เกาะติด ยูโร 2008 โปแลนด์ & เนเเธอร์แลนด์

โปแลนด์ : ยากยิ่งซะจริง ๆ กับการผ่านรอบแรก
กลุ่ม B

โปรแกรมการแข่งขัน

8 มิ.ย.2008 เยอรมนี - โปแลนด์ 01.45 น.
12 มิ.ย.2008 ออสเตรีย - โปแลนด์ 01.45 น.
16 มิ.ย.2008 โครเอเชีย - โปแลนด์ 01.45 น.

ผลงานในรอบคัดเลือกยูโร 2008

แข่ง 14, ชนะ 8, เสมอ 4, แพ้ 2, ได้ 24, เสีย 12, แต้ม 28

วัน/เดือน/ปี 2 กันยายน 2549, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน แพ้ ฟินแลนด์, ผล 1-3
วัน/เดือน/ปี 6 กันยายน 2549, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน เสมอ เซอร์เบีย, ผล 1-1
วัน/เดือน/ปี 7 ตุลาคม 2549, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน ชนะ คาซัคสถาน, ผล 1-0
วัน/เดือน/ปี 11 ตุลาคม 2549, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน ชนะ โปรตุเกส, ผล 2-1
วัน/เดือน/ปี 15 พฤศจิกายน 2549, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน ชนะ เบลเยียม, ผล 1-0
วัน/เดือน/ปี 24 มีนาคม 2550, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน ชนะ อาเซอร์ไบจาน, ผล 5-0
วัน/เดือน/ปี 28 มีนาคม 2550, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน ชนะ อาร์เมเนีย, ผล 1-0
วัน/เดือน/ปี 2 มิถุนายน 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน ชนะ อาเซอร์ไบจาน, ผล 3-1
วัน/เดือน/ปี 6 มิถุนายน 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน แพ้ อาร์เมเนีย, ผล 0-1
วัน/เดือน/ปี 8 กันยายน 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน เสมอ โปรตุเกส, ผล 2-2
วัน/เดือน/ปี 12 กันยายน 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน เสมอ ฟินแลนด์, ผล 0-0
วัน/เดือน/ปี 13 ตุลาคม 2550, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน ชนะ คาซัคสถาน, ผล 3-1
วัน/เดือน/ปี 7 พฤศจิกายน 2550, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน ชนะ เบลเยียม, ผล 2-0
วัน/เดือน/ปี 21 พฤศจิกายน 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน เสมอ เซอร์เบีย, ผล 2-2

ถึงจะทำผลงานในฟุตบอลโลกได้ค่อนข้างดี แต่ยูโร 2008 นี้ คือ ครั้งแรกที่ทีมโปแลนด์ ผ่านเข้าไปในเล่นรอบสุดท้ายได้ โดยเป็นอันดับ 1 ของกลุ่ม A ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวเท่านั้นที่มีทีมร่วมกลุ่มถึง 8 ทีม

ทั้ง ๆ ที่เริ่มต้นได้อย่างน่าผิดหวังใน 2 นัดแรกในบ้าน ด้วยการแพ้ ฟินแลนด์ 1-3 และเสมอ เซอร์เบีย 1-1 แต่โปแลนด์ภายใต้การคุมทีมของ ลีโอ บีนฮัคเกอร์ กลับมาเอาชนะได้ 6 นัดติดต่อกัน รวมทั้งการเอาชนะคู่แข่งอย่างโปรตุเกส 2-1 ด้วย 2 ประตูของ ยูเซบิอุส สโมลาเร็ค ซึ่งทำประตูในรอบคัดเลือกได้ทั้งหมด 9 ประตู ทำให้ในที่สุดสามารถเบียดโปรตุเกสตกลงไปเป็นอันดับ 2 คว้าแชมป์กลุ่มมาครองได้

ผลงานในฟุตบอลโลก 2006

โปแลนด์ลงเล่นรอบคัดเลือก แพ้ อังกฤษทั้งเหย้าและเยือน แต่เอาชนะอีก 5 ทีมร่วมกลุ่มได้หมดทั้งเหย้าและเยือน 8 นัด โดยปราบทั้งออสเตรีย, อาเซอร์ไบจาน, ไอร์แลนด์เหนือ และเวลส์ แต่ในรอบสุดท้ายที่เยอรมนี พวกเขาพ่ายเอกวาดอร์ อย่างน่าผิดหวัง 0-2 ตามด้วยการแพ้เจ้าภาพเยอรมนี 0-1 แม้นัดสุดท้ายจะชนะคอสตาริกา 2-1 แต่ก็ต้องตกรอบแรกกลับบ้านไปตามระเบียบ

ผลงานในยูโร 2004

แม้ว่าจะผ่านเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลก 2002 มาหยก ๆ แต่โปแลนด์กลับตกรอบคัดเลือกฟุตบอลยูโรอีกจนได้ โดยเข้าเป็นที่ 3 ตามหลัง สวีเดน และม้ามืดอย่างลัตเวีย ในการเล่น 8 นัด โปแลนด์ ชนะ 4 เสมอ 1 และแพ้ถึง 3 ทำให้ตามหลังอันดับ 2 ลัตเวีย 3 คะแนน ไม่ได้ลุ้นแม้แต่การเล่นเพลย์ออฟสำหรับทีมอันดับ 2

