ประวัติฟุตบอลพรีเมียร์ลีก

ประวัติฟุตบอลพรีเมียร์ลีก

ประวัติ

























































แชมป์พรีเมียร์ลีก
ฤดูกาล ผู้ชนะเลิศ
2008-09 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
2007-08 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
2006-07 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
2005-06 เชลซี
2004-05 เชลซี
2003-04 อาร์เซนอล
2002-03 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
2001-02 อาร์เซนอล
2000-01 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
1999-00 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
1998-99 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
1997-98 อาร์เซนอล
1996-97 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
1995-96 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
1994-95 แบล็คเบิร์น โรเวอร์ส
1993-94 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
1992-93 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

แต่เดิมฟุตบอลลีกแห่งนี้ ใช้ชื่อว่า ฟุตบอลลีกดิวิชันหนึ่ง ซึ่งมีจัดการแข่งขันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) และถือว่าเคยเป็นลีกฟุตบอลที่ยาวนานที่สุดในโลก โดยในปี พ.ศ. 2535 ในฤดูกาล 1992-93 ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นจากรูเพิร์ธ เมอร์ด็อก (Rupert Murdoch) นักธุรกิจสื่อสารรายใหญ่เจ้าของเครือข่ายสถานีโทรทัศน์สกาย (BSkyB) พยายามผลักดันให้สโมสรฟุตบอลที่จะลงแข่งขันในดิวิชันหนึ่งประจำฤดูกาล 1992-93 ถอนตัวออกมาจัดตั้งเป็นพรีเมียร์ลีกทำให้ฟุตบอลลีกสูงสุดของอังกฤษที่มีอายุ 104 ปี ต้องยุติลง ขณะเดียวกันทางฟุตบอลลีกเดิมได้เปลี่ยนชื่อจาก ดิวิชันสอง มาเป็น ดิวิชันหนึ่ง และดิวิชันอื่นได้เปลี่ยนตามกันไป[1]



[แก้] ปัญหาเริ่มต้น


ในช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาที่วงการฟุตบอลอาชีพของอังกฤษตกต่ำอย่างมาก เกิดเหตุการณ์หลายอย่าง ไม่ว่าเรื่องของสนามกีฬาที่มีปัญหา เหตุการณ์อันธพาลลูกหนัง หรือที่เรียกว่าฮูลิแกน ทำลายภาพลักษณ์ของฟุตบอลอังกฤษ ไฟไหม้อัฒจันทร์ วันที่ 11 พฤษภาคม 2528 ที่สนามฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลแบรดฟอร์ดซิตี ในระหว่างการแข่งขัน มีผู้เสียชีวิต 56 คน เหตุการณ์วันที่ 15 เมษายน 2532 ที่สนามฟุตบอลฮิลส์เบอโรของสโมสรฟุตบอลเชฟฟิลด์เวนส์เดย์ มีผู้คนเหยียบกันเสียชีวิตกว่า 96 คน นอกจากนี้โศกนาฏกรรมเฮย์เซลที่มีผู้เสียชีวิต 39 คน ทำให้ยูฟ่าสั่งห้ามไม่ให้สโมสรจากอังกฤษเข้าร่วมการแข่งขันชิง ถ้วยสโมสรในยุโรปเป็นเวลา 5 ปี อันธพาลลูกหนังที่ตามไปเชียร์ทีมที่ชื่นชอบ หลังจากการแข่งขันจะเกะกะระราน เข้าผับดื่มกินจนเมามาย บ้างก็วิวาทกับแฟนฟุตบอลเจ้าถิ่นเกิดเหตุการณ์วุ่นวายบางครั้งรุนแรงถึงขั้นจลาจลหรือไม่ก็มีคนเสียชีวิต โดยโศกนาฎกรรมเฮย์เซล์ส่วนหนึ่งมาจากคนกลุ่มนี้เช่นกัน


