ย้อนตำนานอินทรีเหล็ก ร่วมฉลอง100 ปีของทีมชาติเยอรมัน ( ตอนที่1 ปฐมบทแห่งตำนาน )

ย้อนตำนานอินทรีเหล็ก ร่วมฉลอง100 ปีของทีมชาติเยอรมัน ( ตอนที่1 ปฐมบทแห่งตำนาน )





เนื่องจากในปี 2008 นี้เป็นปีที่ครบรอบ 100 ปี 
ของทีมชาติเยอรมัน นับตั้งแต่เกมการแข่งขันนัดแรก
กับทีมชาติสวิสเซอร์แลนด์ ที่เมืองบาเซิ่ล เมื่อวันที่ 5 เมษายน 1908


[ ทีมชาติเยอรมันในนัดแรกกับทีมชาติสวิสเซอร์แลนด์ ที่เมืองบาเซิ่ล 1908 ]


ทีมชาติเยอรมัน มีสถิติที่น่าทึ่งและยิ่งใหญ่ 
สามารถเข้ารอบฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้ทุกครั้ง 
ที่เข้าร่วมการคัดเลือกทั้งหมด 16 ครั้ง (ยกเว้นที่ไม่เข้าร่วมคัดเลือกด้วยคือ 
ค.ศ.1930 และค.ศ. 1950) 
สามารถคว้าแชมป์โลกมาในปี 1954, 1974, 1990 
ตลอดจนเป็นแชมป์ฟุตบอลแห่งชาติยุโรปในปี 1972, 1980 และ 1996...




มีนักฟุตบอลที่เป็นตำนานของวงการฟุตบอลมากมาย เช่น 
ฟริซต์ วอลเตอร์ กับตันทีมที่นำทีมชาติเยอรมันตะวันตก 
เป็นแชมป์ฟุตบอลโลกครั้งแรกที่สวิสเซอร์แลนด์ ในปี 1954





และ ฟร๊านซ์ เบ็คเค็นเบาเออร์ ที่สามารถนำทีม
เป็นแชมป์ฟุตบอลโลกในปี 1974 ในฐานะนักฟุตบอล
ก่อนที่ในการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 1990 ที่อิตาลี่ 
เขา ก็ สามารถนำทีมชาติเยอรมันคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก
มาครองได้สำเร็จอีกครั้ง 
ในการทำหน้าที่ในฐานะี่ทีมเชพ



[ ฟริซต์ วอลเตอร,ฟร๊านซ์ เบ็คเค็นเบาเออร์ และอูเว่ ซีเลอร์ ]

หรือจะเป็นนักฟุตบอลที่เป็นตำนานทำสถิติติดทีมชาติสูงสุดถึง 150 นัด 
อย่างโลธ่าร์ มัทเธอุส 
และยอดดาวยิงตลอดกาลอย่าง เดอะ บ็อมเบอร์ แกร์ด มุลเลอร์
ดาวยิงสูงสุด ที่สามารถทำประตูได้ถึง 68 ประตู 
ในการลงเล่นให้ทีมชาติเพียงแค่ 62 นัด 
และทําสถิติในการทำประตูสูงสุด 
ในการแข่งขันฟุตบอลโลกในรอบสุดท้าย 
โดยเขาสามารถยิงไปได้ทั้งสิ้น 14 ประตู 
จาการลงเล่นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในปี 1970 
จนถึงปี 1974 


[ สุดยอดนักฟุตบอลของเยอรมัน ]

รวมไปถึง อูเว่ ซีเลอร์ 
ผู้ผ่านการลงเล่นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายถึง 4 สมัย 
ตั้งแต่ปี1958 ทีสวีเดน 
จนถึงฟุตบอลโลกที่ประเทศเม็กซิโก ในปี1970


[ โลธ่าร์ มัทเธอุส นักเตะที่ทำสถิติติดทีมชาติสูงที่สุดของเยอรมัน ]


จาก 100 ปีที่ผ่านมาของทีมชาติเยอรมันนั้น
อินทรีเหล็กมีเทรนเนอร์คุมทีมแค่ 10 คน 
โดย เซปป์ แฮร์แบร์เกอร์ รับหน้าที่ยาวนานที่สุดเกือบ 28 ปี 
พาทีมชาติเดเอฟเบ 
กลายเป็น “ฮีโร่แห่งกรุงเบิร์น” คว้าแชมป์โลก 1954 เป็นหนแรก



[ บุนเดสเทรนเนอร์ และทีมเชฟของเยอรมัน ]

เฮลมุทเชิน ทำหน้าที่ 14 ปี จากนั้นช่วงเวลาในการนั่งในตำแหน่งลดลงไป 
จุ๊ปป์ แดร์วัลล์ และฟร้านซ์ แบ็คเคนเบาเออร์ คนละ 6 ปี 
หรือ แบร์ตี้ โฟ้กท์ส 8 ปี, รูดี้ โฟเลอร์ 4 ปี, 
เอริค ริบเบ็ค กับเจอร์เก้น คลิ้นส์มันน์ 2 ปี 
โดยล่าสุด โจอัคคิม เลิฟ เป็นบุนเดสเทรนเนอร์คนล่าสุด
โดยเขาเข้ารับตำแหน่งต่อมาจากคลิ้นส์มันน์ 
หลังจากจบฟุตบอลโลกปี 2006 เป็นต้นมา...



