 1996 ซึ่งแอฟริกาใต้ คว้าแชมป์ด้วยการเอาชนะตูนิเซีย 2-0

    เมื่อก่อสร้างเสร็จในช่วงปลายปี 2009 ซอคเก้อร์ ซิตี้ มีความจุเต็มพิกัดถึง 94,700 คน แต่สำหรับนัดชิงชนะเลิศ เวิลด์ คัพ ต้องลดปริมาณลงมาเล็กน้อย ตามกติกาของฟีฟ่า

เมือง โยฮันเนสเบิร์ก
เจ้าของ สภาเมืองโยฮันเนสเบิร์ก
ความจุ 88,460
     
โปรแกรม แข่งขันที่ซอคเก้อร์ ซิตี้
วันที่    คู่แข่งขัน
11 มิ.ย.    แอฟริกาใต้ - เม็กซิโก (เปิดสนาม)
14 มิ.ย.    ฮอลแลนด์ - เดนมาร์ก
17 มิ.ย.    อาร์เจนตินา - เกาหลีใต้
20 มิ.ย.    บราซิล - โกตอิวัวร์
23 มิ.ย.    กานา - เยอรมนี
27 มิ.ย.    รอบ 16 ทีม
2 ก.ค.    รอบก่อนรอง ชนะเลิศ
11 ก.ค.    รอบชิงชนะเลิศ


src=http://upload.mwake.com/images_xxx/6K/2clyZy6lZs.jpg

เดอร์บัน สเตเดี้ยม

       เดอร์บัน สเตเดี้ยม หรือในชื่ออย่างเป็นทางการว่า ‘โมเซส มาบิดา สเตเดี้ยม’ (Moses Mabhida Stadium) คือหนึ่งในสังเวียนจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ครั้งประวัติศาสตร์ของแดนกาฬทวีป

       เป็นหนึ่งในสนามกีฬาที่ถูกสร้างขึ้นใหม่จากพื้นที่เดิมของ ‘คิงส์ พาร์ค ซอคเก้อร์ สเตเดี้ยม’ (King’s Park Soccer Stadium) เพื่อรองรับทัวร์นาเมนต์ ‘เวิลด์ คัพ’ โดยเฉพาะ

       การออกแบบด้วยแรงบันดาลใจให้คล้ายคลึงกับธงชาติแอฟริกาใต้ ส่วนความโค้งมนของสนามเป็นเครื่องหมายบ่งบอกโดยนัยถึงความสามัคคีกลมเกลียว ของคนในชาติ พร้อมกับมีเสาโค้งทอดขวางราวกับหลังคาสนาม เหมือนไม่มีผิดกับสังเวียนแข้งชื่อก้องโลกอย่าง ‘เวมบลีย์’ เมกกะลูกหนังอันแสนภาคภูมิใจของอังกฤษ
ต่างกันเพียงแค่ของ เดอร์บัน สเตเดี้ยม ใช้โครง 2 เส้นลากมาบรรจบกันจากทิศใต้สู่ฝั่งเหนือครอบคลุมตัวสนามให้มีลักษณะเหมือน ลายธงชาติเวลามองจากด้านบนนั่นเอง
อีกทั้งยังเป็นเสมือนแลนด์มาร์กสำคัญที่ทางการแอฟริกาใต้ถึงกับยกเทียบชั้น ‘ซิดนีย์ โอเปรา เฮาส์’ (Sydney Opera House) มรดกโลกของออสเตรเลีย หรือชิงช้าสวรรค์ ‘ลอนดอน อาย’ (London Eye) ในอังกฤษ เลยทีเดียวเชียว!!!