หลายเหตุการณ์ทำให้แฟนฟุตบอลไม่สามารถชมการแข่งขันได้อย่างสงบสุข เนื่องด้วยกลัวจะโดนลูกหลง ประกอบกับสภาพสนามที่ย่ำแย่ ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือการป้องกันเหตุฉุกเฉินอย่างดีพอ ทำให้ชาวอังกฤษหลายคนตัดสินใจรับชมการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ที่บ้าน แทนที่จะเดินทางมาเชียร์ในสนามดังเช่นอดีต ช่วงทศวรรษ 1980 รายได้ของสโมสรจากค่าผ่านประตูซึ่งเป็นรายได้หลักได้ลดลงอย่างมาก มีเพียงสโมสรชั้นนำไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ยังคงมีกำไร ในฤดูกาล 1986-87 ทุกสโมสรฟุตบอลมีกำไรสุทธิรวมเพียง 2.5 ล้านปอนด์ พอถึงฤดูกาล 1989-90 รวมทุกสโมสรขาดทุน 11 ล้านปอนด์ ทำให้นายทุนไม่กล้าจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจกีฬาอาชีพนี้อย่างเต็มที่ หลายสโมสรในช่วงนั้นมีข่าวว่าใกล้จะล้มละลาย


ภายหลังเหตุการณ์ที่สนามฮิลส์เบอโร รัฐบาลอังกฤษได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนเรื่องที่เกิดขึ้น โดยมีลอร์ดปีเตอร์ เทย์เลอร์ ผู้พิพากษาระดับรองประธานศาลฎีกา เป็นประธานคณะกรรมการ โดยผลการไต่สวนซึ่งเรียกว่า รายงานฉบับเทย์เลอร์ (Taylor Report) ได้กลายมาเป็นเอกสารสำคัญนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการฟุตบอลอังกฤษ เพราะกำหนดให้ทุกสโมสรต้องปรับปรุงสนามแข่งขัน ที่สำคัญคืออัฒจันทร์ชมการแข่งขันต้องเป็นแบบนั่งทั้งหมด ห้ามไม่ให้มีอัฒจันทร์ยืนเพื่อความปลอดภัยของผู้ชมการแข่งขัน โดยทีมในระดับดิวิชัน 1 และ 2 ต้องปรับปรุงให้เสร็จในปี 2537 และ ดิวิชัน 3 และ 4 ให้เสร็จในปี 2542 ส่งผลให้การยืนชมฟุตบอลซึ่งเป็นวัฒนธรรมการชมฟุตบอลของคนอังกฤษมานาน บางแห่งก็มีชื่อเสียงอย่างเช่นอัตจันทร์ เดอะค็อป ของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลต้องจบไป ถึงแม้ว่าในประเทศอังกฤษจะมีสโมสรฟุตบอลทั้งอาชีพและสมัครเล่นมากที่สุดในโลก แต่สนามฟุตบอลส่วนใหญ่มีสภาพเก่าแก่ทรุดโทรม บางสโมสรในระดับดิวิชั่นหนึ่งหรือดิวิชั่นสองยังคงมีอัฒจันทร์ที่สร้างด้วยไม้ ทำให้การปรับปรุงสนามฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลอังกฤษครั้งนี้ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล ท่ามกลางสถานะทางการเงินที่ไม่มั่นคงเพราะรายได้ลดลงอย่างมาก สโมสรเล็กบางแห่งซึ่งมีผู้ชมน้อยอยู่แล้วจึงใช้วิธีปิดตายอัฒจันทร์ยืน ส่วนสโมสรใหญ่ที่ฐานะการเงินดีกว่าก็ประสบปัญหาเช่นกัน เพราะไม่อาจใช้วิธีเลี่ยงปัญหาแบบสโมสรเล็กได้


รัฐบาลอังกฤษในขณะนั้นต้องเข้าช่วยเหลือโดยลดค่าธรรมเนียมหรือภาษีธุรกิจพนันฟุตบอล นำเงินส่วนนี้มาตั้งกองทุนฟุตบอลจำนวน 100 ล้านปอนด์ ให้ฟุตบอลลีกเป็นคนจัดสรรให้สโมสรฟุตบอลซึ่งเป็นภาคีสมาชิกทั้ง 96 สโมสร นำไปพัฒนาปรับปรุงสนามแข่งขันของตนเอง แต่งบประมาณเท่านี้ต้องนับว่าน้อยมาก หากนำมาเฉลี่ยอย่างเท่ากันแล้วจะได้รับเงินเพียงสโมสรละ 1.08 ล้านปอนด์เท่านั้น ขณะที่สโมสรฟุตบอลชั้นแนวหน้าของลีกต้องใช้เงินในการณ์นี้สูงถึงกว่าสิบล้านปอนด์ สโมสรใหญ่ในดิวิชั่นหนึ่งจึงกดดันฟุตบอลลีกจัดสรรเงินให้มากกว่าสโมสรเล็ก เพราะหากไม่เสร็จทันตามกำหนดอาจจะถูกถอนใบอนุญาตได้