[ ทีมเยอรมันลงดวลแข้งกับทีมอิตาลีในปีค.ศ.1924 ]


และต่อไปนี้ี่คือสมุดภาพ ที่ จะย้อนรอย กลับไปยังจุดเริ่มต้น 
ของตำนานความสำเร็จและล้มเหลว 
ที่ผ่านมาในรอบ 100 ปี ของทีมชาติเยอรมัน 
จากอดีต จวบจนถึงปัจจุบัน.....

........................................................................



1934 ฟุตบอลโลกที่ประเทศอิตาลี่ (อินทรีเหล็กกับครั้งแรกในฟุตบอลโลก ) 

ทีมชาติเยอรมัน ไม่ได้เข้าร่วมในการแข่งขันฟุตบอลโลกในครั้งแรก 
ที่จัดขึ้นที่ประเทศอุรุกวัย เมื่อปี 1930 
เนื่องจากเหตุผลหลายประการเช่น
การใช้เวลาเดินทางที่ยาวนานหลายสัปดาห์ในเรือโดยสาร 
กว่าที่จะไปถึงทวีปอเมริกาใต้ และ
ความไม่แน่ใจในความสำเร็จ 
ของการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกของทางฟีฟ่า


[ โปรแกรมโปรโมตการแข่งขันของทีมชาติเยอรมัน ในยุคที่พรรคนาซีเรืองอำนาจ ]


แต่เมื่อการแข่งขันได้กลับมาจัดขึ้นในผืนแผ่นดินยุโรป 
ที่ประเทศอิตาลี่ ในปี 1934 
คราวนี้สมาพันธ์ฟุตบอลของเยอรมัน 
ก็ได้ตกลงใจที่จะส่งทีมชาติเข้าร่วม
ในมหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรก 
ทีมเยอรมันมี อ็อตโต แน็ซ ทำหน้าที่บุนเดสเทรนเนอร์เป็นคนแรก 
ควบคุมทีมมาแข่งในดิินแดนแห่งรองเท้าบู๊ซ ในหนนี้


[ อ็อตโต แน็ซ บุนเดสเทรนเนอร์คนแรกของทีมเยอรมัน ]



โดยทีมอินทรีเหล็กได้ลงเล่นเป็นคู่เปิดสนามของเวิล์ดคัพ 34 
พบกับทีมชาติเบลเยี่ยมในวันที่ 27 พฤษภาคม 
ที่สนาม จิโอวานนี่เบอร์ต้า ของเมืองฟลอเรนซ์ 
ซึ่งทีมอินทรีเหล็กได้แสดงศักยภาพ
ที่น่าเกรงขามให้แฟนฟุตบอลของอิตาลี่ได้ชม 
โดยทำการถล่มทีมเบลเยี่ยม 
ที่เคยแข่งฟุตบอลโลกหนแรกที่อุรุกวัยมาแล้ว 
ถึง 5 ประตูต่อ 2 เข้ารอบต่อไปได้อย่างสวยงาม


[ คูโซล่าร์ , เซลล์ปานส์ และทีบูสกี้ 3 ประสานอินทรีเหล็ก ]


ในรอบควอเตอร์ไฟนัล ที่แข่งกันที่สนามซานซิโร่ ของเมืองมิลาน 
ทีมเยอรมัน ต้องพบกับ ยอดทีมจากสแกนดิเนเวีย 
อย่างทีมสวีเดน ที่ในการแข่งขันรอบแรก 
สามารถพลิกล็อคโค่นรองแชมป์เก่าอย่างทีมอาร์เจนติน่า 
มาได้อย่างสุดมัน 3 ประตูต่อ 2 
แต่ปาฎิหารย์ของทีมจากแดนไวกิ้ง ก็ถูกหยุดอยู่ที่รอบนี้


[ ทีมชาติเยอรมันชุดที่ไปโดนทีมชาติอังกฤษถล่ม 3-0 ที่ไวท์ฮาร์ท เลน ]


