คัมภีร์ลูกหนัง ตอน คิงเคนนี่ v คิงก็องโต้




เคนนี ดัลกลิช






เคนนี ดัลกลิชถูกเปรียบเปรยว่าเป็นเครื่องจักรไล่ล่าความสำเร็จ ทำไมน่ะหรือ ก็เพราะตลอดการเล่นฟุตบอล 22 ปีของเค้า ดัลกลิชคว้า แชมป์มาครองได้ถึง 26 รายการใหญ่ๆ และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นอัจฉริยะในเชิงฟุตบอลคนหนึ่งด้วย

ดัลกลิชมีคุณสมบัติที่กองหน้าชั้นดีพึงจะมีไม่ว่าจะเป็นด้านทักษะ, การคอนโทรลบอล, ความเร็ว และการยิงประตูที่เฉียบขาด ครั้งหนึ่งเซอร์บ็อบ เพสลีย์เคยยกย่องเค้าว่า เค้าเปรียบได้กับคอนดักเตอร์ในวงออร์เคสตร้าดีๆนี่เอง






แฟ้มประวัติเคนนี ดัลกลิช
ชื่อจริง: เคนเน็ธ แมทธีสัน เจเรไมห์ ดัลกลิช
เกิดเมื่อ: 4 มีนาคม 1951
สถานที่เกิด: ดัลมาน็อค, กลาสโกว์; สก็อตแลนด์
ส่วนสูง: 5 ฟุต 8 นิ้ว (1.73 เซนติเมตร)
ตำแหน่ง: กองหน้า









ประวัติการเล่นฟุตบอล
ในสมัยเริ่มต้นเล่นฟุตบอลดัลกลิชหวังที่จะเริ่มต้นเล่นให้กับทีมเรนเยอร์ส เนื่องจากเค้าเกิดย่านดัลมาร์น็อคซึ่งเป็นฝั่งตะวันออกของเมือง กลาสโกว์ซึ่งเป็นแถบที่ตั้งของทีมเรนเยอร์ส และเค้าเคยไปทดสอบฝีเท้ากับทีมเรนเยอร์สแต่ก็ถูกปฏิเสธกลับมา ก่อนที่จะเดินทางไปทดสอบฝีเท้ากับเวสต์แฮม ยูไนเต็ดและลิเวอร์พูลแต่ก็ไม่ผ่านการทดสอบเหมือนเดิม และก็เป็นทีมเซลติกที่เห็นแววของเค้าและจับเค้ามาฝึกฝีเท้าจนเป็นนักเตะที่เก่งที่สุดของสก็อตแลนด์

เค้าเซ็นต์สัญญากับทีมเซลติกเมื่อพฤษภาคม 1967 ในยุคของแจ็ค สตีนซึ่งเป็นหนึ่งในตำนานผู้จัดการทีมของเซลติก โดยในเซลติกเค้ามีเพื่อนสนิทคือฌอน ฟาลเลน แต่การลงสนามครั้งแรกของดัลกลิชไม่ใช่กับเซลติกแต่เป็นกับทีมคัมเบอร์นัลด์ ยูไนเต็ดซึ่งดัลกลิชถูกยืมตัวมาใช้งาน โดยเค้ายิงได้ถึง 37 ประตูในฤดูกาล 1967/68

ในช่วงนั้นเป็นช่วงที่ทีมเซลติกถือว่าเป็นทีมฟุตบอลที่ดีที่สุดของสก็อตแลนด์ และยังเป็นทีมฟุตบอลทีมแรกบนเกาะอังกฤษที่สามารถคว้าแชมป์ยูโรเปียน คัพมาครองได้อีกด้วยหลังจากเอาชนะอินเตอร์ มิลานที่สนามเอสตาริโอ เนชั่นแนล ในกรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ในปี 1966/67 โดยดัลกลิชได้เข้ามาร่วมทีมหลังจากนั้น 3 ปี, โดยดัลกลิชทำสถิติยิงประตูมากที่สุดในเกมเดียวในเกมที่เซลติกชนะคิลมาร์น็อคไป 7-2 ซึ่งดัลกลิชทำประตูได้ถึง 6 ประตู

ในฤดูกาล 1971/72 ดัลกลิชเป็นคนทำประตูแรกในชัยชนะเหนือทีมเรนเยอร์ส 2-0 ที่สนามไอบร็อกซ์ ในรายการสก็อตติช ลีก คัพ โดยในฤดูกาลนั้นเค้าลงสนามไป 49 เกม