[แก้] กิจการถ่ายทอดทางโทรทัศน์


ในช่วงเวลาที่สโมสรใหญ่ต้องการเงินทุนมหาศาลนี้ เป็นโอกาสให้เจ้าของสถานีโทรทัศน์สกาย ยื่นข้อเสนอให้สโมสรในดิวิชั่นหนึ่งประจำฤดูกาล 1992-93 ให้ถอนตัวจากสมาชิกฟุตบอลลีกเพื่อมาจัดตั้งเอฟเอพรีเมียร์ลีก โดยทางสถานีขอซื้อสิทธิผูกขาดในการถ่ายทอดการแข่งขันในราคาแพง ทำสัญญาฉบับแรกซื้อสิทธิผูกขาดในการถ่ายทอดการแข่งขันเป็นเวลา 5 ปี (ฤดูกาล 1992-93 ถึง 1996-97) จ่ายค่าตอบแทนให้ 304 ล้านปอนด์ เทียบกับในอดีตที่ฟุตบอลลีกได้รายได้จากการขายสิทธิให้สถานี ITV เพียง 44 ล้านปอนด์ ในช่วงเวลา 4 ปี เงื่อนไขตอบแทนทางธุรกิจเช่นนี้ ดึงดูดให้สโมสรทั้งหลายสนใจเป็นอย่างยิ่ง จนผู้บริหารสโมสรบางคน เช่น นายอลัน ชูการ์ เจ้าของสโมสรฟุตบอลทอตแนมฮ็อตสเปอร์ แสดงตนเป็นแกนนำในการล็อบบี้ให้สโมสรอื่น ๆ ในดิวิชั่นหนึ่งที่จะเริ่มแข่งขันในฤดูกาล 1992-93 เห็นชอบกับการก่อตั้งลีกแห่งนี้


ในประเทศไทย ทางทรูวิชั่นส์ บริษัทเคเบิลทีวีของทรู คอร์ปอเรชั่น คว้าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ตั้งแต่ฤดูกาล 2007-08 เป็นต้นไป



[แก้] การจัดตั้ง


17 กรกฎาคม 1991 มีการลงนามข้อตกลงภาคีสมาชิกก่อตั้ง (Founder Members Agreement) เพื่อวางหลักการสำคัญในการจัดตั้งพรีเมียร์ลีก ได้แก่ ระบบลีกสูงสุดใหม่นี้จะดำเนินการทางธุรกิจด้วยตนเอง ทำให้พรีเมียร์ลีกมีอิสระที่จะเจรจาผลประโยชน์กับผู้สนับสนุน รวมทั้งสิทธิในการขายสิทธิถ่ายทอดโทรทัศน์ของตนเอง แยกขาดจากสมาคมฟุตบอลอังกฤษและฟุตบอลลีก จากนั้นในปี 1992 ทั้ง 20 สโมสรได้ยื่นขอถอนตัวจากฟุตบอลลีกอย่างเป็นทางการ


ต่อมา 27 พฤษภาคม 1992 เอฟเอพรีเมียร์ลีกจึงก่อตั้งโดยจดทะเบียนในรูป บริษัทจำกัด มีสโมสรฟุตบอลสมาชิกทั้ง 20 แห่งเป็นหุ้นส่วน ความเป็นหุ้นส่วนจึงขึ้นอยู่กับผลการแข่งขันทางสโมสร หากทีมใดยังคงอยู่ในพรีเมียร์ลีกก็จะถือเป็นหุ้นส่วนของพรีเมียร์ลีกต่อไป ในช่วงปิดฤดูกาลสโมสรที่ตกชั้นจะต้องมอบสิทธิความเป็นหุ้นส่วนให้กับสโมสรที่เลื่อนชั้นมาจากลีกแชมเปี้ยนชิป โดยมีสมาคมฟุตบอลอังกฤษถือสิทธิเป็นหุ้นส่วนหลัก มีอำนาจที่จะคัดค้านในประเด็นสำคัญ เช่น การแต่งตั้งประธานกรรมการและผู้บริหารระดับสูง หลักการเลื่อนชั้นหรือตกชั้นของสโมสรเท่านั้น แต่ไม่อาจล่วงไปถึงกิจการเฉพาะของพรีเมียร์ลีก ซึ่งได้แก่เงื่อนไขและผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ต่าง ๆ