เมื่อโดนทีเด็ดของ คาร์ล ฮ็อซมันส์ 
ผู้เล่นจากทีม วีเอฟแอล เบอร์ลัทล์ ทำคนเดียวสองประตู
ในนาทีที่ 60 และ 63 
ก่อนที่ทีมอินทรีเหล็กจะเอาชนะทีมไวกิ้งไปด้วยสกอร์ 2-1
โผนทะยานเข้าไปสู่รอบตัดเชือกที่โรม ก่อนใคร 
โดยรอที่จะพบกับผู้ชนะของทีมสวิสเซอร์แลนด์
ที่จะแข่งกับทีมเช็คโกสโลวาเกีย
และในที่สุดในรอบรองชนะเลิศ ที่กรุงโรม 
ทีมอินทรีเหล็กก็ลงสนามพบกับทีมเช็คฯ 
ที่พลิกกลับมาเอาชนะสวิสเซอร์แลนด์ 
ได้อย่างสุดตื่นเต้น 3 ประตูต่อ 2 
ด้วยประตูชัยในนาทีที่ 82 
ของ โอลด์ดริจ เน็จเร่ห์ 
ยอดดาวซัลโวของทีมเช็็คฯ


[ ฟริซต์ เซลล์ปานส์ กับตันทีมเยอรมันจับมือกับ พลานิ๊กก้าผู้รักษาประตูกับตันทีมเช็็คฯ ]


เมื่อการแข่งขันเริ่มต้นขึ้น 
ทั้งสองทีมต่างผลัดกันรุกและรับอย่างตื่นเต้น 
จนเมื่อเวลาผ่านมาถึงนาทีที่ 19 ของการแข่งขัน 
กองหลังของทีมเยอรมันก็พลาดเป็นครั้งแรกของเกมส์ 
และผลที่ได้รับก็คือ
การเสียประตูของทีมโดยการยิงของโอลด์ดริจ เน็จเร่ห์ 
ดาวยิงประจำทีมเช็คฯนั่นเอง
หลังจากเสียประตูไปทีมอินทรีเหล็กก็เปิดเกมส์บุกแหลก
เพื่อตามเอาประตูที่เสียไปคืนมา
และแล้วเมื่อเข็มของนาฬิกาสนามผ่านไปจนถึงนาทีที่ 62 
รูดอร์ฟ โนอักซ์ก็ทำประตูให้กับเยอรมันตีเสมอได้สำเร็จ


[ เกมรอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลก 1934 เยอรมันปะทะเช็คโกสโลวาเกีย ]


ต่อจากนั้นทีมอินทรีเหล็กก็ได้ใจ 
ดาหน้าเปิดเกมส์บุกหวังที่จะถล่มทีมเช็คฯให้แหลกคามือ
และผลของการเล่นเกมส์รุกโดยไม่สนใจหลังบ้าน 
ทีมเช็คฯจึงอาศียจังหวะโต้กลับ
ทำประตูนำไปอีกโดยเน็จเร่ห์ คนเดิมในนาทีที่ 71 
เมื่อโดนนำไปอีกครั้งเยอรมันก็เหมือนโดนสะกดให้มึนไปทั้งทีม



[ พอล ไซร์ลินส์กี้ , ฟริซต์ เซลล์ปานส์ และ วิลลี่ บุสต์ ]


และในนาทีที่ 80 โอลด์ดริจ เน็จเร่ห์ 
ก็สอดขึ้นมายิงประตูปิดท้ายเป็นแฮทริก
ทำให้เช็คโกสโลวาเกีย 
สามารถเอาชนะทีมเยอรมันไปได้ 3-1 
ผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศกับทีมอิตาลี่ชาติเจ้าภาพต่อไป 
ปล่อยให้ทีมอินทรีเหล็กใจสลายต้องไปเล่นเกมส์ชิงที่ 3 
กับทีมออสเตรียที่พ่ายให้กับอิตาลี่มา 1 ประตูต่อ 0


[ พลานิ๊กก้า( เช็คฯ ) , คอมบิ ( อิตาลี่ ) และ ฟริซต์ เซลล์ปานส์ ( เยอรมัน ) ]


ในนัดชิงที่ 3 ทีมเยอรมันก็ไม่ยอมแพ้ต่อทีมบ้านพี่เมืองน้อง 
อินทรีเหล็กสามารถคว้าตำแหน่งที่ 3
มาครองได้สำเร็จโดยการเอาชนะออสเตรียไปได้ 3-2 
ที่สนามจิออจิโอ อัสคาเรลลี่ในเมืองเนเปิ้ล
ถือเป็นการเปิดหน้าความสำเร็จของทีมอินทรีเหล็ก 
ในการแข่งขันในทัวนาเมนท์ระดับชาติ ได้อย่างสวยงาม...

........................................................................