       ภายใต้ความจุใหญ่โตมโหฬาร 70,000 ที่นั่ง เดอร์บัน สเตเดี้ยม ถูกสร้างให้พร้อมรองรับการใช้งานอเนกประสงค์ รวมถึงยังมีห้องสูทรับรอง 150 ห้อง ซึ่งมีความจุทั้งสิ้นถึง 7,500 ที่นั่ง พิเศษด้วยบริการเคเบิลคาร์เชื่อมข้ามฟากอัฒจันทร์ไปชมวิวสวยงามบนเสาโค้งที่ มีความสูงเหนือพื้นสนาม 106 เมตร
นอกจากนั้นแล้ว ที่นั่งแต่ละจุดบนอัฒจันทร์ยังมีพื้นที่กว้างใหญ่สะดวกสบาย พร้อมออกแบบให้ทอดสายตาชมเกมได้แบบไม่มีอุปสรรคใดๆ คอยขัดขวางทำเสียบรรยากาศ หรือถ้ากลัวแดดส่องบังทัศนวิสัยก็ไม่ต้องห่วง เพราะยังมีหลังคาขนาด 46,000 ตารางเมตร ทอดคลุมที่นั่งชมเกมถึง 88 เปอร์เซ็นต์

       ทั้งหมดนี้ จึงกล่าวได้ว่า นี่คือสนามแข่งขันสุดเพอร์เฟกต์ระดับ ‘เวิลด์คลาส’ ทั้งยังเป็นศูนย์บริการครบวงจร เปรียบเสมือนเพชรเม็ดงามในเขตกีฬาคิงส์ พาร์ค เนื่องจากมีพื้นที่ใช้สอยรองรับการแข่งกีฬาอื่นๆ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายทั้ง ภัตตาคารร้านค้า, ลานเด็กเล่น และทางเดินเชื่อมจากสนามสู่ชายหาด
ระหว่างการก่อสร้าง ได้มีการว่าจ้างแรงงานรวมทั้งสิ้นมากกว่า 13,000 อัตราเลยทีเดียว จนกระทั่งเสร็จสิ้นกระบวนความในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2009 และได้ฤกษ์ประเดิมใช้งานอีก 5 วันต่อมาในศึกพรีเมียร์ลีก แอฟริกาใต้ นัดที่อมาซูลู เอฟซี แพ้ มาริตซ์เบิร์ก ยูไนเต็ด 0-1

       ที่นี่ได้เป็นสังเวียนแข่งของทีมแกร่งทั้ง เยอรมัน, สเปน, ฮอลแลนด์ และที่สำคัญคือแมตช์หยุดโลกในรอบแบ่งกลุ่มระหว่าง โปรตุเกส กับ บราซิล ตลอดจนเกมสำคัญอีกนัดในรอบสอง และรอบตัดเชือก
เมื่อถึงคราวสิ้นสุดทัวร์นาเมนต์ เดอร์บัน สเตเดี้ยม จะทำการหดขนาดความจุเหลือแค่ 54,000 ที่นั่งตามการออกแบบให้เหมาะสมแก่การใช้งาน อาจจะใช้จัดเกมลูกหนังในกรณีพิเศษ หรือคอนเสิร์ตดนตรีเวทีใหญ่ก็ได้ ทว่ายังคงพร้อมที่จะขยายเป็น 80,000 ที่นั่งเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาในอนาคตอย่าง โอลิมปิก เกมส์ ด้วยเช่นกัน!!!

โปรแกรม แข่งขันที่เดอร์บัน สเตเดี้ยม
วันที่    คู่แข่งขัน    รอบ
13-06-10    เยอรมัน - ออสเตรเลีย    รอบแรก กลุ่ม ดี
16-06-10    สเปน - สวิตเซอร์แลนด์    รอบแรก กลุ่ม เอช
19-06-10    ฮอลแลนด์ - ญี่ปุ่น    รอบแรก กลุ่ม อี
22-06-10    ไนจีเรีย - เกาหลีใต้    รอบแรก กลุ่ม บี
25-06-10    โปรตุเกส - บราซิล    รอบแรก กลุ่ม จี
28-06-10    แชมป์กลุ่ม อี - รองแชมป์กลุ่ม เอฟ    รอบ 16 ทีม
07-07-10    ผู้ชนะเลิศ นัดที่ 59 - ผู้ชนะเลิศนัดที่ 60    รอบรองชนะเลิศ


src=http://upload.mwake.com/images_xxx/Qk/SuHHFbChnl.jpg
src=http://upload.mwake.com/images_xxx/Fd/lw3qNmBSRU.jpg