ในฤดูกาล 1972/73 ดัลกลิชสามารถทำได้ถึง 41 ประตู และเค้าได้รับแต่งตั้งให้เป็นกัปตันทีมเซลติกในฤดูกาล 1975/76 แต่ก็เป็นปีที่ไม่ดีสำหรับเค้าเมื่อสตีนประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์

ดัลกลิชติดทีมชาติเป็นเวลาถึง 6 ปีในช่วงที่เล่นให้เซลติก โดยเกมแรกในทีมชาติเค้าเป็นตัวสำรองโดยลงไปแทนทอมมี โดเฮอร์ตีในเกมที่ชนะเบลเยี่ยม 1-0 ในรอบคัดเลือกฟุตบอลยูโร 72 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 1971, ดัลกลิชทำประตูแรกในการลงเล่นให้ทีมชาติได้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1972 ในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกกับเดนมาร์ก ซึ่งสก็อตแลนด์ชนะไป 2-0 ที่สนามแฮมป์เดน ปาร์ค ซึ่งท้ายที่สุดสก็อตแลนด์สามารถผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในปี 1974 ที่เยอรมันตะวันตกได้สำเร็จ แม้ท้ายที่สุดสก็อตแลนด์จะตกรอบแรกก็ตาม

ในปี 1976 เค้าเป็นคนยิงประตูชัยให้สก็อตแลนด์ชนะอังกฤษ ที่สนามแฮมป์เดน ปาร์ค โดยเค้ายิงลูกรอดขาเรย์ คลีเมนต์ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาประตูที่เก่งที่สุดของอังกฤษในยุคนั้น

ดัลกลิชลงเล่นให้เซลติกไป 269 เกม และทำได้ 167 ประตู เฉลี่ยจะทำประตูได้ทุกๆ 1.6 เกม

ในวันที่ 10 สิงหาคม 1977 ดัลกลิชย้ายมาร่วมทีมลิเวอร์พูลในยุคของบ็อบ เพสลีย์ด้วยค่าตัว 440,000 ปอนด์ โดยย้ายมาทดแทนการขาดหายไปของเควิน คีแกนซึ่งย้ายไปเล่นให้ทีมฮัมบรูกส์ในเยอรมัน

ที่ลิเวอร์พูลดัลกลิชก้าวเข้ามาแทนที่คีแกนได้อย่างไม่มีที่ติ แม้ตอนแรกเค้าจะเป็นกังวลอยู่บ้างที่จะต้องเป็นคนสวมใส่เสื้อหมายเลข 7 ซึ่งคีแกนเคยใส่ก่อนหน้านี้ โดยเค้าลงเล่นให้ลิเวอร์พูลครั้งแรกในรายการแชร์ริตี้ ชิลด์ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 1977 ซึ่งเป็นการพบกับทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ซึ่งท้ายที่สุดทั้งสองทีมได้ครองแชมป์รายการนี้ร่วมกัน, ดัลกลิชทำประตูแรกให้ลิเวอร์พูลได้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 1977 ซึ่งลิเวอร์พูลออกไปเยืนมิดเดิลสโบรช โดยดัลกลิชทำประตูได้ในนาทีที่ 7 ก่อนที่จบเกมเสมอกัน 1-1, ก่อนที่อีก 3 วันเค้าจะได้ลงเล่นในสนามแอนฟิลด์เป็นครั้งแรก ในวันที่ 23 สิงหาคม 1977 โดยพบกับนิวคาสเซิล ยูไนเต็ดซึ่งในครึ่งแรกทั้งสองทีมเสมอกันที่ 0-0 ก่อนที่เริ่มครึ่งหลังได้เพียงนาทีเดียวดัลกลิชจะทำประตูให้ลิเวอร์พูลขึ้นนำโดยเกมนั้นลิเวอร์พูลชนะไป 2-0

สำหรับฤดูกาลแรกของดัลกลิชในถิ่นแอนฟิลด์เค้าลงเล่นไปทั้งสิ้น 62 เกมและทำได้ 31 ประตู, โดยลิเวอร์พูลสามารถคว้าแชมป์ยูโรเปียน คัพมาครองได้อีกด้วยหลังจากที่ชนะทีมบรูกส์ (เบลเยี่ยม) ที่สนามเวมบลีย์ โดยเค้าเป็นคนยิงประตูชัยให้กับทีมอีกด้วย ในช่วงปลายทศวรรษที่ 70 ถึงกลางทศวรรษที่ 80 ดัลกลิชมีส่วนทำให้ลิเวอร์พูลเป็นทีมที่แข็งแกร่งทั้งในประเทศและในยุโรปอย่างแท้จริง