1938 ฟุตบอลโลกที่ประเทศฝรั่งเศส ( เวิล์ดคัพกลางไฟแห่งสงคราม ) 

หลังจากความล้มเหลวของทีมชาติเยอรมัน 
ในการแข่งขันฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิคที่เบอร์ลินปี 1936
ที่ไม่สามารถที่จะคว้าเหรียญทองมาครองได้ 
โดยลูกทีมของอ็อตโต แน็ซ พ่ายให้กับม้านอกสายตา
อย่างทีมจากนอร์เวย์ ไป 2-0 
ต่อหน้าต่อตาของอด็อฟ ฮิตเล่อร์ ที่เข้ามาชมเกมอยู่ด้วย
ที่โอลิมปิค สตาดิโอน กรุงเบอร์ลิน

<
[ อ็อตโต แน็ซ และผู้ช่วยมือขวา เซปป์ แฮร์แบร์เกอร์ ]


ทำให้อ็อตโต แน็ซ ต้องยุติเส้นทาง
ของการเป็นบุนเดสเทรนเนอร์ของทีมเยอรมันไปในปี 1937
และได้เซปป์ แฮร์ืแบร์เกอร์อดีตผู้ช่วยมือขวาของเขา
มาเป็นกุนซือคนใหม่ของทีมเยอรมัน
เตรียมความพร้อมที่จะเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 1938 
ที่ฝรั่งเศสจะเป็นเจ้าภาพ
โดยการเข้ามาเปลี่ยนแปลงของแฮร์ืแบร์เกอร์ 
ผลงานของทีมเยอรมันดูจะกระเตื้องขึ้นมาอย่างทันตา
จากฟอร์มอันแข็งแกร่งในการปูพรมถล่มทีมเดนมาร์กไป 8 ประตูต่อ 0 
ในการอุ่นแข้งก่อนฟุตบอลโลกจะเริ่มต้นขึ้น 
ได้สร้างขวัญและกำลังใจให้กับทีมอินทรีเหล็กเป็นอย่างยิ่ง



[ วันเดอร์ทีม ทีมชาติออสเตรียสุดยอดทีมแห่งยุค 30 ]


และผลจากเกมการเมืองที่อด็อฟ ฮิตเล่อร์ 
ได้ทำการผนวกประเทศออสเตรียให้กลับเข้ามาเป็น 
ของเยอรมันในเดือนมีนาคมปี1937 
ทำให้ เดอะ วันเดอร์ทีม ทีมชาติออสเตรีย
ที่ถือกันว่าเป็นสุดยอดทีมแห่งยุคนั้น ต้องถึงแก่กาลยุติลงไป 
เพราะนักเตะที่เคยร่วมอยู่ในทีมออสเตรียชุดนี้5-6 คน 
ได้โอนย้ายเข้ามาร่วมกับทีมชาติเยอรมันอย่างหน้าตาเฉย 
ตามนโยบายแห่งอาณาจักร ไรซ์ที่ 3 ในเวลานั้น 
ทำให้ทีมเยอรมันมีความแข็งแกร่งเพิ่มมากยิ่งขึ้นเป็นเท่าตัว...


[ นักฟุตบอลทีมเยอรมันทำความเคารพแบบนาซีก่อนการเตะนัดเปิดสนามกับสวิสเซอร์แลนด์ ]


เยอรมันได้เตะกับทีมสวิสเซอร์แลนด์เป็นคู่เปิดสนามของฟุตบอลโลก 1938 
ที่สนามปาร์ค เดอ แปรงค์ ในกรุงปารีส 
เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ท่ามกลางคนดู 27,000คน 
แต่ทั้งสองทีมเล่นกันแบบระวังตัวกันจนเกินไป 
เอาแต่ระมัดระวัง ทำให้เกมในช่วงแรกดูเนือยๆ
จนกระทั่ง จุ๊บป์ เกาเชลล์ ศูนย์หน้าของทีมเยอรมัน 
ได้จังหวะซัดลูกผ่านมือของวิลลี่ ฮูเบอร์
ผู้รักษาประตูของทีมสวิสฯเข้าไปได้ก่อนในนาทีที่ 29 ของการแข่งขัน


[ สองกับตันทีมจับมือกันก่อนเตะในนัดเปิดสนามฟุตบอลโลก 1938 ]



แต่ก่อนที่จะจบครึ่งเวลาแรกเพียง 2 นาที 
อังเดร อาเบ็กเกรน กองหลังของทีมสวิสฯ
ก็ดอดขึ้นมาทำประตูตีเสมอได้ 
และครึ่งเวลาหลังทั้งสองทีมก็ไม่สามารถที่จะทำประตูเพิ่มได้อีก
ทำให้เสมอกันไป 1-1 
ต้องไปเตะกันใหม่ในนัดรีเพลย์อีก 5 วันถัดมา...