เลข 13 กลายเป็นเลขนำโชคของโปแลนด์ เพราะยูโร 2008 นี้คือ ครั้งที่ 13 ที่พวกเขาเข้าร่วมรอบคัดเลือก และพลาดท่าตกรอบมาโดยตลอด รวมแล้วเล่นรอบคัดเลือกมาทั้งหมด 90 นัด ชนะ 38 เสมอ 24 แพ้ 28 ยังได้ 131 ประตู เสีย 100 ประตู

กลยุทธ์การเล่นของโปแลนด์

โค้ชชาวดัตช์ ลีโอ บีนฮัคเกอร์ เข้ามารับงานต่อจาก พาเวล ยานาส หลังการตกรอบฟุตบอลโลก 2006 และทำท่าว่าจะเจองานยาก เมื่อกำลังหลัก มิโรสลาฟ ซิมโคเวียค ประกาศเลิกเล่นทีมชาติหลังรอบคัดเลือกนัดแรกแพ้ฟินแลนด์คาบ้านตามด้วยผู้รักษาประตู เจอร์ซี ดูเด็ก ไม่ได้โอกาส ลงเป็นตัวจริงในสโมสรลิเวอร์พูล บีนฮัคเกอร์ จึงต้องเลือกใช้วอจเซียส โควาลูสกี ในตำแหน่งนายประตู และต่อมาลงตัวที่ อาร์เธอร์ โบรุค และแทนตำแหน่งของ ซิมโคเวียค ด้วย มาเซียจ ซูรอฟสกี ซึ่งสามารถทำได้ดีกับบทบาทกัปตันทีม และกองกลางตัวจ่าย

บีนฮัคเกอร์ มักจะสลับระบบการเล่นไปมาระหว่าง 4-4-2, 4-5-1 และ 4-3-3 โดยเลือกใช้ปีกที่มีความเร็วอย่าง ยาคุบ บราซซีคอฟสกี และ ยาเซ็ค เคอร์ซีโนเว็ค และกองกลางที่ถนัดเกมรับอย่าง ดาริอุสซ์ ดุดกา และ มาริอุสซ์ เลวานดอฟสกี ส่วนในตำแหน่งแบ๊กโฟร์ มีปัญหานักเตะบาดเจ็บจนไม่แน่ว่าจะมีใครได้เป็นตัวจริงบ้าง ขณะที่กองหน้านอกจากจะมี สโมลาเร็ค ซึ่งมักจะเล่นตำแหน่งกองกลางตัวรุก หรือกองหน้าตัวต่ำ พวกเขายังมีตัวเลือกอย่าง มาเร็ค ซากานอฟสกี, โทมาสซ์ ซาฮอร์สกี และ โวจ์เช็ก โลบ็อดซินสกี

อย่างไรก็ดีการอยู่รวมกลุ่มกับออสเตรีย เจ้าภาพ และทีมแกร่งอย่างเยอรมนี และโคร เอเชีย การผ่านรอบแรกของโปแลนด์คงจะไม่ใช่เรื่องง่าย และน่าจะมีโอกาสเข้ารอบไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์.

ข้อมูลจำเพาะโปแลนด์

กัปตันทีม : มาเซียจ ซูรอฟสกี
อันดับโลกล่าสุด : 33
ผลงานที่ดีที่สุดในยูโร : เข้ารอบสุดท้าย
ผลงานในฟุตบอลยูโรครั้งที่ผ่านมา : 1960 ถึง 2004 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก, 2008 - เข้ารอบสุดท้ายในฐานะอันดับหนึ่งของกลุ่ม A, 2012 - เป็นเจ้าภาพร่วมกับยูเครน

     โค้ช : ลีโอ บีนฮัคเกอร์
     โค้ชชาวดัตช์ ผู้มีประสบการณ์โชกโชน ได้ผ่านอาชีพโค้ชมาแล้วกว่า 40 ปี และมีผลงาน สุดยอด เพื่อพาทีมนอกสายตาอย่าง ตรินิแดดและโตเบโก ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายฟุตบอลโลก 2006 มาแล้ว

     เขาเริ่มงานโค้ชตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเริ่มงานเป็นผู้ช่วยโค้ชที่สโมสรโกอะเฮด อีเกิลส์ ในปี 1967 และเป็นโค้ชเต็มตัวที่ ทีมบีวี เวน แดม ตามด้วยงานที่ เอสซี แคมเบอร์ และโกอะเฮดอีเกิลส์ ก่อนจะรับหน้าที่โค้ชทีมเยาวชนให้เฟเยนูร์ด รอตเตอร์ดัม และย้ายมาคุมทีมเยาวชน ไอแอกซ์ อัมสเตอร์ดัม ในปี 1978 ในปีต่อมาคือ 1979 เขาเลื่อนขึ้นคุมทีมชุดใหญ่ของ ไอแอกซ์ และสามารถพาทีมคว้าแชมป์ดัตช์ลีกได้ในฤดูกาล 1979-1980 ตามด้วยการพาไอแอกซ์ เข้าถึงรอบรองชนะเลิศฟุตบอลสโมสรยุโรปถ้วยใหญ่