ดัลกลิชได้ลงเล่นในศึกฟุตบอลโลกปี 1978 ที่อาร์เจนติน่า โดยเค้าสามารถทำประตูได้ในเกมที่สก็อตแลนด์เอาชนะฮอลแลนด์ 3-2 โดยอีก 2 ประตูเป็นผลงานของอาร์ชี แกมมิลล์, และในศึกฟุตบอลโลกปี 1982 ที่สเปน ดัลกลิชก็สามารถทำประตูได้อีกครั้งในเกมที่พบนิวซีแลนด์ 5-2 โดยดัลกลิชลงเล่นให้ทีมชาติสก็อตแลนด์ทั้งหมด 102 เกมและทำได้ 30 ประตู

ในเดือนเมษายน 1980 ลิเวอร์พูลจ่ายเงินจำนวน 300,000 ปอนด์เพื่อเป็นค่าตัวของนักเตะดาวรุ่งอย่างเอียน รัช ซึ่งเป็นการซื้อตัวนักเตะดาวรุ่งที่คุ้มค่าที่สุดของลิเวอร์พูลเลยก็ว่าได้ โดยในฤดูกาลแรกของรัชเค้าได้ลงเล่นไป 49 เกมและทำได้ 30 ประตูซึ่งได้ตำแหน่งดาวซัลโวประจำทีม ส่วนดัลกลิชลงเล่นไป 62 เกมและทำได้ 22 ประตู โดยในปีนั้นลิเวอร์พูลสามารถคว้าแชมป์ลีกมาครองได้สำเร็จบวกกับได้แชมป์ลีก คัพมาครองหลังจากเอาชนะท็อตแน่ม ฮอตสเปอร์ในรอบชิงชนะเลิศ โดยรัชเป็นคนทำประตูชัยได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ






ประวัติในการเป็นผู้จัดการทีม
หลังจากเหตุการณ์ เฮย์เซล สเตเดียม ในปี 1985 ที่มีแฟนบอลยูเวนตุสเสียชีวิตไปถึง 39 ศพทำให้โจ ฟาแกนตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล, โดยดัลกลิชถูกแต่งให้เข้ามารับหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ควบกับตำแหน่งผู้เล่นไปด้วยซึ่งถือว่าเป็นฤดูกาลที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากมายในแอนฟิลด์, ในฤดูกาล 1985/86 ลิเวอร์พูลสามารถคว้าแชมป์ลีกมาครองได้อีกครั้งโดยมีแต้มมากกว่าทีมเอฟเวอร์ตันเพียง 2 แต้ม (โดยดัลกลิชเป็นคนทำประตูชัยในการพบการเชลซี ที่สนามสแตมฟอร์ด บริดจ์ในนัดสุดท้ายของฤดูกาล) ต่อมาดัลกลิชยังพาทีมเอาชนะเอฟเวอร์ตัน 3-1 ในรอบชิงชนะเลิศรายการเอฟเอ คัพได้อีกด้วย

ดัลกลิชสามารถพาลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ลีกได้อีกครั้งได้ในฤดูกาล 1987/88 โดยเค้าได้เซ็นต์สัญญาคว้าตัวปีเตอร์ เบียดลีย์มาจากนิวคาสเซิล ยูไนเต็ดมาเสริมทีมเพียงคนเดียว, โดยในยุคที่ดัลกลิชเป็นผู้จัดการทีมเค้าได้ปรับแต่งทีมลิเวอร์พูลให้เป็นทีมที่มีการเล่นที่น่าดูไม่ว่าจะเป็นในด้านความสวยงาม, ความแข็งแกร่ง และด้านเอ็นเตอร์เทนแฟนบอล โดยดัลกลิชยังได้เซ็นสัญญาคว้าตัวจอห์น อัลดริดจ์จากอ๊อกฟอร์ดมาทดแทนการขาดหายไปของเอียน รัชที่ย้ายไปร่วมทีมยูเวนตุส, นอกจากนนั้นดัลกลิชยังจัดการคว้าตัวจอห์น บาร์นส์มาจากวัตฟอร์ดเพื่อเค้ามาประสานงานกับอลัน แฮนเซ่น, รอนนี วีแลน, สตีฟ แม็คมาฮอน, มาร์ค ลอเรนสัน และสตีฟ นิโคล, โดยในฤดูกาลนั้นลิเวอร์พูลทำผลงานได้ดีเยี่ยมโดยไม่แพ้ใครในลีก 29 เกมติด โดยชนะ 22 และเสมอ 7 โดยจบฤดูกาลนั้นดัลกลิชพาลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ลีกได้อีกครั้ง แต่ลิเวอร์พูลก็ไปแพ้พลิกล็อกต่อวิมเบิลดันในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพ

โดยในปี 1989 ดัลกลิชพาลิเวอร์พูลคว้าแชมป์เอฟเอ คัพได้สำเร็จหลังจากเอาชนะเอฟเวอร์ตันในรอบชิงชนะเลิศได้ แต่ก็ต้องผิดหวังในฟุตอบอลลีกเมื่อก่อนจะลงเล่นนัดสุดท้ายลิเวอร์พูลนำอาร์เซน่อลอยู่ 3 แต้มและต้องการผลเสมอเท่านั้นหรือแพ้ไม่เกิน 1 ลูกเป็นอย่างน้อย แต่ประตูของไมเคิล โทมัสที่ยิงให้อาร์เซน่อลชนะ 2-0 ก็ทำให้อาร์เซน่อลเบียดลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ลีกไปครองด้วยผลต่างประตูได้เสียที่ดีกว่า

ดัลกลิชอยู่ในเหตุการณ์ที่ฮิลส์โบโรด้วย มีแฟนบอลลิเวอร์พูลเสียชีวิตไปถึง 96 ศพในวันที่ 15 เมษายน 1989 ในรายการเอฟเอ คัพรอบรองชนะเลิศที่พบกับน็อตติงแฮม ฟอเรสต์ โดยดัลกลิชเคยให้สัมภาษณ์ว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 96 ศพนั้นจะยังอยู่ในใจของเดอะ คอปและนักฟุตบอลของลิเวอร์พูลไปตลอดกาล ก่อนที่ดัลกลิชจะประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมลิเวอร์พูลอย่างกระทันหันเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1991 โดยก่อนที่เค้าจะลาออกเค้าได้นำนักเตะอย่างสตีฟ แม็คมานามานขึ้นจากชุดอคาเดมีมาเล่นในชุดใหญ่ และยังได้ซื้อตัวเจมี เรดแนปป์ซึ่งเป็นนักเตะคนสุดท้ายที่เค้าซื้อมา ก่อนที่ต่อมาทั้งคู่จะเป็นนักเตะคนสำคัญของลิเวอร์พูล

สมัยที่ดัลกลิชอยู่กับลิเวอร์พูล (ในฐานะนักเตะ/ผู้จัดการทีม) เค้าคว้าแชมป์ลีกสูงสุดไปครองได้ 8 สมัย, แชมป์เอฟเอ คัพ 2 สมัย, แชมป์ลีก คัพ 4 สมัย, แชมป์แชร์ริตี้ ชิลด์ 5 สมัย, แชมป์ยูโรเปียน คัพ 3 สมัย, แชมป์ยูโรเปียน ซุปเปอร์ คัพ 1 สมัย

ก่อนที่ดัลกลิชจะกลับมารับงานในตำแหน่งผู้จัดการทีมอีกครั้งเมื่อเดือนตุลาคม 1991 กับทีมแบล็คเบิร์น โรเวอร์สซึ่งอยู่ในดิวิชั่น 2 (เดอะ แชมเปียนชิพในปัจจุบัน) และเค้าก็พาทีมแบล็คเบิร์นกลับขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดได้อีกครั้งหลังจากที่เอาชนะเลสเตอร์ ซิตี้ 1-0 ในการแข่งขันรอบเพลย์ออฟเลื่อนชั้น และเป็นครั้งแรกที่แบล็คเบิร์นได้กลับมาเล่นในลีกสูงสุดอีกครั้งหลังจากปี 1966

แจ็ค วอล์คเกอร์ซึ่งเป็นเจ้าของทีมแบล็คเบิร์นได้ให้งบประมาณในการซื้อนักฟุตบอลแก่ดัลกลิชอย่างเต็มที่เพื่อที่จะทำให้ทีมได้เป็นแชมป์ลีกสูงสุด โดยดัลกลิชจัดการคว้าตัวอลัน เชียร์เรอร์มาจากเซาแธมป์ตันด้วยราคา 3.3 ล้านปอนด์ และเชียร์เรอร์ก็พาแบล็คเบิร์นจบอันดับที่ 4 ในฤดูกาลแรกที่ทีมได้เลื่อนชั้นกลับมาอีกครั้ง ก่อนที่ฤดูกาลต่อมาดัลกลิชจะซื้อตัวทิม ฟลาเวอร์สและเดวิด แบ๊ตตี้เข้ามาเสริมทีมและพาแบล็คเบิร์นเข้าป้ายในอันดับที่ 2 โดยแชมป์ตกเป็นของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