ด้วยค่าตอบแทนจากการถ่ายทอดโทรทัศน์และประโยชน์ที่ได้รับจากผู้สนับสนุนการแข่งขัน ทำให้พรีเมียร์ลีกพัฒนาเป็นลีกฟุตบอลภายในประเทศที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก



[แก้] การซื้อตัวผู้เล่นต่างชาติ



src=http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/2b/Ruud.JPG/180px-Ruud.JPG

src=http://th.wikipedia.org/skins-1.5/common/images/magnify-clip.png
การแข่งขัน แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด กับทอตแนมฮอตสเปอร์

จารีตอันยาวนานของสโมสรฟุตบอลอังกฤษในเรื่องนักฟุตบอลของทีมคือ แต่ละสโมสรจะส่งตัวแทนค้นหาเยาวชนที่มีความสามารถทางการเล่นฟุตบอลเพื่อนำมาฝึกหัดพัฒนาทักษะ โดยให้ลงเล่นตั้งแต่ในทีมระดับเยาวชน สมัครเล่น หรือทีมสำรอง ผู้ที่มีความโดดเด่นจะได้รับคัดเลือกให้ลงเล่นในทีมชุดใหญ่ซึ่งลงแข่งในฟุตบอลลีก หากจะมีการซื้อตัวผู้เล่น ก็มักจะมาจากสโมสรในดิวิชั่นหนึ่ง (แบบเดิม) ซื้อตัวผู้เล่น ดาวรุ่ง จากดิวิชั่นที่ต่ำกว่าหรือจากสโมสรสมัครเล่นนอกลีก มีน้อยมากที่ซื้อนักฟุตบอลต่างชาติ (ไม่นับรวม สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์) ต่างจากสโมสรฟุตบอลอาชีพทางยุโรปตอนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสโมสรฟุตบอลในอิตาลีและสเปน ซึ่งมักจะได้รับฉายาว่า เจ้าบุญทุ่ม บ่อยครั้งที่สโมสรฟุตบอลจากสองประเทศนี้จ่ายเงินมหาศาล จนถึงขั้นสร้าง สถิติโลก ในการซื้อตัวนักฟุตบอลต่างชาติเพียงหนึ่งคน


แต่เมื่อพรีเมียร์ลีกก่อกำเนิด ธรรมเนียมการกว้านซื้อตัวนักฟุตบอลต่างชาติของสโมสรฟุตบอลอังกฤษจึงเริ่มมีมากขึ้น จารีตการสร้างนักฟุตบอลของตัวเองแม้จะยังคงอยู่แต่ก็ลดความสำคัญลงไปทุกขณะ เพราะต้องใช้เวลายาวนานอาจไม่ทันการณ์ สู้ใช้เงินซื้อนักฟุตบอลชื่อดังระดับโลกมาร่วมสังกัดไม่ได้ ที่สามารถดึงดูดแฟนฟุตบอลให้ซื้อบัตรเข้าชมการแข่งขันมากขึ้นในเวลาอันสั้น ลีลาการเล่นที่ตื่นเต้นเร้าใจย่อมขยายฐานแฟนคลับให้กว้างขวางออกไปอย่างรวดเร็ว เมื่อสโมสรชั้นนำในพรีเมียร์ลีกต่างมีสถานะทางการเงินที่มั่นคงกว่าเดิม จึงพร้อมที่จะทำในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์


รูปโฉมใหม่ของฟุตบอลอาชีพอังกฤษเปิดฉากขึ้น ในฤดูกาล 1994-95 เมื่อทอตแนมฮ็อตสเปอร์ ซื้อตัวเจอร์เก้น คลินส์มันน์ (Juergen Klinsmann) นักฟุตบอลทีมชาติเยอรมันจากสโมสรโมนาโค จากฝรั่งเศส ทักษะและลีลาการเล่นฟุตบอลของคลินส์มันน์สร้างความตื่นตาตื่นใจต่อผู้ชม ทำให้เขากลายเป็นขวัญใจของกองเชียร์ในเวลาไม่นาน สร้างความพึงพอใจต่อสโมสรต้นสังกัดเป็นอย่างยิ่ง ความสำเร็จของทอตแน่มฮอตสเปอร์กระตุ้นให้สโมสรอื่น กล้าลงทุนซื้อตัวนักฟุตบอลระดับโลกมากขึ้น เพราะรายรับที่ได้กลับคืนมาคุ้มค่ากับการลงทุน