รอยัล บาโฟเคง สเตเดี้ยม

      รอยัล บาโฟเคง สเตเดี้ยม (Royal Bafokeng Stadium) คืออีกหนึ่งสังเวียนจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ ตั้งอยู่ในแถบ ‘โฟเคง’ (Phokeng) ชานเมืองรัสเทนเบิร์ก (Rustenberg) ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,153 เมตร ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ

      รอยัล บาโฟเคง ก็เหมือนสนามส่วนใหญ่ของประเทศ ที่ต้องมีการยกเครื่องบูรณะเล็กน้อยให้เพียบพร้อมแก่ชื่อชั้นฐานะแม่งาน ระดับโลก โดยค่อยๆ ดำเนินการตั้งแต่เมื่อเดือนตุลาคม 2007 และคาดว่าทุกอย่างจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนมิถุนายนนี้

      เริ่มด้วยความจุที่นั่ง ขยับขยายอัฒจันทร์ชั้นสองจากความจุพิกัดเดิม 38,000 ที่นั่ง กลายเป็น 42,000 ที่นั่ง ขณะที่อัฒจันทร์ฝั่งตะวันตกถูกปรับปรุงให้มีที่นั่งวีไอพี 500 ที่นั่ง พร้อมด้วยศูนย์บริการสื่อมวลชนให้ตรงตามมาตรฐานของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า)

      รวมถึงต่อเติมหลังคาเพิ่มในมูลค่าก่อสร้างสูงถึง 45 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1,575 ล้านบาท) เลยทีเดียว ทั้งยังทำการตกแต่งภายในสนามให้ดูเรียบร้อยสะอาดตามากขึ้น ส่วนเก้าอี้นั่งชมบนอัฒจันทร์นั้นอยู่ในสภาพใช้การดีอยู่แล้ว มีการรื้อถอนปรับเปลี่ยนแค่ 15 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

      ขณะเดียวกัน ประตูหมุนหน้าสนามก็ต้องถูกนำมาเพิ่มให้เพียงพอแก่จำนวนคนที่คาดว่าจะเข้ามา ชมเกม เมื่อถึงคราวแข่งขันจริง ส่วนอุปกรณ์เสริมต่างๆ ตามเงื่อนไขมีการต่อเติมไม่ให้ขาด ไม่ว่าจะเป็นไฟสปอตไลท์ในสนาม, เครื่องขยายเสียง และสกอร์บอร์ดอิเล็กทรอนิคส์

      นอกจากนั้น ในเดิมทียังมีกำหนดการจะสร้างศูนย์การค้าครบวงจร ‘บาโฟเคง พลาซ่า’ (Bafokeng Plaza) ขึ้นมาอีกด้วย ทว่าจากเงื่อนไขข้อตกลงกับทาง ฟีฟ่า และสภาเมือง แผนดังกล่าวก็ต้องล้มพับเก็บไป เพราะสนามยังคงถูกถือสิทธิครองครองภายใต้การดูแลของชุมชนท้องถิ่น ‘บาโฟเคง’ ที่ต้องการรักษาสภาพพื้นที่ให้คงเดิมมากที่สุด
ในส่วนของการใช้สอยที่ผ่านมานั้น รอยัล บาโฟเคง สเตเดี้ยม จัดเป็นสนามสารพัดประโยชน์ สามารถจัดแข่งทั้งรักบี้, ฟุตบอล และกรีฑา
เคยได้รับเกียรติให้เป็นสังเวียนแข่งทีมชาติมาแล้ว ในเกมรอบคัดเลือก ฟุตบอลโลก นัดที่แอฟริกาใต้ ชนะ บูร์กินาฟาโซ 2-1 เมื่อปี 2001
เป็นหนึ่งในสังเวียนประจำศึก ฟีฟ่า คอนเฟดเดอเรชั่นส์ คัพ 2009 ตามธรรมเนียมทัวร์นาเมนต์ชิมลางเตรียมความพร้อมก่อนฟุตบอลโลก ใช้แข่งขันทั้งหมด 3 นัดคือ รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มเอ นัดที่สเปน ถล่ม นิวซีแลนด์ 5-0 กับ แอฟริกาใต้ ชาติเจ้าภาพชนะทีมกีวี 2-0 และนัดชิงอันดับสามที่ทัพกระทิงดุเฉือน ‘บาฟาน่า บาฟาน่า’ 3-2 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ

      รวมถึงยังใช้จัดแข่งขันแมตช์ฟุตบอล พรีเมียร์ลีก แอฟริกาใต้ อยู่หลายครั้งหลายคราเช่นกัน ในฐานะสนามเหย้าของทีม แพลตทินั่ม สตาร์ส (Platinum Stars)
สำหรับศึกเวิลด์ คัพ บนแผ่นดินกาฬทวีปครั้งนี้ สนาม รอยัล บาโฟเคง จะใช้แข่ง 6 นัดแบ่งเป็นรอบแบ่งกลุ่ม 5 นัด และอีกหนึ่งนัดในรอบสอง
มองตามผิวเผินอาจคิดว่าสนามแห่งนี้ดูไม่สลักสำคัญ เพราะไม่มีเกมแข่งในรอบลึก แต่แฟนทีมขวัญใจมหาชนอย่าง อังกฤษ ย่อมไม่คิดแบบนั้นแน่นอน ในเมื่อ รอยัล บาโฟเคง สเตเดี้ยม ถือเป็นจุดเริ่มต้นสู่เส้นทางคว้าแชมป์โลกสมัย 2 ของพลพรรค ‘สิงโตคำราม’
     
โปรแกรม แข่งขันที่รอยัล บาโฟเคง สเตเดี้ยม
วันที่    คู่แข่งขัน    รอบ
12-06-10    อังกฤษ - สหรัฐอเมริกา    รอบแรก กลุ่มซี
15-06-10    นิวซีแลนด์ - สโลวาเกีย    รอบแรก กลุ่มเอฟ
19-06-10    กานา - ออสเตรเลีย    รอบแรก กลุ่มดี
22-06-10    เม็กซิโก - อุรุกวัย    รอบแรก กลุ่มเอ
24-06-10    เดนมาร์ก - ญี่ปุ่น    รอบแรก กลุ่มอี
26-06-10    แชมป์กลุ่ม ซี - รองแชมป์กลุ่ม ดี    รอบ 16 ทีม
   
 
src=http://upload.mwake.com/images_xxx/6J/zudoRfI1nq.jpg

กรีน พอยท์ สเตเดี้ยม

      กรีน พอยท์ สเตเดี้ยม หรือในชื่อใหม่อย่างเป็นทางการว่า เคปทาวน์ สเตเดี้ยม ตั้งอยู่ในกรุงเคป ทาวน์ เมืองใหญ่อันดับสาม และเป็นเมืองหลวงศูนย์กลางของฝ่ายนิติบัญญัติประเทศแอฟริกาใต้

      พื้นที่สนามแห่งนี้มีทำเลที่ตั้งอยู่ใน กรีน พอยท์ ที่ตั้งระหว่างภูเขา เทเบิ้ล เมาน์เท่น (Table Mountain) และชายฝั่ง ร็อบเบน ไอส์แลนด์ (Robben Island) สองจุดท่องเที่ยวสำคัญประจำเมือง ขนาบข้างทั้งสองฟากฝั่งด้วยเทือกเขาซิกแนล (Signal Hill) และมหาสมุทรแอตแลนติก เรียกได้ว่าทำเลที่ตั้งสวยงามเกินบรรยาย ทั้งยังอยู่ใกล้ใจกลางเมืองเคปทาวน์ และเส้นทางสู่เขตริมฝั่ง วิคตอเรีย แอนด์ อัลเฟร็ด วอเตอร์ฟรอนท์ (Victoria & Alfred Waterfront) อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวชอปปิ้งชื่อดัง