เขาออกรับงานต่างประเทศครั้งแรกในสเปน เมื่อมีนาคม 1981 และอยู่กับ รีล ซาราโกซา ถึง 3 ฤดูกาล ก่อนจะกลับเนเธอร์แลนด์มาคุมทีม โวเลนแดม ในปี 1985 แต่เพียง 7 นัดกับทีม เขาก็ถูกดึงตัวไปอยู่กับทีมยักษ์ใหญ่รีล มาดริด และประสบความสำเร็จอย่างสูงด้วยการพาทีมครองแชมป์ลีกสเปน 3 ฤดูกาลติดต่อกัน รวมทั้งคว้าถ้วยสแปนิช อีก 1 ครั้ง ด้วย เขากลับไปคุมทีมไอแอกซ์อีกรอบ และพาทีมคว้าแชมป์ดัตช์ลีก 1989/90 ต่อด้วยการเข้ารับหน้าที่คุมทีมชาติเนเธอร์แลนด์สู้ ศึกฟุตบอลโลก 1990 ซึ่งเขาสามารถพาทีมอัศวินสีส้มเข้าถึงรอบสอง เขากลับไปคุม รีล มาดริดอีกรอบในช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนจะพเนจร ไปอยู่กับ กราสฮอปเปอร์ ซูริก ในสวิตเซอร์แลนด์ ไปซาอุดีอาระเบีย ไปเม็กซิโก กับทีมคลับอเมริกา และกัวดาลาฮารา ตามด้วยไปตุรกี กับ อิสตันบุลสปอร์ เขากลับบ้านในปี 1996 ไปอยู่กับทีมวิเทสเซ และย้ายไปคุมเฟเยนูร์ดในปีต่อมา และพา เฟเยนูร์ด คว้าแชมป์ดัตช์ลีก 1998/99 เขาพักงานโค้ชไปเป็นผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคให้ไอแอกซ์ ในปี 2000-2003 ก่อนจะกลับไปเป็นโค้ชให้คลับอเมริกา ในเม็กซิโกอีกครั้ง เขากลับเนเธอร์แลนด์มาเป็นที่ปรึกษาฝ่ายเทคนิคให้เดอ กราฟชาป ก่อนจะตกลงไปคุมทีมชาติตรินิแดดและโตเบโกเมื่อ พฤษภาคม 2005 และพาทีมเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลก 2006 ได้สำเร็จ

แม้จะตกรอบแรกที่เยอรมนี แต่สำหรับทีมเล็ก ๆ อย่างตรินิแดดและโตเบโก นั่นคือ ความสำเร็จสูงสุดที่น่าภูมิใจของประเทศแล้ว หลังจบฟุตบอลโลก 2006 เขาจึงได้เข้ารับงานคุมทีมชาติโปแลนด์ เมื่อกรกฎาคม 2006 และมีเวลาเตรียมทีมลงรอบคัดเลือกยูโร 2008 เพียง 2 เดือน แต่ในที่สุดเขาก็ทำสำเร็จ และได้รับการต่อสัญญาไป จนถึงปี 2010 เพื่อคุมทีมสู้ศึกฟุตบอลโลก 2010ต่อไปด้วย.

ดาราทองของโปแลนด์ : วลอดซิเมียร์ซ ลูบันสกี

เขาคือผู้ครองสถิติยิงประตูให้ทีมชาติโปแลนด์สูงสุด 50 ประตู จาก 80 นัด เป็นนักเตะที่เริ่มติดทีมชาติอายุน้อยที่สุดเพียง 16 ปี และสามารถประเดิมทำประตูได้ ในนัดแรกที่ลงเล่นทีมชาติในการพบกับนอร์เวย์ ซึ่งโปแลนด์ชนะถึง 9-0 เมื่อกันยายน 1963 และเล่นให้ทีมชาตินานถึง 17 ปี

ลูบันสกี เริ่มเล่นฟุตบอลอาชีพกับทีมโนวา กลิไวซ์ แต่อยู่ยาวนานกับ กอร์นิค ซาเบร ซึ่งเขาร่วมทีมคว้าแชมป์ลีก 7 สมัย และได้เป็นดาวยิงสูงสุดของลีก 4 ฤดูกาลติดต่อกัน จาก 1966-69 และในปี 1970 ก็ได้ลงให้กอร์นิค ชิงชนะเลิศคัพวินเนอร์ส คัพ กับ แมนเชสเตอร์ ซิตี แม้จะแพ้ไป 1-2 ได้แค่รองแชมป์ แต่ลูบันสกี ได้เป็นดาวยิงสูงสุดของการแข่งขันสโมสรยุโรปในปีนั้น ด้วยผลงาน 7 ประตู

2 ปีต่อมาเขาเป็นกัปตันทีมพาโปแลนด์ คว้าเหรียญทองในฟุตบอลโอลิมปิก 1972 ที่มิวนิก โดยชนะฮังการี 2-1 ในรอบชิงชนะเลิศ เขาได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากการปะทะ กับ รอย แม็คฟาร์แลนด์ ของอังกฤษ ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1974 รอบคัดเลือกจนเกือบต้องเลิกเล่นฟุตบอล เขาต้องใช้ เวลาถึง 2 ปี ในการ ฟื้นฟูสภาพจนสามารถกลับมาเล่นฟุตบอลระดับอาชีพได้อีก แต่ต้อง รอจนถึง 1977 จึงได้ลงเล่นให้ทีมชาติโปแลนด์อีกครั้ง

ในปี 1975 เขาย้ายออกนอกประเทศไปเล่นในเบลเยียมกับสโมสรโลเคเรน โดยอยู่กับทีมจนเลิกเล่นฟุตบอลอาชีพ และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยโค้ชให้โลเคเรน ฝึกสอนกองหน้า และพักอยู่ในเบลเยียมตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

ลูบันสกี เป็นนักเตะที่มีพรสวรรค์ มีความเร็วสูง ฉลาด แข็งแรง และมีความสง่างามในการเล่น ทำให้เป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องจากเพื่อนร่วมทีมเสมอมา.

