เกาะติด ยูโร 2008 สวีเดน & รัสเซีย

สวีเดน : ต้องลุ้นถึงนัดสุดท้ายว่าจะได้เข้ารอบหรือไม่

 


กลุ่ม D

โปรแกรมการแข่งขัน

10 มิ.ย. 2008 กรีซ - สวีเดน 01.45 น.
14 มิ.ย. 2008 สวีเดน - สเปน 23.00 น.
18 มิ.ย. 2008 สวีเดน - รัสเซีย 01.45 น.

ผลงานในรอบคัดเลือกยูโร 2008
แข่ง 12, ชนะ 8, เสมอ 2, แพ้ 2, ได้ 23, เสีย 9, แต้ม 26
วัน/เดือน/ปี 2 กันยายน 2549, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน ชนะ ลัตเวีย, ผล 1-0
วัน/เดือน/ปี 6 กันยายน 2549, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน ชนะ ลิกเตนสไตน์, ผล 3-1
วัน/เดือน/ปี 7 ตุลาคม 2549, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน ชนะ สเปน, ผล 2-0
วัน/เดือน/ปี 11 ตุลาคม 2549, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน ชนะ ไอซ์แลนด์, ผล 2-1
วัน/เดือน/ปี 28 มีนาคม 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน แพ้ ไอร์แลนด์เหนือ, ผล 1-2
วัน/เดือน/ปี 2 มิถุนายน 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน ชนะ เดนมาร์ก, ผล 3-0
วัน/เดือน/ปี 6 มิถุนายน 2550, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน ชนะ ไอซ์แลนด์, ผล 5-0
วัน/เดือน/ปี 8 กันยายน 2550, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน เสมอ เดนมาร์ก, ผล 0-0
วัน/เดือน/ปี 13 ตุลาคม 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน ชนะ ลิกเตนสไตน์, ผล 3-0
วัน/เดือน/ปี 17 ตุลาคม 2550, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน เสมอ ไอร์แลนด์เหนือ, ผล 1-1
วัน/เดือน/ปี 17 พฤศจิกายน 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน แพ้ สเปน, ผล 0-3
วัน/เดือน/ปี 21 พฤศจิกายน 2550, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน ชนะ ลัตเวีย, ผล 2-1
ข้อมูลจำเพาะสวีเดน

กัปตันทีม : เฟรดริก ลุงเบิร์ก
อันดับโลกล่าสุด : 24
ผลงานดีที่สุดในยูโร : รอบรองชนะเลิศ ปี 1992
ผลงานในฟุตบอลยูโรรอบสุดท้าย : 1960 ไม่ได้เข้าร่วม, 1964 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก, 1968 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก, 1972 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก, 1976 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก, 1980 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก, 1984 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก, 1988 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก, 1992 รอบรองชนะเลิศ, 1996 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก, 2000 รอบแรก, 2004 รอบ 8 ทีมสุดท้าย, 2008 ผ่านเข้ารอบสุดท้าย
สวีเดนผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายโดยเป็นที่ 2 ของกลุ่ม F ตามหลังสเปน ที่เข้าในฐานะที่ 1 ของกลุ่ม ทั้งที่เริ่มต้นได้อย่างสวยงามด้วยการชนะ 4 นัดรวด รวมทั้งถล่มสเปนได้ 2-0 จากประตูของ โยฮัน เอลมานเดอร์ และ มาร์คุส อัลบัค แต่กลับมาสะดุดในนัดที่ 5 ออกไปแพ้ไอร์แลนด์เหนือ 1-2 ที่เบลฟาสต์

นัดต่อมากับเดนมาร์กในโคเปนเฮเกน ขณะที่เกมเสมอกันอยู่ที่ 3-3 คนดูชาวเดนมาร์กหลุดเข้าไปทำร้ายกรรมการผู้ตัดสินกลางสนาม เนื่องจากเป่าให้สวีเดน ได้ลูกโทษที่ จุดโทษ ทำให้ต้องหยุดการแข่งขัน และยกเลิกผลโดยให้นับเป็นสวีเดน ชนะ 3-0

พวกเขาน่าจะได้เข้ารอบอย่างลอยลำตั้งแต่ยังเหลือการแข่งขันอีก 2 นัด เพราะเล่นในบ้านกับคู่แข่ง ไอร์แลนด์เหนือ แต่กลับทำได้เพียงเสมอ 1-1 ทำให้ไอร์แลนด์เหนือซึ่งมีโอกาสจะแซงไปรอบสุดท้ายแทนได้ และยิ่งนัดต่อมาพวกเขาไปแพ้สเปนถึง 0-3 จึงต้องรอตัดสินจนนัดสุดท้าย ซึ่งหากเอาชนะได้ก็จะได้เข้ารอบแน่นอน ซึ่งนักเตะสวีเดนก็ไม่ทำให้แฟนผิดหวังเมื่อเฉือนเอาชนะลัตเวีย 2-1 โดยได้ประตู ชัยของ คิม
คัลสตรอม
ผลงานในฟุตบอลโลก 2006