      กอปรกับรูปร่างภายนอกดูยิ่งใหญ่โอ่โถงสมกับที่สามารถจุคนดูได้ถึง 68,000 ที่นั่ง ทั้งยังเดินทางเข้าถึงสะดวกด้วยถนนสายตัดใหม่ แกรนเจอร์ เบย์ บูเลอวาร์ด (Granger Bay Boulevard) และรายล้อมอยู่ในตัวเมืองกินพื้นที่ 6 เฮกตาร์ หรือ 6,000 เอเคอร์ ด้วยเหตุนี้เอง มันจึงมีนิกเนมสุดหรูหราว่า แอฟริกัน เรอเนซองส์ สเตเดี้ยม (African Renaissance Stadium) สื่อความหมายถึงสนามแข่งขันของชาวแอฟริกันยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการอะไรประมาณ นั้นเลย... โดยก่อนหน้านี้ เคปทาวน์ สเตเดี้ยม เป็นที่รู้จักในชื่อสนามเก่าว่า กรีน พอยท์ สเตเดี้ยม ที่มีความจุน้อยนิดเพียงแค่ 18,000 ที่นั่ง จนกระทั่งเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน ทางสภาเมืองเคป ทาวน์ได้เสนอแนะให้ประชาชนช่วยกันตั้งชื่อใหม่โดยส่งมาทางอีเมล และถึงวันที่ 28 ตุลาคม ก็มีการเลือกให้ เคปทาวน์ สเตเดี้ยม เป็นชื่อสนามอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุผลที่ว่าจะช่วยโฆษณาประชาสัมพันธ์ชื่อของกรุงเคปทาวน์ไปในตัวด้วย ระหว่างจัดศึกเวิลด์คัพ

      อย่างไรเสีย ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังคงชอบเรียกชื่อ กรีน พอยท์ สเตเดี้ยม มากกว่าอยู่ดี สำหรับการบูรณะก่อสร้างสนามใหม่อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ได้เริ่มต้นดำเนินการตอกเสาเอก เมื่อเดือนมีนาคม 2007 และเสร็จสิ้นด้วยระยะเวลาแค่ 33 เดือน ภายใต้งบประมาณมูลค่ามหาศาล 600 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 21,000 ล้านบาท) จากการดำเนินงานร่วมกันของ 2 บริษัทผู้รับเหมารายใหญ่อย่าง “เมอร์เรย์ แอนด์ โรเบิร์ตส์” (Murray & Roberts) และ “ดับเบิ้ลยูบีเอชโอ” (WBHO) ส่วนสถาปัตยกรรมภายในได้รับการรังสรรค์ด้วยความร่วมมือระหว่าง “จีเอ็มพี อาร์คิเท็คส์” (GMP Architects) ค่ายยักษ์ใหญ่จากเยอรมนี กับอีก 2 บริษัทสถาปนิคท้องถิ่น “หลุยส์ แครอล” (Louis Karol) และ “แอสโซซิเอตส์ แอนด์ พอยท์ อาร์คิเตคส์” (Associates and Points Architects) โครงสร้างในตัวสนามมีน้ำหนักรวมถึง 4,700 ตัน และใช้กระจก 9,000 แผ่นครอบคลุมพื้นที่หลังคาซึ่งกว้างกว่า 37,00 ตารางเมตร อันประกอบไปด้วยห้องใช้สอยทั้งสิ้น 750 ห้อง และประตูอีกทั้งหมด 3,000 บาน มีการว่าจ้างคนงานทั้งหมด 2,500 ชีวิตระหว่างการก่อสร้าง รวมถึงช่างฝืมือคอยตบแต่งอีก 1,200 ราย

      ท้ายที่สุด สนามอันโอ่โถ่งแห่งนี้ก็ถูกส่งมอบกุญแจอย่างเป็นทางการให้กับสภาเมือง เคปทาวน์ ในวันที่ 14 ธันวาคม 2009 ภายใต้ปะรำพิธีต่อหน้าแขกรับเชิญ 200 ชีวิต ตลอดจนตัวแทนสื่อมวลชนจากทั่วทุกมุมโลก อันถือเป็นการเปิดตัวสนามอย่างเป็นทางการว่าพร้อมแล้วกับการจัดแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2010 ทั้งหมดแปดนัด ในส่วนของการใช้สอยหลังจบศึกฟุตบอลโลก 2010 มีการยืนยันเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าจะยังคงเปิดให้บริการเป็นสนามเอนก ประสงค์     