รายชื่อ 23 นักเตะโปแลนด์ที่ติดทีมไปแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008



ผู้รักษาประตู

เบอร์ 1, ชื่อ อาร์เธอร์ โบรุค, สโมสร กลาสโกว์ เซลติก/สกอตแลนด์
เบอร์ 12, ชื่อ โทมัสซ์ คุสซ์แซ็ค, สโมสร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด/อังกฤษ
เบอร์ 22, ชื่อ ลูคัส ฟาเบียนสกี, สโมสร อาร์เซนอล/อังกฤษ

กองหลัง

เบอร์ 13, ชื่อ มาร์ซิน วาซิเลฟสกี, สโมสร อันเดอร์เลชท์/เบลเยียม
เบอร์ 4, ชื่อ พาเวล โกลันสกี, สโมสร สเตอัว บูคาเรสต์/โรมาเนีย
เบอร์ 2, ชื่อ มาริอุสซ์ จ็อป, สโมสร เอฟซี มอสโก/รัสเซีย
เบอร์ 6, ชื่อ ยาเซ็ค บัค ออสเตรีย, สโมสร เวียนนา/ออสเตรีย
เบอร์ 14, ชื่อ มิชาล เซฟลาคอฟ, สโมสร โอลิมเปียกอส/กรีซ
เบอร์ 23, ชื่อ อดัม โคคอสซ์กา, สโมสร วิสลา คราคอฟ
เบอร์ 3, ชื่อ ยาคุบ วาเวอร์ซีเนียค, สโมสร ลีเกีย วอร์ซอ

กองกลาง

เบอร์ 18, ชื่อ มาริอุสซ์ เลวานดอฟสกี, สโมสร ชัคเตอร์ โดเนตส์ค/ยูเครน
เบอร์ 5, ชื่อ ดาริอุสซ์ ดุดกา, สโมสร วิสลา คราคอฟ
เบอร์ 16, ชื่อ ยาคุบ บราซซีคอฟสกี, สโมสร โบรุสเซีย ดอร์ตมุนด์/เยอรมนี
เบอร์ 19, ชื่อ ราฟาล มูรอฟสกี, สโมสร เลช พอซนัน
เบอร์ 15, ชื่อ มิชาล พาซดาน, สโมสร กอร์นิค ซาเบอร์เซ
เบอร์ 10, ชื่อ ลูคาสซ์ การ์กูลา, สโมสร จีเคเอส เบลชาตอฟ
เบอร์ 8, ชื่อ ยาเซ็ค เคอร์ซีโนเว็ค, สโมสร โวล์ฟสบวร์ก/เยอรมนี
เบอร์ 20, ชื่อ โรเจอร์ เกร์เรโร, สโมสร ลีเกีย วอร์ซอว์

กองหน้า

เบอร์ 9, ชื่อ มาเซียจ ซูรอฟสกี, สโมสร ลาริสซา/กรีซ
เบอร์ 7, ชื่อ ยูเซบิอุส สโมลาเร็ค, สโมสร ราซิง ซานตานเดร์/สเปน
เบอร์ 11, ชื่อ มาเร็ค ซากานอฟสกี, สโมสร เซาแธมป์ตัน/อังกฤษ
เบอร์ 21, ชื่อ โทมาสซ์ ซาฮอร์สกี, สโมสร กอร์นิค ซาเบอร์เซ
เบอร์ 17, ชื่อ โวจ์เช็ก โลบ็อดซินสกี, สโมสร วิสลา คราคอฟ
เนเธอร์แลนด์ : ถ้าไม่มีตัวเจ็บและเข้าฟอร์ม ก็น่าจะเข้าถึงรอบสอง

กลุ่ม C

โปรแกรมการแข่งขัน

9 มิ.ย. 2008 ฮอลแลนด์ - อิตาลี 01.45 น.
13 มิ.ย. 2008 ฮอลแลนด์ - ฝรั่งเศส 01.45 น.
17 มิ.ย. 2008 ฮอลแลนด์ - โรมาเนีย 01.45 น.