ในฤดูกาล 1994/95 ดัลกลิชเซ็นต์สัญญาคว้าตัวคริส ซัตตันด้วยค่าตัว 5 ล้านปอนด์ซึ่งถือว่าเป็นสถิติของสโมสรเลยทีเดียว (ในสมัยนั้น) เพื่อให้มาเป็นคู่ขาในแดนหน้ากับอลัน เชียร์เรอร์ซึ่งก็ไม่ผิดหวังเมื่อทั้ง 2 คนจับคู่กันถล่มประตูและทำให้แบล็คเบิร์นเบียดลุ้นแชมป์กับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดไปจนถึงนัดสุดท้าย ซึ่งนัดสุดท้ายดัลกลิชต้องพาทีมแบล็คเบิร์นไปเยือนลิเวอร์พูลที่สนามแอนฟิลด์ ในขณะที่แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดต้องออกไปเยือนเวสต์แฮม ยูไนเต็ด โดยก่อนเกมที่แอนฟิลด์อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้ให้สัมภาษณ์ว่าเกมที่แอนฟิลด์อาจจะมีการสมยอมกันเพราะว่าดัลกลิชกับลิเวอร์พูลมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันและให้เอฟเอจับตาดูให้ดี ซึ่งในเวลา 90 นาทีทั้งคู่เสมอกัน 1-1 แต่ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บเจมี เรดแนปป์ก็ปั่นฟรีคิกให้ลิเวอร์พูลชนะแบล็คเบิร์น 2-1 แต่สิ้นเสียงนกหวีดหมดเวลาการแข่งขันแฟนบอลในสนามทั้งสองทีมกลับโห่ร้องแสดงความยินดีกับดัลกลิชเมื่อทราบข่าวว่าแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดไม่สามารถเอาชนะเวสต์แฮม ยูไนเต็ดได้ ทำให้แบล็คเบิร์นคว้าแชมป์ไปครองโดยมีคะแนนมากกว่าเพียง 1 คะแนน

โดยการคว้าแชมป์ของแบล็คเบิร์นครั้งทำให้ดัลกลิชได้แชมป์ลีกไปครองถึง 9 สมัย โดยดัลกลิชเป็นผู้จัดการทีมคนที่ 3 ที่สามารถทำทีม 2 ทีมเป็นแชมป์ลีกสูงสุดได้ ต่อจากเฮอร์เบิร์ต ชาปแมน (อาร์เซน่อลและฮัดเดอร์สฟิลด์ ทาวน์) และ ไบรอัน คลัฟ (ดาร์บี เคาน์ทรีและน็อตติงแฮม ฟอเรสต์)

หลังจากดัลกลิชพาแบล็คเบิร์นเป็นแชมป์ลีกสูงสุด เค้าก็ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมในวันที่ 25 มิถุนายน 1995 โดยก้าวขึ้นไปรับตำแหน่งไดเร็กเตอร์ ฟุตบอลโดยเรย์ ฮาร์ฟอร์ดเข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมคนใหม่ และนั้นก็เป็นจุดที่ทำให้แบล็คเบิร์นทำผลงานได้ตกต่ำมาตลอดจนถึงปัจจุบัน แต่เค้าก็อยู่ในตำแหน่งใหม่นี้ได้ไม่นานก็ลาออกไปโดยให้เหตุผลว่าต้องการพักผ่อนหลังจากเหนื่อยกับเรื่องฟุตบอลมานาน

ในเดือนมิถุนายน 1997 ดัลกลิชกลับเข้ามารับงานในตำแหน่งผู้จัดการทีมอีกครั้งให้กับทีมนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด โดยเข้ามารับหน้าที่แทนเควิน คีแกน โดยดัลกลิชสามารถพาทีมผ่านรอบคัดเลือกรอบที่ 2 ของศึกยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีกเข้าไปเล่นในรอบแบ่งกลุ่มได้ แต่ผลงานในลีกไม่สวยงามนักเมื่อทีมจบที่อันดับที่ 13 และแพ้อาร์เซน่อลในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพ ก่อนที่เค้าจะถูกบอร์ดบริหารของนิวคาสเซิลไล่ออก

ในเดือนมิถุนายน 1999 เค้าเข้ามารับงานในตำแหน่งไดเร็กเตอร์ ฟุตบอลของทีมเซลติก ซึ่งตอนนั้นเค้าดึงจอห์น บาร์นส์เข้ามาเพื่อทำหน้าที่เฮดโค้ช จนทำให้สื่อและแฟนบอลเซลติกวาดฝันว่าทั้งคู่จะทำให้เซลติกกลับมาผงาดอีกครั้ง แต่ด้วยผลงานในสนามที่ไม่ดีนักทำให้บาร์นส์ถูกไล่ออกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2000 โดยในฤดูกาลนั้นเซลติกทำได้เพียงแค่คว้าสก็อตติช ลีก คัพมาครองได้เท่านั้นหลังจากชนะอเบอร์ดีน 2-0 ที่สนามแฮมป์เดน ปาร์ค