โปรแกรม แข่งขันที่ กรีน พอยท์ สเตเดี้ยม
วันที่    คู่แข่งขัน    รอบ
11-06-10    อุรกวัย - ฝรั่งเศส    รอบแรก กลุ่มเอ
14-06-10    อิตาลี - ารากวัย    รอบแรก กลุ่มเอฟ
18-06-10    อังกฤษ - แอลจีเรีย    รอบแรก กลุ่มซี
21-06-10    โปรตุเกส - เกาหลีเหนือ    รอบแรก กลุ่มจี
24-06-10    แคเมอรูน - ฮอลแลนด์    รอบแรก กลุ่มอี
29-06-10    แชมป์กลุ่มเอช - รองแชมป์กลุ่มจี    รอบ 16 ทีม
03-07-10    ผู้ชนะเลิศ นัดที่ 52 - ผู้ชนะเลิศนัดที่ 51    รอบก่อนรอง ชนะเลิศ
06-07-10    ผู้ชนะเลิศนัดที่ 58 - ผู้ชนะเลิศนัดที่ 57    รอบรองชนะเลิศ


src=http://upload.mwake.com/images_xxx/nv/2iw3AtxWSX.jpg

เอลลิส พาร์ค สเตเดี้ยม

    สนามเก่าแก่เต็มไปด้วยมนต์ขลัง ตั้งอยู่ในโยฮันเนสเบิร์ก เคยเป็นเจ้าภาพศึกรักบี้ชิงแชมป์โลก 1995 รวมทั้งหนล่าสุดคือนัดชิงชนะเลิศ คอนเฟดเดอเรชั่นส์ คัพ ระหว่างบราซิลกับสหรัฐอเมริกา โดยฟุตบอลโลกครั้งนี้ได้รับการปรับปรุง ด้วยการต่อเติมอัฒจันทร์ทางทิศเหนือ เพิ่มความจุจาก 57,000 เป็น 62,000 คน

    เอลลิส พาร์ค สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1928 เพื่อใช้ในกีฬารักบี้ ก่อนทุบทิ้งและสร้างใหม่อีกครั้งในปี 1982 ตั้งชื่อตาม เจดี เอลลิส นายกเทศมนตรีของโยฮันเนสเบิร์กในยุคนั้น ปัจจุบันพรั่งพร้อมด้วยสาธารณูปโภคสำหรับอีเวนต์ใหญ่ระดับโลก และเป็นบ้านของ ออร์ลันโด ไพเรตส์ เอฟซี สโมสรชื่อดังแห่งแอฟริกาใต้

    เมื่อก่อสร้างเสร็จในช่วงปลายปี 2009 ซอคเก้อร์ ซิตี้ มีความจุเต็มพิกัดถึง 94,700 คน แต่สำหรับนัดชิงชนะเลิศ เวิลด์ คัพ ต้องลดปริมาณลงมาเล็กน้อย ตามกติกาของฟีฟ่า

เมือง โยฮันเนสเบิร์ก
เจ้าของ สภาเมืองโยฮันเนสเบิร์ก
ความจุ 61,639
     
โปรแกรมแข่งขันที่เอลลิส พาร์ค สเตเดี้ยม
วันที่    คู่แข่งขัน
12 มิ.ย.    อาร์เจนตินา - ไนจีเรีย
15 มิ.ย.    บราซิล - เกาหลีเหนือ
18 มิ.ย.    สโลวีเนีย - สหรัฐฯ
21 มิ.ย.    สเปน - ฮอนดูรัส
24 มิ.ย.    สโลวาเกีย - อิตาลี
28 มิ.ย.    รอบ 16 ทีม
3 ก.ค.    รอบก่อนรอง ชนะเลิศ


src=http://upload.mwake.com/images_xxx/kM/AqOehPvaz2.jpg

ลอฟตัส เวิร์สเฟลด์ สเตเดี้ยม

        สนามกีฬาอันเก่าแก่ที่สุดของแอฟริกาใต้ ตั้งอยู่ในเขตเมืองชวาเน่/พริทอเรีย ใช้จัดกีฬาใหญ่มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1903 โดยอดีตรองรับแฟนได้เพียง 2,000 คน จนปรับปรุงครั้งใหญ่ในปี 1948 เพื่อใช้แข่งรักบี้และฟุตบอล รวมทั้งศึกรักบี้ชิงแชมป์โลก 1995 และฟุตบอลแอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ 1996 ปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของทีมฟุตบอล มาเมโลดี้ ซันดาวส์ และซูเปอร์สปอร์ต ยูไนเต็ด