ผลงานในรอบคัดเลือกยูโร 2008

แข่ง 12, ชนะ 8, เสมอ 2, แพ้ 2, ได้ 15, เสีย 5, แต้ม 26

วัน/เดือน/ปี 2 กันยายน 2549, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน ชนะ ลักเซมเบิร์กม, ผล 1-0
วัน/เดือน/ปี 6 กันยายน 2549, สถานที่ เหย้, คู่แข่งขัน ชนะ เบลารุส, ผล 3-0
วัน/เดือน/ปี 11 ตุลาคม 2549, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน ชนะ แอลเบเนีย, ผล 2-1
วัน/เดือน/ปี 24 มีนาคม 2550, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน เสมอ โรมาเนีย, ผล 0-0
วัน/เดือน/ปี 28 มีนาคม 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน ชนะ สโลเวเนีย, ผล 1-0
วัน/เดือน/ปี 8 กันยายน 2550, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน ชนะ บัลแกเรีย, ผล 2-0
วัน/เดือน/ปี 12 กันยายน 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน ชนะ แอลเบเนีย, ผล 1-0
วัน/เดือน/ปี 13 ตุลาคม 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน แพ้ โรมาเนีย, ผล 0-1
วัน/เดือน/ปี 17 ตุลาคม 2550, สถานที่ เหย้, คู่แข่งขัน ชนะ สโลเวเนีย, ผล 2-0
วัน/เดือน/ปี 17 พฤศจิกายน 2550, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน ชนะ ลักเซมเบิร์ก, ผล 1-0
วัน/เดือน/ปี 21 พฤศจิกายน 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน แพ้ เบลารุส, ผล 1-2
แม้ว่าจะเข้าเป็นอันดับสองของกลุ่ม รองจากโรมาเนีย ซึ่งจะได้ร่วมอยู่กลุ่มเดียวกันอีกครั้งในรอบสุดท้าย แต่เนเธอร์แลนด์ก็ไม่ตกอยู่ในฐานะที่อันตรายแต่อย่างใด และมีคะแนนมากพอ สำหรับการเข้ารอบสุดท้าย ได้ตั้งแต่นัดที่ 11 โดยเสียคะแนนให้โรมาเนียมากที่สุด จากการเสมอที่รอตเธอร์ดัม 0-0 และออกไปพ่ายที่คอนสแตนตา 0-1 และได้เข้ารอบแน่นอนเมื่อเฉือนเอาชนะทีมรองบ่อนอย่างลักเซมเบิร์กได้ 1-0 ในบ้านจากประตูของ แดนนี โคเวอร์มานส์ ทำให้นัดสุดท้ายออกไปเยือนเบลารุสอย่างขาดความมุ่งมั่น และพ่ายไป 1-2 โดยรวมแล้วแม้จะยังมีผลงานที่ดี แต่ปัญหาของทีมดัตช์ ก็คือ การทำประตู ที่ไม่ค่อยคงเส้น คงวา และยิงได้เพียง 15 ประตูเท่านั้น จาก 12 นัด ขณะที่โรมาเนีย เพื่อนร่วมกลุ่ม ยิงได้ถึง 26 ประตู และบัลแกเรีย ที่เข้าอันดับ 3 ก็ยังยิงได้มากกว่าที่ 18 ประตู

ผลงานในฟุตบอลโลก 2006

ในรอบคัดเลือกทีม “อัศวินสีส้ม” มีผลงานที่ดีมาก โดยเข้าเป็นที่ 1 ของกลุ่ม ชนะ 10 เสมอ 2 ไม่แพ้เลย มี 32 คะแนน ทิ้งห่างที่ 2 สาธารณรัฐเช็กถึง 5 คะแนน และห่างที่ 3 โรมาเนีย 7 คะแนน

ในรอบสุดท้ายที่เยอรมนี แม้จะอยู่ในกลุ่มที่อันตราย แต่ทีมดัตช์ก็ผ่านเข้ารอบสองได้ด้วยการชนะเซอร์เบียและมอนเตเนโกร 1-0 ชนะไอวอรีโคสต์ 2-1 และเสมออาร์เจนตินา 0-0 แต่ก็ต้องตกรอบ 2 อย่างน่าเสียดายโดยพ่ายให้โปรตุเกส 0-1 ในเกมที่ทั้งสองฝ่ายเหลือผู้เล่นเพียงทีมละ 9 คน เท่านั้น

ผลงานในฟุตบอลยูโร 2004

เนเธอร์แลนด์ผ่านรอบคัดเลือกเป็นที่ 2 ของกลุ่ม ตามหลังสาธารณรัฐเช็ก ต้องไปเล่นเพลย์ออฟกับสกอต แลนด์ ซึ่งพวกเขาเอาชนะได้อย่างสบายด้วยประตูรวม 2 นัด 6-1 เข้าไปเล่นรอบสุดท้ายที่โปรตุเกส ซึ่งแม้จะต้องอยู่ร่วมกลุ่มกับสาธารณรัฐเช็กอีกครั้ง ก็สามารถล้างแค้นผ่านเข้ารอบสองได้ไม่ยาก ในรอบก่อนรองชนะเลิศพวกเขาเฉือนชนะสวีเดนด้วยการดวลลูกจุดโทษ และพ่ายตกรอบรองชนะเลิศต่อเจ้าภาพโปรตุเกส 1-2

เนเธอร์แลนด์ เคยคว้าแชมป์ยูโรมาแล้ว 1 ครั้ง เมื่อปี 1988 โดยชนะสหภาพโซเวียต 2-0 ที่สนามโอลิมปิก มิวนิก เมื่อ 25 มิถุนายน 1988 จากประตูของ รุด กุลลิต นาทีที่ 32 และโค้ชทีมชาติคนปัจจุบัน มาร์โก แวน บาสเทน ในนาทีที่ 54 นอกจากนั้นยังเข้าถึงรอบรองชนะเลิศ 4 ครั้ง ในปี 2004, 2000, 1992 และ 1976 โดย 5 ครั้งสุดท้ายของฟุตบอลยูโร พวกเขาผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายได้ติดต่อกัน

