มุมสบายๆเพื่อพี่ๆน้องๆ(ของผม)





“คาราบาว” ก่อตั้งโดยเพื่อ 3 คน ที่ไปเรียนด้วยกันที่ประเทศฟิลิปปินส์
ได้แก่ “ยืนยง โอภากุล” (แอ๊ด), “กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร” (เขียว)
และ “สานิตย์ ลิ่มศิลา” (ไข่) แอ๊ดกับเขียวไปเรียนวิชา สถาปัตยกรรม
ศาสตร์ พอกลับมาเมืองไทย แอ๊ดได้งานเป็นสถาปนิกที่การเคหะแห่งชาติ
แต่ไม่นานก็ลาออกมาตระเวนเล่นดนตรีตอนกลางคืนกับเขียว และไข
่ โดยใช้ชื่อวงว่า “คาราบาว” คำว่า “คาราบาว” เป็นภาษาตากาล็อก ภาษา
ประจำชาติของฟิลิปปินส์ มีความหมายว่า “ควาย” สาเหตุที่ใช้ชื่อนี้ เพราะ
แอ๊ดต้องการสื่อถึงการต่อสู้ที่มีความ “อึด” และ “ทน” ทางความคิด ผ่าน
ทางบทเพลงที่เขาเขียนขึ้น


ปี 2521 ไข่เลิกเล่นดนตรีไปรับเหมาก่อสร้าง

ปี 2524
อัลบั้ม “ขี้เมา” คือ ผลงานชุดแรกของวงคาราบาว
ที่ออกโดยแอ๊ด และเขียว หลังจากนั้นไม่นาน “ปรีชา ชนะภัย” (เล็ก)
ซึ่งเป็นเพื่อนแอ๊ดสมัยเรียนอยู่ที่อุเทนถวาย ก็ได้ลาออกจากวง
เพรสซิเดนท์ เข้ามาร่วมในวงคาราบาว

ปี 2525 ออกอัลบั้ม “แป๊ะขายขวด” ชุดนี้มี เล็ก มาเป็นสมาชิกเพิ่มขึ้น
อีกหนึ่งคน อัลบั้มชุดนี้ทำกับ บริษัทพีค็อก ออกเทปมาประมาณ 20,000
ม้วน ต่อมากลายเป็นอัลบั้มที่มีการซื้อขายในกลุ่มนักสะสมเทปด้วยราคา
สูงถึง 2,000 บาท ผ่านไป 2 อัลบั้ม ถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไร

ปี 2526 ออกอัลบั้ม “วณิพก” ซึ่งเพลงวณิพกนี่เอง ที่ทำให้วงคาราบาวเป็นที่รู้จักมากขึ้น ด้วยจังหวะเพลง และเนื้อหาที่แปลกไปจากเพลงไทยในสมัยนั้น ถัดมาไม่กี่เดือนก็ออกอัลบั้ม “ท.ทหารอดทน” มีนักดนตรีรับเชิญมาร่วมสร้างสีสันดนตรีให้แน่นขึ้น มีเพลงฮิตคือ
ทินเนอร์ กับ ท.ทหารอดทน หลังจากออกอากาศได้ไม่นานก็โดนแบน

ปี 2527 ออกอัลบั้ม “เมด อิน ไทยแลนด์” ซึ่งถือเป็นสุดยอดอัลบั้ม
ประวัติศาสตร์ของวงคาราบาว และของประเทศไทยมียอดขายสูงกว่า 3
ล้านชุด ด้วยบทเพลงที่ดังทั้งชุด รวมถึงบุคคลิกของสมาชิก และการแสดง
บนเวทีที่ไม่เหมือนใคร ส่งผลให้ความแรงของผลงานชุดนี้ ไม่ได้หยุด
อยู่แต่เฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น แต่โด่งดังไปทั่วแถบภูมิภาคเอเชีย
รวมทั้งอเมริกา และเยอรมัน ต่างก็รู้จักวงคาราบาวเป็นอย่างดี

ปี 2528 วงคาราบาวเปิดการแสดงคอนเสิร์ตครั้งใหญ่ “ทำโดยคนไทย”
ที่สนามกีฬาเวโลโดรม หัวหมาก เป็นคอนเสิร์ตที่มีผู้ร่วมชมมากกว่า
50,000 คน และได้รับการเรียกขานว่าเป็น “เหตุการณ์ประวัติศาสตร์
ทางดนตรีกลางแจ้ง” และเป็นยุคที่คาราบาวมีสมาชิก 7 คน เรียกว่า
“สมาชิกยุคคลาสสิก” ได้แก่


- ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด)
- กีรติ พรหมสาขา ณ สกลนคร (เขียว)
- ปรีชา ชนะภัย (เล็ก)
- เทียรี่ เมฆวัฒนา (รี่)
- นุพงษ์ ประถมปัทมะ (อ๊อด)
- อำนาจ ลูกจันทร์ (เป้า)
- ธนิศร์ ศรีกลิ่นดี (อาจารย์)


หลังจากอัลบั้ม “เมด อิน ไทยแลนด์” วงคาราบาวยังคงยืนหยัดมีผลงาน
ออกมาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ อีกทั้งดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องปกติ ที่ทุก
อัลบั้มจะต้องมีเพลงถูกสั่งระงับการออกอากาศ

ปี 2531 ออกอัลบั้มชุด “ทับหลัง” ผลงานชุดสุดท้ายที่สมาชิกคาราบาวยุค
คลาสสิกทำงานร่วมกัน ก่อนจะแยกย้ายกันไป คงเหลือแต่ แอ๊ด อ๊อด เล็ก
ที่เป็นสมาชิกดั้งเดิมอยู่ โดยมีนักดนตรีคนอื่นๆ ที่มีฝีมือมาเล่นแทนใน
ตำแหน่งของสมาชิกที่ออกไป

ปี 2538 ครบรอบ 15 ปี ที่มีการตั้งวงคาราบาว สมาชิกยุคคลาสสิกกลับมา
รวมตัวทำงานร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง ออกอัลบั้มชุด “คาราบาว 15 ปีหากหัวใจ
ยังรักควาย” พร้อมทั้งตระเวนเล่นคอนเสิร์ตทั่วประเทศ ก่อนแยกย้ายกัน
ไปในเวลาต่อมา

ปัจจุบันแอ๊ดยังคงเดินหน้าทำงานสร้างสรรค์จุดประกายความคิดทางสังคม
ผ่านเสียงเพลงต่อไปกับวงคาราบาว อ๊อดอยู่กับวงตลอด ร่วมกับ “ลือชัย
งามสม” (ดุก), “ชูชาติ หนูด้วง” (โก้), “ขจรศักดิ์ หุตะวัฒนะ” (หมี), “ศยาพร
สิงห์ทอง” (น้อง), เล็ก และเทียรี่ก็ได้หวนกลับมาเล่นกับคาราบาวอีกครั้ง
ในอัลบั้มล่าสุด

ปี 2546 เพื่อฉลองครบรอบ 20 ปีสมาชิกคาราบาวทุกยุคจะกลับมารวมตัว
กันเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อร่วมสร้างตำนานอันยิ่งใหญ่ ในคอนเสิร์ต “20 ปี
คาราบาว เรื่องราวของกลุ่นคน ดนตรี และเขาควาย”







เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์