การแข่งขันในนัดรีเพลย์ 
มีขึ้นในวันที่ 9 มิถุนายน ที่สนามปาร์ค เดอ แปรงค์ เช่นเดิม
ท่ามกลางสักขีพยานชาวเมืองปารีส 22,000 คน 
เกมเริ่มต้นขึ้นด้วยความตื่นเต้น 
ผิดจากเกมในนัดเปิดสนามอย่างสิ้นเชิง 
เยอรมันมาแนวใหม่
เปิดเกมบุกถล่มใส่สวิสเซอร์แลนด์แบบไม่ให้ตั้งตัว 
ตั้งแต่เสียงนกหวีดจากกรรมการเอ็กลินด์ชาวสวีเดนดังขึ้น 
และเพียงแค่นาทีที่ 8 เท่านั้นเยอรมันก็ขึ้นนำสวิสฯไปก่อน
จากการทำประตูของวิลเฮมส์ ฮานนิมันน์ 
อดีตนักเตะของทีมชาติออสเตรีย 
และดูราวกับว่าประตูสู่รอบต่อไป 
ของทีมอินทรีเหล็กจะเปิดกว้างยิ่งขึ้นอีก
เมื่อเออเนส โล็ทเชอร์ กองหลังของสวิสเซอร์แลนด์
สกัดบอลพลาดเข้าประตูตัวเองในนาทีที่ 22 


[ รูดอลฟ์ เราวท์ ผู้รักษาประตูของเยอรมันระวังการบุกจากกองหน้าของสวิสฯ ]


แต่ก่อนที่จะจบครึ่งแรก 
ยูจีน วอลลาสเช็็ค ก็ยิงประตูตีตื้นให้สวิสฯตามมาเป็น 1-2 ในนาทีที่42
ครึ่งหลังเริ่มขึ้นมากลับเป็นทีมสวิสฯ ที่เรื่มหันมาชวนเยอรมันมาเล่นเกมเปิด 
ผลัดกันรุกและรับอย่างน่าตื่นเต้น 
เยอรมันเกือบที่จะทำประตูหนีห่างออกไปได้อีกหลายครั้งหลายหน 
แต่กองหน้ากับยิงพลาดกันไปหมด 
เกมดำเนินมาถึงนาทีที่ 64 ความพยายามของทีมสวิสฯก็บรรลุผล
เฟร็ดดี้ บิ๊กเกล สามารถทำประตูตีเสมอ 2-2 ให้กับทีมได้

หลังจากที่นำห่างสองลูกกลับมาโดนตีเสมอ 
เยอรมันก็เริ่มปั่นป่วน ทำเกมไม่ขึ้นต้องตกเป็น
ฝ่ายที่ตั้งรับการบุกเป็นพายุของทีมสวิสเซอร์แลนด์
ที่ได้กำลังใจจากกองเชียร์ชาวฝรั่งเศสซึ่งไม่ค่อย
จะชอบชาวเยอรมันคอยหนุน 
และเมื่อเหลือเวลาของการแข่งขันอีกเพียง 15 นาทีจะหมดเวลา
อังเดร อาเบ็กเกรน ผู้ที่ทำประตูให้สวิสฯเสมอมาในนัดแรก
ก็สบโอกาสที่กองหลังของเยอรมันประกบพลาด
ยิงประตูให้สวิสฯออกนำไป3-2 



[ รูดอลฟ์ เราวท์ ผู้รักษาประตูของเยอรมัน และ เฟร็ดดี้ บิ๊กเกล ของทีมสวิสเซอร์แลนด์ ]


และไม่ทันที่จะให้ทีมอินทรีเหล็กได้มีเวลาตั้งตัว 
ในอีก 2 นาทีต่อมา
อาเบ็กเกรน ก็ทำประตูที่สองของตัวเองและเป็นประตูชัย
ให้สวิสเซอร์แลนด์ เอาชนะทีมเยอรมันไปได้ 4-2 
ส่งทีมอินทรีเหล็กกลับบ้านไปเพียงแค่รอบแรกเท่านั้นเอง

และพวกเขาต้องรอเวลาในการที่จะกลับมาเล่น
ในฟุตบอลโลกอีกครั้งถึง 16 ปี
เพราะต่อมาไม่นานนัก 
อด็อฟ ฮิตเล่อรได้ทำให้์ทั้งยุโรปและทั่วโลก
ต้องตกอยู่ในไฟของสงครามโลกครั้งที่ 2
ไปจนกว่าจะถึงปี คศ.1945 เลยทีเดียว........


....................................................................
~ คอยพบกับย้อนตำนานอินทรีเหล็กตอนที่ 2....ยุคทองของอินทรี มหัศจรรย์แห่งเบิร์น  
อีกไม่นานเกินรอ!!!!!







ย้อนตำนานอินทรีเหล็ก ร่วมฉลอง100 ปีของทีมชาติเยอรมัน ( ตอนที่2 ปาฏิหาริย์แห่งเบิร์น )











หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงใหม่ๆ 
ชาวเยอรมันทั้งประเทศ
ต้องเผชิญหน้ากับความยากแค้นอย่างแสนสาหัส 
หลังต้องตกอยู่ในสภาพของประเทศผู้แพ้สงคราม
ประเทศต้องถูกแบ่งแยกออกเป็นสามส่วน 
กลายไปเป็นเยอรมันตะวันออกและตะวันตก
และสาธารณะรัฐซาร์แลนด์ที่อยูู่ในการดูแลของฝรั่งเศส 
โดยมีลัทธิทางการเมืองเป็นตัวแบ่งแยกประชาชนของแต่ละด้าน 
ญาติพี่น้องบาดเจ็บล้มตายและสูญหายไปนับเป็นจำนวนไม่ถ้วน 
ข้าวของเครื่องใช้ขาดแคลนและมีราคาแพง 
สภาพบ้างเมืองมีแต่เศษซากของการทำลาย
จากสงครามใหญ่ที่เพิ่งจะผ่านพ้นมา
ไม่ต่างไปจากนรกบนดินแต่อย่างใด