นับจนถึงสิ้นสุดรอบคัดเลือกยูโร 2008 เนเธอร์แลนด์ลงเล่นบอลยูโรมาแล้ว 117 นัด ชนะ 72 เสมอ 22 แพ้ 23 ยิงได้ 241 เสีย 91

กลยุทธ์การเล่นของเนเธอร์แลนด์

มาร์โก แวน บาส เทน จะสิ้นสุดสัญญาการทำทีมชาติเนเธอร์แลนด์หลังจบยูโร 2008 และเขาตั้งใจว่าจะทำผลงานให้ดีที่สุดเพื่อโอกาสในการคุมทีมที่เขารักต่อไป

ในฐานะนัก เตะเขาเคยร่วมทีม “อัศวินสีสัม” คว้าแชมป์ยุโรปมาแล้วในปี 1988 ด้วยผลงาน 5 ประตู รวมถึงลูกวอลเลย์สุดสวยในการชิงชนะเลิศกับสหภาพโซเวียต แต่ปัจจุบันนี้เกม “โททัลฟุตบอล” ตามสไตล์ของทีมดัตช์ ได้เลือนหายไปแล้ว

นับแต่ ไรนิส มิเชลส์ นำระบบการเล่น 4-3-3 และโททัลฟุตบอลมาใช้พาเนเธอร์แลนด์เข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกกับเยอรมันตะวันตก และเข้าสู่รอบสุดท้ายฟุตบอลยูโร 1988 แต่ผลงานพ่ายสหภาพโซเวียต 0-1 ในนัดแรก ทำให้เขาต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบ 4-4-2 และส่งผลให้ทีมดัตช์คว้าแชมป์ยุโรปในครั้งนั้นได้สำเร็จ รูปแบบที่เน้นการป้องกันมากขึ้นและใช้กองกลางเป็นกำลังสำคัญ จึงได้รับการยึดถือเรื่อยมาจนปัจจุบัน

ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา แวน บาสเทน ได้พูดคุยกับนักเตะแกนนำของเนเธอร์แลนด์หลายคน และได้รูปแบบทางเลือก 4-2-3-1 อีกทางหนึ่ง อย่างไรก็ดีที่แน่นอนก็คือ พวกเขาจะใช้แบ๊กโฟร์ ที่มี โยริส มาไธจ์เซน เป็นตัวยืน ร่วมกับอีก 3 คน จาก อังเดร ออยเยอร์, จอห์นนี ไฮติงกา, มาริโอ เมลชอต, วิลเฟรด เบามา, ทิม เดอ แคลร์ และ โจวานนี ฟาน บรองค์ฮอร์สท์ โดยมี เอ็ดวิน ฟาน เดอซาร์ ซึ่งเพิ่งโชว์ฟอร์มเซฟลูกจุดโทษของ นิโกลาส์ อเนลกา พา “ผีแดง” แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด คว้าแชมป์ยูฟ่า แชม เปี้ยนส์ลีก มาสด ๆ ร้อน ๆ เฝ้าเสาประตู

ในแดนกลาง แม้ คลาเรนซ์ เซดอร์ฟ จะถอนตัวออกไป แต่พวกเขาก็ยังมี ราฟาเอล ฟาน เดอ ฟาร์ท, เวสลีย์ ชไนเดอร์, โรบิน ฟาน เพอร์ซีย์ เป็นสามมิดฟิลด์ ที่นับว่าสร้างเกมรุกได้ในระดับแนวหน้าของยุโรป และยังมี อาร์เยน ร็อบเบน, ไนเจล เดอ ยองก์, อิบราฮิม อเฟลเลย์ และ เดมี เดอ ซูว์ เป็นตัวเลือก
ส่วนแดนหน้า รุด ฟาน นิสเตลรอย ซึ่งเพิ่งพา รีล มาดริด ครองแชมป์ ลาลีกา ของสเปน น่าจะได้เป็นตัวยืน และอาจจะมีโอกาสทำลายสถิติยิง 40 ประตูให้ทีมชาติของ แพทริค ไคล เวิร์ต ลงได้ โดยคู่ขาของเขามีตัวเลือกชั้นดีอย่าง แดนนี โคเวอร์มานส์, เดิร์ก เคาต์, คลาสส์ แยน ฮุนเตลาร์, ไรอัน บาเบล และ แยน เฟเนกอร์ ออฟ เฮสเซลลิงค์

ถึงจะอยู่ในสายโหดหินร่วมกับ ฝรั่งเศส, อิตาลี และโรมาเนีย ทีมชาติเนเธอร์แลนด์ภายใต้โค้ช มาร์โก แวน บาสเทน ก็น่าจะมีโอกาสผ่านเข้ารอบสองได้ หากช่วงนั้นไม่มีปัญหานักเตะบาดเจ็บ และเล่นได้เข้าฟอร์ม.