ชีวิตส่วนตัว
ดัลกลิชแต่งงานกับมาริน่าซึ่งรอดจากการเสียชีวิตเพราะเป็นมะเร็งเต้านม โดยเธอตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมในเดือนมีนาคม ปี 2003 และได้พักรักษาตัวจากจากการผ่าตัดจนหายดี ทั้งคู่มีลูกด้วยกัน 4 คนโดยเป็นลูกสาว 2 คนคือ ลินเซย์ และลอเรน และมีลูกชาย 2 คนคือ เคลลี และพอล ซึ่งปัจจุบันเล่นฟุตบอลใน MLS กับทีมฮูสตัน ไดนาโม

ในปี 2004 เคนนีและมาติน่าก่อตั้ง The Marina Dalglish Appeal เพื่อเป็นกองทุนช่วยเหลือผู้เป็นมะเร็งเต้านม






สถิติในฐานะของการเป็นนักฟุตบอล









เกียรติยศและถ้วยรางวัลที่ได้รับในฐานะนักฟุตบอล

กับสโมสรเซลติก
แชมป์
แชมป์ดิวิชั่น 1 สก็อตแลนด์/สก็อตติช พรีเมียร์ ลีก - 1971/72, 1972/73, 1973/74, 1976/77
แชมป์สก็อตติช คัพ - 1971/72, 1973/74, 1974/75, 1976/77

รองแชมป์
รองแชมป์ดิวิชั่น 1 สก็อตแลนด์/สก็อตติช พรีเมียร์ ลีก - 1975/76
รองแชมป์สก็อตติช คัพ - 1972/73
รองแชมป์สก็อตติช ลีก คัพ - 1971/72, 1972/73, 1973/74, 1975/76, 1976/77

กับสโมสรลิเวอร์พูล
แชมป์
แชมป์ดิวิชั่น 1 (ลีกสูงสุด) - 1978/79, 1979/80, 1981/82, 1982/83, 1983/84, 1985/86
แชมป์เอฟเอ คัพ - 1985/86
แชมป์ลีก คัพ - 1980/81, 1981/82, 1982/83, 1983/84
แชมป์แชร์ริตี้ ชิลด์ - 1977/78, 1979/80, 1980/81, 1982/83, 1986/87
แชมป์ยูโรเปียน คัพ - 1977/78, 1980/81, 1983/84
แชมป์ยูโรเปียน ซุเปอร์ คัพ - 1977/78

รองแชมป์
รองแชมป์ดิวิชั่น 1 (ลีกสูงสุด) - 1977/78, 1984/85, 1986/87
รองแชมป์ลีก คัพ - 1977/78, 1986/87
รองแชมป์แชร์ริตี้ ชิลด์ - 1983/84, 1984/85
รองแชมป์ยูโรเปียน คัพ - 1984/85
รองแชมป์ยูโรเปียน ซุปเปอร์ คัพ - 1978/79
รองแชมป์ศึกชิงแชมป์สโมสรโลก - 1981/82, 1984/85

เกียรติยศส่วนตัวในฐานะนักเตะ
นักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของ PFA เมื่อปี 1983
Football Writers' Association Player of the Year เมือปี 1979, 1983
ได้รับเกียรติถูกบรรจุลงในฮอลล์ ออฟ เฟรมของอังกฤษ เมื่อปี 2002
ถูกโหวตให้อยู่ในอันดับที่ 1 ในการโหวตของแฟนๆบอลลิเวอร์พูลในเรื่องของนักเตะที่สร้างความสั่นสะเทือนให้กับเดอะ คอปมากที่สุด

กับทีมชาติ
ติดทีมชาติสก็อตแลนด์ทั้งสิ้น 102 เกม ทำได้ 30 ประตู
ได้รับเกียรติถูกบรรจุลงในฮอลล์ ออฟ เฟรมของสก็อตแลนด์
ติด 1 ใน 100 นักเตะยอดเยี่ยมตลอดกาลของฟีฟ่า
ได้รับเกียรติให้เป็นพลงเมืองกิติมศักดิ์ของเมืองกลาสโกว์ในปี 1986






สถิติในฐานะของการเป็นผู้จัดการทีม









เกียรติยศและถ้วยรางวัลที่ได้รับในฐานะผู้จัดการทีม
กับสโมสรลิเวอร์พูล
แชมป์
แชมป์ดิวิชั่น 1 (ลีกสูงสุด) - 1985/86, 1987/88, 1989/90
แชมป์เอฟเอ คัพ - 1985/86, 1988/89
แชมป์แชร์ริตี้ ชิลด์ - 1986/87, 1988/89, 1989/90, 1990/91