[ แผนที่ของประเทศเยอรมันที่ถูกประเทศผู้ชนะสงครามแบ่งออกเป็นส่วนๆ ] 


ทางด้านสมาพันธ์ฟุตบอลของเยอรมัน 
ซึ่งได้ถูกแบนออกจากการเป็นสมาชิกของฟีฟ่า 
ตั้งแต่ในช่วงของสงครามโลกนั้น 
ก็ไม่ได้ส่งทีมเข้าร่วมคัดเลือกในรายการใดๆ 
ดังนั้นเมื่อการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 1950 
ที่บราซิลรับเป็นเจ้าภาพนั้น 
ทีมอินทรีเหล็กจึงไม่ได้เข้าร่วมแข่งขันแต่อย่างใด



[ สัญลักษณ์ของสมาคมฟุตบอลแห่งเยอรมันตะวันตก ]


ต่อมาปลายปี1950 สมาคมฟุตบอลแห่งเยอรมันตะวันตก 
ได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง 
โดยมีที่ตั้งของสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองแฟร๊งค์เฟิร์ต 
และได้กลับเข้ามาเป็นสมาชิกทั้งกับ ฟีฟ่า 
และ สมาคมฟุตบอลแห่งยุโรปอีกครั้งจากนั้นจึงได้เริ่มมีการก่อร่าง
สร้างทีมชาติขึ้นมา โดยมีเซปป์ แฮร์เบอร์เกอร์ 
กลับมารับหน้าที่เป็นบุนเดสเทรนเนอร์อีกครั้ง
โดยที่ในขณะนั้น 
การแข่งขันฟุตบอลลีคภายในประเทศ
ยังไม่ได้มีการแข่งขันจนกว่าที่จะถึงปี 1951



[ ฟริซต์ วอลเตอร์ กับตันทีมเยอรมันตะวันตก ]


นักเตะทีมชาติของเยอรมันตะวันตกในยุคก่อตั้งนั้น 
แฮร์เบอร์เกอร์นำอดีตนักฟุตบอลของทีมเยอรมันเดิม
ที่เคยเล่นให้กับเขาก่อนที่สงครามจะเริ่ม 
และได้รับการปล่อยตัวมาจากค่ายกักกันเชลยศึกของโซเวียต 
และ สัมพันธมิตร ให้กลับมารวมตัวกันเป็นทีมชาติอีกครั้งหนึ่ง
โดยมี ฟริซต์ วอลเตอร์ กับตันทีม ที่ติดทีมชาติมาตั้งแต่ปี 1940 
ก่อนที่ในระหว่างสงครามได้เป็นทหารเข้าร่วมรบ 
และโดนกักกันตัวอยู่ในค่ายเชลยศึกก่อนที่จะได้รับการปลดปล่อย
หลังสงครามสงบ ฟริซต์ วอลเตอร์ 
เกือบที่จะเสียชีวิตไปซะแล้วในปี 1950 
จากการติดเชื้อมาลาเรียมาจากค่ายกักกัน 
หลังจากการรักษาและพักฟื้นเขากลับรอดมาได้ราวปาฏิหาริย์
และกลับมาร่วมลงเล่นให้กับทีมไกเซอร์สลาเท่น 
ได้อีกครั้งในปี 1951



[ โทนี่ ตูเร็ค ผู้รักษาประตู ในทีมปาฏิหาริย์แห่งเบิร์น 1954 ]


และยังมีผู้รักษาประตูหนุ่ม โทนี่ ตูเร็ค 
ที่มีความว่องไวและอ่านเกมได้ดีโดดเด่นมาจากการ
ลงเล่นให้กับทีม ฟอร์ทูน่า ดุสเซ่นดอร์ฟ มาตั้งแต่ปี 1950
รวมไปถึงยอดดาวยิงจากทีม เนิร์นแบรก์ แม็ค มอร์ล็อก 
และนักเตะดาวรุ่งจากทีมสโมสรร็อด ไวส์ เอสเส่น 
นาม เฮลมุต ราห์น ...