ข้อมูลจำเพาะเนเธอร์แลนด์

กัปตันทีม : เอ็ดวิน ฟาน เดอร์ ซาร์
อันดับโลกล่าสุด : 9
ผลงานที่ดีที่สุดในยูโร : แชมป์ 1988
ผลงานในฟุตบอลยูโร รอบสุดท้าย : 1960 - ไม่ได้เข้าร่วม, 1964 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก, 1968 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก, 1972 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก, 1976 - อันดับ 3, 1980 - รอบแรก, 1984 - ไม่ผ่านรอบคัดเลือก, 1988 - แชมป์, 1992 - รอบรองชนะเลิศ, 1996 - รอบก่อนรองชนะเลิศ, 2000 - รอบรองชนะเลิศ, 2004 - รอบรองชนะเลิศ, 2008 - เข้ารอบสุดท้าย

     โค้ช : มาร์โก แวน บาสแทน

     อดีตกองหน้าผู้โด่งดัง เจ้าของฉายา “ดาวยิงพรายกระซิบ” ของเนเธอร์แลนด์ ได้รับตำแหน่งโค้ชทีมชาติต่อจาก ดิ๊ค แอดโวคาต หลังจบฟุตบอลยูโร 2004 ทั้งที่มีประสบการณ์เป็นโค้ชน้อยมาก โดยเคยเป็นเพียงโค้ชทีมเยาวชนของสโมสรอาแจกซ์ อัมสเตอร์ดัมเท่านั้น แต่เขาก็พิสูจน์ฝีมือให้เห็นด้วยการนำทีมชาติเนเธอร์แลนด์ลงเล่นไม่แพ้ใครเลย 15 นัดติดต่อกัน ก่อนจะมาพ่ายให้อิตาลี 1-3 ในนัดมิตรภาพ เมื่อพฤศจิกายน 2005

เขายังทำผลงานได้ดีต่อเนื่องในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2006 พาทีมไปเล่นรอบสุดท้ายที่เยอรมนี และผ่านรอบแรกไปได้ทั้งที่เจอกับทีมที่แข็งแกร่งทั้งสิ้น แล้วในรอบสองก็ต้องพ่ายให้โปรตุเกสอีกครั้ง ในเกมที่สู้กันอย่างดุเดือดจนมีผู้เล่นถูกไล่ออกถึงฝ่ายละ 2 คน

แวน บาสเทน สมัยเป็นนักเตะถือเป็นดาวยิงที่โดดเด่นมาก นับตั้งแต่เล่นในทีมเยาวชน ในฟุตบอลเยาวชนโลกของฟีฟ่าปี 1983 เขายิงให้อาแจกซ์ อัม สเตอร์ดัม ได้ 128 ประตู รวมทั้งประตูชัย พาทีมคว้าแชมป์คัพวินเนอร์คัพ ปี 1986/87 ทำให้เอซี มิลาน คว้าตัวไปร่วมทีมด้วยค่าตัว 2.5 ล้านยูโรในปี 1987 และพาทีมเอซี มิลาน คว้าแชมป์สโมสรยุโรป ถ้วยยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก 2 ครั้งติดต่อกันในฤดูกาล 1988/89 และ 1989/90

และกับฟุตบอลยูโร 88 มาร์โก แวน บาสเทน ฝากผลงานคลาสสิกให้แฟนบอลต้องจดจำกันอย่างไม่รู้ลืม ก็คือ ลูกยิงใบไม้ร่วงที่ย้ำชัยชนะให้ เนเธอร์แลนด์ ถล่มสหภาพโซเวียต 2-0 ได้แชมป์ไปครองในปีนั้น และเป็นแชมป์หนเดียวในประวัติศาสตร์ของเนเธอร์ แลนด์.

ดาราทอง : โยฮัน ครอยฟ์

โยฮัน ครอยฟ์ นับเป็นชาวเนเธอร์แลนด์ผู้มีชื่อเสียงก้องโลก ในระดับเดียวกับยอดจิตรกร เรมบรังดท์ และ วินเซนต์ แวน โก๊ะ จากการสำรวจพบว่ามีคนที่รู้จักชื่อ โยฮัน ครอยฟ์ มากกว่า 2 พันล้านคน

เฮนดริก โยฮัน ครอยฟ์ เกิดเมื่อ 25 เมษายน 1947 ในอัมสเตอร์ดัม และเข้าสู่วงการฟุตบอลตั้งแต่วัยเด็กโดยเริ่มต้นกับสโมสรอาแจกซ์ อัมสเตอร์ดัม และจนถึงบัดนี้ ฟุตบอลคือชีวิต จิตใจของเขาตลอดมา ทั้งในฐานะนักเตะและโค้ช รวมถึงบทบาทต่าง ๆ ในวงการฟุตบอลด้วย แม้ว่าหลายครั้งเขาจะมีแนวคิดแตกต่างจากผู้อื่น และทำอะไรที่ผิดแปลกออกไปบ้าง แต่สิ่งที่ทุกคนทราบดีก็คือ เขารักฟุตบอล รักแฟนบอล และทุ่มเททุก อย่างเพื่อสิ่งที่เขารัก ดังนั้นในมุมมองของเขา การทำให้แฟนบอลสนุกกับเกมและมีความสุข คือเป้าหมายสำคัญยิ่งกว่าชัยชนะ หรือความสำเร็จของสโมสร