สวีเดนลงเล่นรอบคัดเลือก 10 นัด แพ้ 2 นัดต่อโครเอเชียทั้งเหย้าและเยือน 0-1 แต่ชนะ 8 นัดที่เหลือโดยยิงได้ 30 และเสียเพียง 2 ประตู มีคะแนน 24 เท่ากับโครเอเชีย แต่ตกเป็นที่ 2 ของกลุ่ม อย่างไรก็ดีจากคะแนนที่ทำได้ถึง 24 จึงเป็น 1 ใน 2 ทีม รองชนะเลิศของกลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด ผ่านเข้ารอบโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องเล่นเพลย์ออฟ

ในรอบสุดท้ายที่เยอรมนี สวีเดนเข้ารอบเป็นที่ 2 ของกลุ่ม ด้วยผลงานเสมอ ตรินิแดดแอนด์โตเบโก 0-0 ชนะ ปารากวัย 1-0 และเสมออังกฤษ 2-2 แต่ต้องตกรอบ 2 ด้วยการพ่ายแพ้เจ้าภาพเยอรมนี 0-2

ผลงานในฟุตบอลยูโร 2004

สวีเดนลงเล่นรอบคัดเลือก 8 นัด ชนะ 5 เสมอ 2 แพ้ 1 ยิงได้ถึง 19 ประตู และเสียไปเพียง 3 ประตู ได้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายที่โปรตุเกสอย่างสบาย และลงเล่นรอบแบ่งกลุ่มนัดแรกกลุ่มบัลแกเรีย 5-0 ก่อนเสมอกับอิตาลี 1-1 ทำให้นัดสุดท้ายประคอง ตัวเสมอเดนมาร์ก 2-2 กอดคอกันเข้ารอบไปแต่ใน รอบ 2 หรือก่อนรองชนะเลิศ พ่ายการดวลจุดโทษกับเนเธอร์แลนด์หลังเสมอกัน 0-0 ในเวลาปกติ

ผลงานที่ดีที่สุดในฟุตบอลยูโรของสวีเดน ทำได้ในปี 1992 ซึ่งพวกเขาเป็นเจ้าภาพ และเป็นครั้งสุดท้ายที่ติด 8 ทีม ไปเล่นรอบสุดท้ายสวีเดน เล่นรอบแบ่งกลุ่มได้ดี ชนะเดนมาร์ก 1-0 ชนะอังกฤษ 2-1 และเสมอฝรั่งเศส 1-1 แต่ในรอบรองชนะเลิศ ก็ต้องพลาดท่าพ่ายเยอรมนี 2-3 ปล่อยให้เยอรมนีเข้าไปชิงกับเดนมาร์ก ทีมซึ่งได้เข้ามาเล่นรอบสุดท้าย แทนยูโกสลาเวียที่ถูก “แบน” และเดนมาร์กก็กลายเป็นทีมซินเดอเรลลา คว้าแชมป์ไปครอง

กลยุทธ์การเล่นของสวีเดน

จากการที่ยอดศูนย์หน้า เฮนริค ลาร์สสัน ประกาศอำลาชีวิตนักเตะทีมชาติไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่สวีเดนก็ยังมีดาวยิงที่วางใจได้ คือ ซลาตัน อิบราฮิม โมวิช ศูนย์หน้าตัวเก่งจากอินเตอร์ มิลาน ซึ่งจะมีคู่หูในแดนหน้าเป็น โยฮัน เอลมานเดอร์ และมีดาวยิงมากประสบการณ์ มาร์คุส อัลบัค เป็นตัวเสริม

ในช่วงหลัง สวีเดน หันมาใช้เกมบุกมากขึ้น โดยมี เฟรดริก ลุงเบิร์ก และ คริสเตียน วิลเฮล์มสัน เป็นตัวรุกทางปีก 2 ข้าง และเน้นความขยันของนักเตะ การเล่นเป็นทีม และการรักษาวินัยการเล่นอย่างเคร่งครัด พวกเขาจะพยายามใช้การเล่นลูกบนพื้นเป็นหลัก และใช้วิธีเข้าแย่งตัดบอลจากคู่ต่อสู้ตั้งแต่ในแดนกลาง โดยมี โทเบียส ลินเดรอธ เป็นกองกลาง ตัวตัดเกมก่อนคู่ต่อสู้จะรุกเข้าไปถึง แบ๊คโฟร์ ในตำแหน่งมิดฟิลด์ พวกเขายังมี นิคลาส อเลกซานเดอร์สสัน, คิม คัลสตรอม, เซบาสเตียน ลาร์สสัน, อันเดอร์ส สเวนส์สัน และนักเตะรุ่นใหม่ให้เลือกอีกหลายคน

สำหรับแดนหลังแม้นักเตะหลักจะอายุมาก แล้ว แต่ก็ยังคงเป็นที่วางใจได้ และน่าจะเป็นตัวหลักของทีม ทั้ง โอลอฟ เมลเบิร์ก และ ดาเนียล มาจ์สโตโรวิช เสริมด้วยผู้เล่นรุ่นหลังอย่าง เพ็ตเตอร์ ฮันส์สัน, อันเดรส แกรนควิสต์, เฟรดริก สตัวร์และ มิคาเอล ดอร์ซิน โดยที่ เอริก เอดแมน ได้รับบาดเจ็บชวดลงเล่นอย่างน่าเสียดาย