[ เฮลมุต ราห์น ผู้เล่นที่เป็นความหวังของทีมอินทรีเหล็ก ]


เมื่อบุนเดสลีกายังไม่เข้าที่เข้าทาง 
ทีมชาติเยอรมันตะวันตกจึงมีแต่เพียงการลงแข่งขัน
ในแม็ตช์กระชับมิตรที่ไม่เป็นทางการแต่เพียงอย่างเดียว 
และในที่สุดฟุตบอลโลกก็ได้ต้อนรับทีมอินทรีเหล็กอีกครั้ง 
เมื่อทีมเยอรมันตะวันตกสามารถที่จะผ่านทีมนอร์เวย์ 
และทีมซาร์แลนด์ เพื่อนร่วมสายเลือด
เข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกรอบ 16 ทีมสุดท้าย 
ที่จะจัดขึ้นในปี 1954 ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ได้รับเกียรติ ให้เป็นเจ้าภาพ
เพราะเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบ 
จากสงครามที่ผ่านมาน้อยที่สุดนั่นเอง...

....................................................................


1954 ฟุตบอลโลกที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ( ปาฏิหาริย์แห่งเบิร์น )


ฟุตบอลโลกที่สวิสเซอร์แลนด์ เมื่อปี 1954 นั้น 
ในรอบแรกทีมเยอรมันตะวันตก
อยู่ร่วมสายเดียวกับ “ เดอะ โกลเด้นทีม ” ทีมชาติฮังการี



[ เดอะ โกลเด้นทีม ทีมชาติฮังการีสุดยอดทีมแห่งทศวรรษที่ 50 ]


ที่มีสถิติการลงเล่นก่อนที่จะมาถึงสวิสฯ ที่ทีมอื่นใดก็ต้องหวั่นเกรง 
คือ ชนะ 43 เสมอ 7 และไม่แพ้ให้ต่อทีมใดมาตั้งแต่ปี 1950 แล้ว 
และที่สำคัญทีมฮังการีทีมนี้ 
ได้บุกไปยัดเยียดความปราชัยที่น่าขายหน้า
ต่อทีมชาติอังกฤษ 6 ประตูต่อ 3 
ถึงสนามเวมบลีย์ เมื่อ ปี 1953



[ ฟอร์เรนซ์ ปุสกัสกับตันทีมฮังการี่และ บิลลี่ ไรท์กับตันทีมอังกฤษที่เวมบลีย์1953 ]


และทีมเดียวกันนี้ 
ที่นำทัพมาโดย ยอดนักฟุตบอลแห่งยุค 
ฟอเรนซ์ ปุสกัส ,ซานดอร์ ค็อคซิส 
รวมไปถึงยอดดาวยิงตัวฉกาจ นาร์ดอร์ ไฮเด็กกูติ 
ก็สามารถคว้าเหรียญทอง ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ปี 1952 
มาแล้วด้วย



[กลิวญ่า โกรซิกข์ผู้รักษาประตูของทีมฮังการี่ในเกมถลกหนังสิงโตปี1953 ]


อีกทั้งยังมีทีมวางอีกทีมก็คือทีมตุรกี ที่แข็งแกร่งและเฉียบคม 
เป็นอุปสรรคสำคัญต่อทีมอินทรีเหล็กเป็นอย่างยิ่ง 
โดยมีทีมไม้ประดับจากเอเซียอย่างเกาหลีใต้
เป็นทีมสุดท้ายของกลุ่มนี้

แต่การกำหนดกติการใหม่ที่น่าตลกในการแข่งขันครั้งนี้ 
ก็คือ มีการจัดทีมวางของกลุ่มแต่ละกลุ่มอยู่สองทีม 
และทั้งสองทีมนี้ จะไม่ต้องพบกันในรอบแรก 
แต่ต่างฝ่ายต้องลงเตะกับอีกสองทีมร่วมสายของตัวเอง สองครั้ง 
ได้แก่ ทีมฮังการีจะต้องลงแข่งกับทีมเยอรมัน และ เกาหลีใต้ 
และตุรกี ก็ต้องเตะกับเกาหลีใต้และเยอรมัน 
โดยที่ไม่ต้องลงเตะกับทีมฮังการีแต่อย่างใด 
เพื่อเอาเพียงแค่สองทีมในสายเข้าไปเล่นในรอบต่อไป



[ เซปป์ แฮร์เบอร์เกอร์ บุนเดสเทรนเนอร์ของทีมเยอรมันปี 1954 ]


จากช่องโหว่ ของการจัดการแข่งขันนี้เอง 
ทำให้บุนเดสเทรนเนอร์ เซปป์ แฮร์เบอร์เกอร์ 
ได้เล็งเห็นแล้วว่าหากทีมของเขาอยากที่จะเข้าไปเล่นรอบต่อไป
ก็ต้องเอาชนะทีมตุรกีให้ได้เพียงสถานเดียวเท่านั้น 
โดยที่ไม่ต้องไปสนใจผลในเกมที่จะต้องลงเล่นกับทีมฮังการีแต่อย่างใด 
“ เอาชนะตุรกีให้ได้ ” คือเป้าหมายเดียวที่เขาบอกกับลูกทีมทุกคน
ของทีมอินทรีเหล็ก ที่จะต้องทำให้ได้ในรอบแรกนี้