เมือง ชวาเน่/พริทอเรีย
เจ้าของ บลู บุลส์ รักบี้ ยูเนี่ยน
ความจุ 49,365
     
โปรแกรมแข่งขันที่ลอฟตัส เวิร์สเฟลด์ สเตเดี้ยม
วันที่    คู่แข่งขัน
13 มิ.ย.    เซอร์เบีย - กานา
16 มิ.ย.    แอฟริกาใต้ - อุรุกวัย
19 มิ.ย.    แคเมอรูน - เดนมาร์ก
23 มิ.ย.    สหรัฐฯ - แอลจีเรีย
25 มิ.ย.    ชิลี - สเปน
29 มิ.ย.    รอบ 16 ทีม


src=http://upload.mwake.com/images_xxx/N9/SNNf21PSvJ.jpg

ฟรี สเตท สเตเดี้ยม

    ปรับปรุงใหม่ก่อนศึกคอนเฟดเดอเรชั่นส์ คัพ 2009 และเป็นสังเวียนเกมตัดเชือกอันเร้าใจระหว่างสเปนกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งฝ่ายหลังปราบแชมป์ยุโรปเข้าสู่นัดชิงชนะเลิศได้สำเร็จ

   ฟรี สเตท สเตเดี้ยม ผ่านการปรับปรุงเพิ่มความจุจาก 38,000 เป็น 45,000 คน และยังมีแฟนบอลที่คลั่งไคล้ในเกมลูกหนังเป็นแรงสนับสนุนชั้นดี เช่นเดียวกับความสำเร็จของบลูมฟอนเทน เซลติก สโมสรท้องถิ่น

เมือง มังงางุง/บลูมฟอนเทน
เจ้าของ เทศบาลท้องถิ่น มังงางุง
ความจุ 45,058
     
โปรแกรมแข่งขันที่ฟรี สเตท สเตเดี้ยม
วันที่    คู่แข่งขัน
14 มิ.ย.    ญี่ปุ่น - แคเมอรูน
17 มิ.ย.    กรีซ - ไนจีเรีย
20 มิ.ย.    สโลวาเกีย - ปารากวัย
22 มิ.ย.    ฝรั่งเศส - แอฟริกาใต้
25 มิ.ย.    สวิตเซอร์ แลนด์ - ฮอนดูรัส
27 มิ.ย.    รอบ 16 ทีม


src=http://upload.mwake.com/images_xxx/ti/vIDwC5cHy3.jpg

เนลสัน แมนเดล่า เบย์ สเตเดี้ยม

   สนามนี้สร้างขึ้นใหม่สำหรับศึกเวิลด์ คัพโดยเฉพาะ แล้วเสร็จก่อนทัวร์นาเมนต์ถึงหนึ่งปี โดยจะใช้เป็นสังเวียนนัดชิงอันดับสาม และรอบก่อนรองชนะเลิศ รวมทั้งหมด 8 นัด ตั้งอยู่ใกล้กับทะเลสาบนอร์ท เอนด์ เลค อันสวยงาม
   ก่อนการสร้างสนามอเนกประสงค์แห่งนี้ เกมฟุตบอลระดับอินเตอร์ทั้งหมดต้องไปเตะกันที่อีพีอาร์ยู สเตเดี้ยม แต่เมื่อแล้วเสร็จตั้งแต่ก่อนคอนเฟดเดอเรชั่นส์ คัพ ปีที่แล้ว สนามเนลสัน แมนเดล่า เบย์ ก็ได้รับหน้าเสื่อเป็นเจ้าภาพเกมใหญ่ทั้งรักบี้และฟุตบอล รวมทั้งดาร์บี้แมตช์ของประเทศระหว่าง ออร์ลันโด ไพเรตส์ กับไกเซอร์ ชีฟส์