ในฤดูกาลถัดมานักฟุตบอลต่างชาตได้มาเล่นในฟุตบอลอังกฤษมากขึ้น ในฤดูกาล 1995-96 สโมสรมิดเดิลสโบรช์ซื้อจูนินโญ่และเอเมอร์สัน (บราซิล) สโมสรนิวคาสเซิลยูไนเด็ตซื้อฟาอุสติโน่ อัสปริญ่า (โคลัมเบีย) สโมสรอาเซนอลซื้อเดนิส เบิร์กแคมป์ (ฮอลแลนด์) สโมสรเชลซีซื้อรุด กุลลิท (ฮอลแลนด์) ฯลฯ ฤดูกาล 1996-97 สโมสรมิดเดิลสโบร์ซื้อฟาบริซิโอ ราวาเนลลี่ (อิตาลี) สโมสรเชลซีซื้อจิอันลูกา วิอัลลี่และจิอันฟรังโก้ โซล่า (อิตาลี) สโมสรลิเวอร์พูลซื้อแพทริก แบเกอร์ (สาธารณรัฐเช็ก) สโมสรอาเซนอลซื้อปาทริก วิอาร่า (ฝรั่งเศส) ฯลฯ


นอกจากนักฟุตบอลแล้ว ผู้จัดการทีมต่างชาติก็เข้ามามีบทบาทในพรีเมียร์ลีกจวบจนปัจจุบันนี้ ไม่ว่าอาแซน แวงเกอร์, รุด กุลลิท, เชอรา อุลิแยร์, ราฟาเอล เบนิเตซ, โฮเซ่ มูรินโญ่ ฯลฯ แม้แต่สโมสรฟุตบอลที่มีลักษณะอนุรักษ์นิยมสูง ดังเช่น สโมสรลิเวอร์พูล ที่แม้ปรับตัวให้เข้ากับระบบใหม่ช้ากว่าคู่แข่งหลายทีม จนทำให้ยังไม่ประสบความสำเร็จในระดับแชมป์พรีเมียร์ลีก (ต่างจากยุคฟุตบอลลีก) ยังต้องปรับตัวต่อกระแสการซื้อตัวนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมต่างชาติ เพื่อหวังจะครองแชมป์พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกให้ได้


อาจกล่าวได้ว่าในขณะนี้ เอฟเอพรีเมียร์ลีกเป็นลีกฟุตบอลภายในประเทศที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง ดึงดูดนักฟุตบอลชั้นดีให้มาประกอบวิชาชีพไม่ต่างจาก กัลโช่ซีรีส์เอ ของประเทศอิตาลีหรือ ลาลีก้า ของประเทศสเปน ตัวชี้วัดคุณภาพที่ดีที่สุดคือนักฟุตบอลที่เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 ซึ่ง เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพ มีจำนวน 101 คนที่เล่นฟุตบอลในอังกฤษ และปัจจุบันมีนักฟุตบอลต่างชาติในพรีเมียร์ชิพมากกว่า 250 คน



[แก้] ระบบการแข่งขัน



src=http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/9/93/FA_Premier_League.png/180px-FA_Premier_League.png

src=http://th.wikipedia.org/skins-1.5/common/images/magnify-clip.png
สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของ เอฟเอ พรีเมียร์ลีก ที่ใช้มาจนถึงฤดูกาล 2007

มีทีมร่วมแข่งขัน 20 ทีม แข่งขันในระบบพบกันหมด เหย้าและเยือน ทีมชนะได้ 3 คะแนน ทีมเสมอได้ 1 คะแนน และทีมแพ้ไม่ได้คะแนน ตลอดฤดูกาลทุกทีมจะต้องแข่งขันทั้งสิ้น 38 นัด เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 3 สโมสรที่ได้คะแนนน้อยที่สุด จะถูกลดชั้นไปเล่นในฟุตบอลลีกแชมเปียนชิพ


4 ทีมที่อันดับดีสุดจะได้ผ่านเข้าไปเล่นใน

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์