เกมนัดแรกในฟุตบอลโลก 1954 ของทีมอินทรีเหล็ก
ก็คือการลงเล่นกับทีมตุรกี ที่สนามวังก์ดอร์ฟ สเตเดี้ยม ในเมืองเบิรน์ 
ในวันที่ 17 มิถุนายน ท่ามกลางผู้ชมเต็มความจุของสนาม 39,000 คน 
โดยมีกรรมการ ดาคอสต้า วิเอร่า ชาวโปรตุเกส ลงทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสิน 



[ ฟริซต์ วอลเตอร์ กับตันทีมเยอรมันจับมือกับซีเรน เตอกาย ของตุรกี ]


ทีมเยอรมันตะวันตกขนผู้เล่นชุดใหญ่ลงเต็มอัตตาศึก 
เช่นเดียวกับยอดทีมจากแดนเติร์ก 
ที่ใส่ผู้เล่นชุดที่ดีที่สุดของตนลงเล่น 
และเมื่อเวลาของการแข่งขันเดินไปถึงแค่นาทีที่ 2 เท่านั้นเอง 
มาร์มัต ซูสท์ มิดฟิลด์ ของตุรกี ก็ทะลุขึ้นมาส่องประตูให้ทีมเติร์ก
ออกนำไปอย่างรวดเร็ว 
แบบที่พลพรรคอินทีเหล็กงงเป็นไก่ตาแตกไปตามๆกัน



[กำแพงมนุษย์ของตุรกีป้องกันการยิงลูกโทษนอกเขตของทีมเยอรมัน]


แต่ยี่ห้อ “ เมค อิน เยอรมัน ” แล้ว 
ใช้เวลาเพียงไม่นานก็เริ่มที่จะตั้งตัวติด
ในนาทีที่ 22 
ฮันส์ ชาฟเฟอร์ ดาวยิงจากสโมสร โคโลจณ์ 
ก็สามารถทำประตูตีเสมอได้
ก่อนที่ครึ่งแรกทั้งสองทีมไม่สามารถเพิ่มสกอร์ได้อีก

เมื่อเกมการแข่งขันในครึ่งเวลาหลังเริ่มต้นขึ้น 
พลพรรคอินทรีเหล็กที่โดนเทศนาจาก แฮร์เบอร์เกอร์ ในห้องแต่งตัว 
ก็กลับลงมาด้วยความมุ่งมั่น 
คราวนี้จึงเปิดเกม ถล่มปูพรมใส่ทีมจากแดนไก่งวงอยู่ข้างเดียว 
และใช้เวลาเพียง 7 นาทีเท่านั้น 
เบอร์นี่ โคล์ทก็หลุดขึ้นมาส่องให้ทีมขึ้นนำได้ป็นครั้งแรกของเกม



[ อ็อตม่าร์ วอลเตอร์ ] 


ตุรกีเมื่อโดนขึ้นนำก็เริ่มที่จะเสียขบวนเริ่มเล่นพลาดมากขึ้น 
และจากการประกบผิดพลาดทางริมเส้น 
ทำให้เยอรมันเล่นลูกโยนยาวมาที่หน้าประตูของตุรกี
และเป็น อ็อตม่าร์ วอลเตอร์ โฉบขึ้นมาโหม่งลูกตุงตาข่าย 
ให้ทีมอินทรีเหล็กนำไปเป็น
3 ประตูต่อ 1 ในนาทีที่ 60

เมื่อถูกทีเด็ดของทีมเยอรมันแบบนี้ผู้เล่นของทีมตุรกีก็ถอดใจ 
เลยโดนแม็คมอร์ล็อกซ์ จัดการลูกที่ 4 ให้เยอรมัน 
นำห่างไปเป็น 4-1 ก่อนที่จะหมดเวลาของการแข่งขันสิบนาที 
และท้ายที่สุด 
เยอรมันตะวันตกก็เก็บชัยชนะเหนือทีมตุรกีได้อย่างสวยงาม



[ คาร์ล ไมร์ ปะทะกับ เซเบ็ค เซตินส์ ของตุรกี ]


และหลังจากที่ลูกทีมสามารถเอาชนะตุรกีได้ตามแผนแรกที่วางไว้
ของกุนซือสมองเพชร เซปป์ แฮร์เบอร์เกอร์ แล้ว 
ในนัดต่อมาที่ทีมอินทรีเหล็กต้องลงเล่นกับ
ยอดทีมแห่งยุคอย่างทีมฮังการี่ นั้น 
แฮร์เบอร์เกอร์ ก็งัดแผนสองออกมาใช้
โดยถอดผู้เล่นตัวหลักจากนัดที่ถล่มตุรกีมาถึง 6 คน 
เอาตัวสำรองลงบดแข้งกับฮังการี่แบบไม่หวังผล 
และก็ทำได้ตามแผนที่วางไว้ โดยถูกทีมฮ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์