เมือง เนลสัน แมนเดล่า เบย์/พอร์ท เอลิซาเบธ
เจ้าของ เทศบาลท้องถิ่น เนลสัน แมนเดล่า เบย์
ความจุ 46,082
     
โปรแกรมแข่งขันที่เนลสัน แมนเดล่า เบย์ สเตเดี้ยม
วันที่    คู่แข่งขัน
12 มิ.ย.    เกาหลีใต้ - กรีซ
15 มิ.ย.    โกตดิวัวร์ - โปรตุเกส
18 มิ.ย.    เยอรมนี - เซอร์เบีย
21 มิ.ย.     ชิลี - สวิตเซอร์แลนด์
23 มิ.ย.    สโลวีเนีย - อังกฤษ
26 มิ.ย.    รอบ 16 ทีม
2 ก.ค.    รอบก่อนรอง ชนะเลิศ
10 ก.ค.    ชิงอันดับ 3


src=http://upload.mwake.com/images_xxx/zQ/KdfmdDAeDN.jpg

บอมเบล่า สเตเดี้ยม

   ตั้งอยู่ในเมืองเนลสปริท จุได้เกือบ 5 หมื่นชีวิต ห่างจากใจกลางเมือง 7 กม. และติดกับสถานที่มากมาย เปิดโอกาสให้แฟนบอลได้พักผ่อนหย่อนใจได้ในวันที่ไม่มีแมตช์แข่งขัน จุดเด่นคือเสาค้ำรูปร่างเหมือนยีราฟที่มองเห็นแต่ไกล

   บอมเบล่า คือส่วนเติมเต็มสำหรับวงการลูกหนังในเนลสปริท และเป็นมรดกให้แก่ชาวเมืองในปูมาลังก้า โดยก่อนหน้านี้ เนลสปริทไม่เคยมีสนามบอลระดับแถวหน้าไว้รองรับเกมระดับอินเตอร์มาก่อน

เมือง เนลสปริท
เจ้าของ เทศบาลท้องถิ่นเนลสปริท
ความจุ 43,589
     
โปรแกรมแข่งขันที่บอมเบล่า สเตเดี้ยม
วันที่    คู่แข่งขัน
16 มิ.ย.    ฮอนดูรัส - ชิลี
20 มิ.ย.    อิตาลี - นิวซีแลนด์
23 มิ.ย.    ออสเตรเลีย - เซอร์เบีย
25 มิ.ย.    เกาหลีเหนือ - โกตดิวัวร์


src=http://upload.mwake.com/images_xxx/Vt/VAPUr6XRLR.jpg

ปีเตอร์ โมคาบา สเตเดี้ยม

   ตั้งขึ้นเป็นเกียรติแก่ผู้นำการต่อต้านการเหยียดสีผิวของแอฟริกาใต้ใน อดีต ซึ่งเกิดที่เมืองโปล็อคเวเน่ และมีชื่อเสียงด้านการต่อสู้เพื่อคนท้องถิ่นและความเป็นผู้นำอย่างแท้จริง

    การออกแบบส่วนใหญ่เป็นคอนกรีตทรงคล้ายต้นไม้ มีโครงสร้างทำจากเหล็กค้ำยันส่วนหลังคา รวมทั้งส่วนงวงที่รองรับหลังคา ตั้งอยู่ติดกับสนามเก่าชื่อเดียวกัน อยู่ห่างจากตัวเมืองราว 5 กม.

เมือง โปล็อกวาเน่
เจ้าของ เทศบาลท้องถิ่นโปล็อกวาเน่
ความจุ 45,264
     
โปรแกรมแข่งขันที่ปีเตอร์ โมคาบา สเตเดี้ยม
วันที่    คู่แข่งขัน
13 มิ.ย.    แอลจีเรีย - สโลวีเนีย
17 มิ.ย.    ฝรั่งเศส - เม็กซิโก
22 มิ.ย.    กรีซ - อาร์เจนตินา
24 มิ.ย.    ปารากวัย - นิวซีแลนด์



                 






  onion14 onion34




src=http://upload.mwake.com/images_xxx/mb/HYLeXShaKM.jpg
                                      
Credit:
http://www.navyrayong.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์