ทั้งในช่วงเป็นนักเตะและเป็นโค้ช เขาจึงเน้นที่เกมบุกของทีมเสมอ และนำเอาระบบกองหน้า 3 คนมาใช้ เพื่อให้มีการบุกเข้าทำประตูจากทุกทิศทางสามารถชิ่งบอลไปมาได้ตามต้องการ และมีโอกาสในการทำประตูสูงสุด แต่ผู้ที่ยึดมั่นกับการปลอดภัยไว้ก่อน ด้วยการเน้นเกมรับที่เหนียวแน่น มองว่า รูปแบบของ ครอยฟ์ คือการฆ่าตัวตายของทีม แต่เขา ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การบุกคือการรับที่ดี เมื่อพาทีมอาแจกซ์คว้าแชมป์คัพวินเนอร์คัพของยูฟ่าใน ปี 1987 ด้วยสถิติอายุเฉลี่ยของผู้ เล่นตํ่าที่สุดเท่าที่เคยมีมา และกับบาร์เซโลนา เขาคือตำนานที่ทำให้ทีมเป็นสโมสรชั้นยอดทั้งในสเปนและยุโรป ช่วยให้ทีมคว้าแชมป์ยูโรเปี้ยนคัพได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสร และมีผลงาน ขึ้นมาเทียบเท่ากับสุดยอดทีมของสเปน คือ รีล มาดริด ตั้งแต่นั้นมา หลังจากประสบความสำเร็จทั้งในฐานะนักเตะและโค้ช เขาได้ก่อตั้งมูลนิธิโยฮัน ครอยฟ์ และมหาวิทยาลัยโยฮัน ครอยฟ์ ซึ่งมีที่ทำการทั้งในเนเธอร์แลนด์ และสเปน โดยเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดใจการให้นักกีฬาทั้งชายและหญิง ได้เรียนควบคู่กันไปกับการเล่นกีฬาเป็นอาชีพ

ด้วยเงินของมูลนิธิฯ เขามีโครงการเกือบ 100 โครงการทั่วโลก เพื่อช่วยเหลือเด็กยากจนและด้อยโอกาส ด้วยการใช้ฟุตบอลเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กเหล่านี้.

รายชื่อ 23 นักเตะเนเธอร์แลนด์ที่ติดทีมไปแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008



ผู้รักษาประตู

เบอร์ 1, ชื่อ เอ็ดวิน ฟาน เดอร์ซาร์, สโมสร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, อังกฤษ
เบอร์ 16, ชื่อ มาร์เตน สเตเคเลนเบิร์ก, สโมสร อาแจกซ์ อัมสเตอร์ดัม
เบอร์ 13, ชื่อ เฮงค์ ทิมเมอร์, สโมสร เฟเยนูร์ด รอตเธอร์ดัม

กองหลัง

เบอร์ 14, ชื่อ วิลเฟรด เบามา, สโมสร แอสตัน วิลลา, อังกฤษ
เบอร์ 15, ชื่อ ทิม เดอ แคลร์, สโมสร เฟเยนูร์ด รอตเตอร์ดัม
เบอร์ 3, ชื่อ จอห์นนี ไฮติงกา, สโมสร อาแจกซ์ อัมสเตอร์ดัม
เบอร์ 4, ชื่อ โยริส มาไธจ์เซน, สโมสร ฮัมบวร์ก เอสเฟา, เยอรมนี
เบอร์1 2, ชื่อ มาริโอ เมลชอต, สโมสร วีแกน แอธเลติก, อังกฤษ
เบอร์ 2, ชื่อ อังเดร ออยเยอร์, สโมสร แบล็กเบิร์น โรเวอร์ส, อังกฤษ

กองกลาง

เบอร์ 20, ชื่อ อิบราฮิม อเฟลเลย์, สโมสร พีเอสวี ไอนด์โฮเฟน
เบอร์ 5, ชื่อ โจวานนี ฟาน บรองค์ฮอร์สท์, สโมสร เฟเยนูร์ด รอตเตอร์ดัม
เบอร์ 8, ชื่อ ออร์ลันโด เอ็นเกลาร์, สโมสร เอฟซี ทเวนเต
เบอร์ 17, ชื่อ ไนเจล เดอ ยองก์, สโมสร ฮัมบวร์ก เอสเฟา, เยอรมนี
เบอร์ 10, ชื่อ เวสลีย์ ชไนเดอร์, สโมสร รีล มาดริด, สเปน
เบอร์ 23, ชื่อ ราฟาเอล ฟาน เดอร์ ฟาร์ท, สโมสร ฮัมบวร์ก เอสเฟา, เยอรมนี
เบอร์ 6, ชื่อ เดมี เดอ ซูว์, สโมสร เอแซด อัลค์มาร์

กองหน้า

เบอร์ 21, ชื่อ ไรอัน บาเบล, สโมสร ลิเวอร์พูล, อังกฤษ
เบอร์ 19, ชื่อ คลาสส์ แยน ฮุนเตลาร์, สโมสร อาแจกซ์ อัมสเตอร์ดัม
เบอร์ 18, ชื่อ เดิร์ก เคาท์, สโมสร ลิเวอร์พูล, อังกฤษ
เบอร์ 9, ชื่อ รุด ฟาน นิสเตลรอย, สโมสร รีล มาดริด, สเปน
เบอร์ 7, ชื่อ โรบิน ฟาน เพอร์ซี, สโมสร อาร์เซนอล, อังกฤษ
เบอร์ 11, ชื่อ อาร์เยน ร็อบเบน, สโมสร รีล มาดริด, สเปน
เบอร์ 22, ชื่อ แยน เฟเนกอร์ ออฟ เฮสเซลลิงค์, สโมสร กลาสโกว์ เซลติก, สกอตแลนด์

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์