รองแชมป์
รองแชมป์ดิวิชั่น 1 (ลีกสูงสุด) - 1986/87, 1988/89, 1990/91
รองแชมป์เอฟเอ คัพ - 1987/88
รองแชมป์ลีก คัพ - 1986/87

กับสโมสรแบล็คเบิร์น โรเวอร์ส
แชมป์
แชมป์เพลย์ออฟ (ดิวิชั่น 1) - 1991/92
แชมป์พรีเมียร์ ลีก - 1994/95

รองแชมป์
รองแชมป์พรีเมียร์ ลีก - 1993/94
รองแชมป์แชร์ริตี้ ชิลด์ - 1994/95

กับสโมสรนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด
รองแชมป์
รองแชมป์พรีเมียร์ ลีก - 1996/97
รองแชมป์เอฟเอ คัพ - 1997/98

กับสโมสรเซลติก
แชมป์
แชมป์สก็อตติช ลีก คัพ - 1999/2000

รองแชมป์
รองแชมป์สก็อตติช พรีเมียร์ ลีก - 1999/2000

เกียรติยศส่วนตัวในฐานะผู้จัดการทีม
ผู้จัดการยอดเยี่ยมประจำปี - 1985/96, 1987/88, 1989/90, 1996/97


ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Kenny_Dalglish

























 


เอริก กองโตนา



จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



 

















































เอริก คันโตนา
เอริก
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม Éric Daniel Pierre Cantona
วันเกิด 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1966
สถานที่เกิด มาร์กเซย ประเทศฝรั่งเศส
ส่วนสูง 185 ซ.ม. (6 ฟุต 2 นิ้ว)
ชื่อเล่น/ฉายา Eric the King
ตำแหน่ง กองหน้า
สโมสรเยาวชน
1981-1983 โอแซร์
สโมสรอาชีพ*
ปี สโมสร ลงเล่น (ประตู)
1983-1985
1985-1986
1986-1988
1988-1989
1989
1989-1990
1990-1991
1991
1992
1992-1997
โอแซร์
มาร์ตีกส์
โอแซร์
โอลิมปิกมาร์กเซย
บอร์กโดช์
มงเปลลิเยร์
โอลิมปิกมาร์กเซย
นีมส์
ลีดส์ยูไนเต็ด
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
-
ทีมชาติ
1987-1994 ฝรั่งเศส -

* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้ทีมสโมสร
นับเฉพาะลงเล่นในประเทศ


เอริก แดเนียล ปิแอร์ กองโตนา (Éric Daniel Pierre Cantona) (เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) ที่เมือง มาร์กเซย์ ประเทศฝรั่งเศส) เล่นฟุตบอลอาชีพกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เป็นสโมสรสุดท้าย ซึ่ง คันโตนา ประสบความสำเร็จได้แชมป์พรีเมียร์ลีก ถึง 4 สมัย ภายในเวลา 5 ปี รวมไปถึงการคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกและฟุตบอลถ้วย เอฟเอคัพ ภายในฤดูกาลเดียวกันอีกสองสมัย


ในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ได้รับการโหวตจากแฟนๆ ของทีม ให้เป็นนักฟุตบอลแห่งศตวรรษ แฟนๆ ยังคงกล่าวถึงคันโตนา โดยเรียกเขาว่า เอริก เดอะ คิง จนถึงทุกวันนี้






 




 การเล่นฟุตบอลในฝรั่งเศส


คันโตนา เริ่มเล่นฟุตบอลกับสโมสรโอลิมปิกมาร์กเซย(โอ'แอม) เป็นคนที่ค่อนข้างหัวเสียง่าย มีอยู่ครั้งหนึ่ง ในขณะที่ลงแข่งขันนัดกระชับมิตร กับ ทีมตอร์ปิโด มอสโก เขาถูกเปลี่ยนตัวออก แล้วได้แสดงอาการไม่พอใจ ด้วยการ ฉีกเสื้อและขว้างมันทิ้ง เขาถูกลงโทษห้ามลงแข่งเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้น สองถึงสามสัปดาห์ เขาก็ได้ออกมากล่าวโจมตี โค้ชทีมชาติฝรั่งเศสทางทีวีอีกด้วย


กองโตนาย้ายสู่ บอร์กโดซ์ ด้วยสัญญายืมตัว หลัง จากนั้นก็ได้ย้ายไปเล่นให้กับ มงเปลลิเย่ร์ ซึ่งเขาได้สัมผัสกับถ้วยแชมป์ เฟร้นช์ คัพ เป็นครั้งแรก ก่อนจะถูก มาร์กเซย์ดึงตัวกลับมา แต่ เขาก็ยังถูกขายให้กับ นีมส์


เขาถูกห้ามลงแข่งขันอีกครั้งเป็นเวลา 1 เดือน จากการขว้างบอลใส่ผู้ตัดสิน และกองโตนาก็ให้สัมภาษณ์วิจารณ์คำตัดสิน จึงถูกลงโทษเพิ่มเป็น 2 เดือน และนี่เองเปรียบเสมือนฟางเส้นสุดท้ายของคันโตนา เขาจึงตัดสินใจ แขวนสตั๊ด


ต้องขอบคุณแฟนฟุตบอลพันธ์แท้รายหนึ่ง ที่ชักจูงให้คันโตนากลับมาเริ่มต้นเล่นฟุตบอลอีกครั้ง ที่ประเทศอังกฤษ



การเล่นฟุตบอลในอังกฤษ



src=http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/6/6b/Eric_Cantona_Nike.jpg/250px-Eric_Cantona_Nike.jpg

src=http://th.wikipedia.org/skins-1.5/common/images/magnify-clip.png
ภาพเอริก คันโตนาจากโฆษณาของไนกี้ ข้อความในภาพเขียนว่า ปี '66 คือปีที่ยิ่งใหญ่ของฟุตบอลอังกฤษเนื่องจากเอริกเกิด

หลังจากมาทดสอบฝีเท้ากับสโมสร เชฟฟิลด์ เว้นส์เดย์ คันโตนา ก็ได้ย้ายเข้าสู่สโมสร ลีดส์ ยูไนเต็ด ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) คันโตนาพายูงทองเถลิงบัลลังก์แชมป์ดิวิชั่น 1(เดิม)ได้ทันทีในฤดูกาลนั้นเอง (1991-1992)เดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนั้น คันโตนาก็ย้ายสโมสรอีกครั้งหนึ่ง เข้าสังกัดทีมปีศาจแดง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ด้วยค่าตัวที่ปีศาจแดงจ่ายให้กับลีดส์เพียงแค่ 1.2 ล้านปอนด์ เท่านั้น


ขณะนั้นทีมปีศาจแดงกำลังประสบกับปัญหาปืนฝืด ไม่สามารถทำประตูคู่แข่งได้เนื่องมาจากการที่สโมสรขาย มาร์ค โรบิน และ ดิออน ดับลิน ประสบปัญหาการบาดเจ็บ


อย่างไรก็ตาม คันโตนาปรับตัวเข้ากับสโมสรแห่งใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ตัวเขาสามารถทำประตูและส่งให้เพื่อนร่วมทีมทำประตูได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ


2 ฤดูกาลต่อมา ยูไนเต็ดประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่ง คว้าแชมป์ลีกในปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993)และ ดับเบิ้ลแชมป์ในปี พ.ศ. 2537(ค.ศ. 1994)ซึ่งคันโตนาทำประตูจากลูกจุดโทษสองประตูถล่ม เชลซี ในนัดชิงชนะเลิศ เอฟเอคัพ 4-0


คันโตนาก่อเรื่องน่าอายขึ้นในเกมเยือน คริสตัลพาเลซ เดือนมกราคม ฤดูกาลถัดมา(พ.ศ. 2538)(ค.ศ. 1995) เมื่อกระโดดถีบใส่ แมทธิว ซิมม่อนส์ แฟนบอลทีมเจ้าบ้าน หลังจากโดนผู้ตัดสินไล่ออกจากสนาม


ในงานแถลงข่าวภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว กลุ่มนักข่าวพากันมารอสัมภาษณ์คันโตนา ซึ่งคันโตนาได้เดินเข้ามานั่ง ก่อนจะกล่าวว่า เมื่อนกนางนวลบินตามเรือประมง...ก็เพราะพวกมันคิดว่าปลาซาร์ดีนจะถูกโยนลงมาในทะเล เพียงเท่านี้เขาก็ลุกออกจากห้องไป สร้างความงุนงงให้กับกองทัพนักข่าวทั้งหลาย


คันโตนาถูกศาลชั้นต้นสั่งลงโทษจำคุกเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะเปลี่ยนบทลงโทษให้เป็นทำงานบริการสังคมเป็นเวลา 120 ชั่วโมงแทน นอกจากนี้สมาคมฟุตบอลอังกฤษยังสั่งลงโทษคันโตนาห้ามลงสนามจนกว่าจะถึงเดือนตุลาคมอีกด้วย


มีการคาดการณ์กันไปต่างๆ นานา ว่าคันโตนา

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์