แต่ที่น่าหนักใจที่สุด คือตำแหน่งผู้รักษาประตู ซึ่งมือ 1 ของทีม อันเดรียส อีซัคส์สัน ได้รับโอกาสลงเล่นในทีมแมนเชสเตอร์ ซิตีน้อยมาก อาจเป็นผลให้ขาดทั้งความแข็งแกร่ง และความมั่นใจ

จากการที่ ลาเกอร์บัค เรียกตัว เฮนริก ลาร์ส สัน นักเตะมากประสบการณ์ ติดทีมไปออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์ด้วยนั้น เชื่อว่า ประสบการณ์ของ ลาร์ส สัน จะช่วยน้อง ๆ ในทีมได้อย่างมากเลยทีเดียว

สวีเดนคงจะสู้กับทีมแกร่งอย่างแชมป์เก่าอย่างกรีซ สเปน และรัสเซีย ได้อย่างสนุกสูสี และต้องลุ้นกันจนนัดสุดท้ายว่า 2 ทีมใดจะได้ผ่านเข้ารอบสอง.


     โค้ช : ลาร์ส ลาเกอร์บัค 


     ลาร์ส ลาเกอร์บัค เริ่มงานคุมทีมชาติสวีเดน ในฐานะมือสองของ ทอมมี โซเดอร์เบิร์ก ในปี 1988 และ 2 ปีต่อมาได้เลื่อนฐานะขึ้นมาเป็นโค้ชคู่กับ โซเดอร์เบิร์ก โดย ลาร์ส ลาเกอร์บัค รับหน้าที่การวางแผนการเล่น และเลือกแทคติกในขณะที่ โซเดอร์เบิร์ก รับหน้าที่ในการควบคุมการซ้อมและดูแลนักฟุตบอลผลงานของโค้ชคู่ในทัวร์นาเมนต์ ใหญ่ครั้งแรกไม่น่าประทับใจนัก เพราะพาสวีเดนลงเล่นรอบสุดท้ายตกรอบแรกฟุตบอลยูโร 2000 แต่ในฟุตบอลโลก 2002 พวกเขาสามารถพาสวีเดนเบียดยอดทีมอย่างอาร์เจนตินาผ่านรอบแรกมาได้ แต่กลับพ่ายต่อเซเนกัลตกรอบสอง และเช่นเดียวกันในยูโร 2004 พวกเราผ่านรอบแบ่งกลุ่มได้ แต่พลาดท่าพ่ายเนเธอร์แลนด์ จากการดวลลูกจุดโทษตัดสินในรอบก่อนรองชนะเลิศ

หลังจากนั้น โซเดอร์เบิร์ก ได้ตัดสินใจอำลางานโค้ชทีมชาติ ปล่อยให้ลาร์ส ลาเกอร์บัคเป็นโค้ชเดี่ยวเพียงผู้เดียว เขาได้ดึงตัว โรลันด์ แอน เดอร์สสัน มาเป็นผู้ช่วย และพาสวีเดนผ่านเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลก 2006 ได้สำเร็จ ที่เยอรมนีเขาพาทีมผ่านรอบแรกเป็นที่ 2 ของกลุ่ม แต่ก็ต้องไปตกรอบ 2 เมื่อพ่ายเจ้าบ้านเยอรมนี 0-2 แม้ว่าจะถูกโจมตีจากแฟนบอล และสื่อมวลชนอย่างมาก แต่ ลาร์ส ลาเกอร์บัค ก็ยังคงอยู่กับทีม และประกาศว่าจะขอโอกาสทำทีมเพื่อเข้ารอบสุดท้ายยูโร 2008 ให้ได้อีกครั้งหนึ่ง

ลาร์ส ลาเกอร์บัค เกิดเมื่อเดือนกรกฎาคม 1948 และลงเล่นฟุตบอลอาชีพกับสโมสร อัลบี และกิโมนาส แต่ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่หวัง เขาจึงหันเหมารับงานโค้ชตั้งแต่อายุเพียง 29 ปี โดยเริ่มงานแรกที่ทีมกีลาฟอร์ส ในปี 1977 และต่อมาได้ไปรับงานที่อาร์บรา และฮูดิคสวอลส์ ตามลำดับ จนปี 1990 จึงได้รับหน้าที่โค้ชทีมเยาวชนให้สมาคมฟุตบอลสวีเดน และอยู่ในตำแหน่งจนถึงปี 1995 จากนั้นเลื่อนมาคุมทีมชาติชุด B และเข้าร่วมงานกับ โซเดอร์เบิร์ก ในทีมชาติชุดใหญ่ในที่สุด.


ดาราทองของสวีเดน : เฮนริค ลาร์สสัน


เฮนริค ลาร์สสัน น่าจะเป็นนักฟุตบอลสวีเดนที่คนไทยรู้จักมากที่สุด เพราะเขาลงเล่นในสกอตติช ลีก กับ กลาสโกว์ เซลติก ไปอยู่กับทีมดังของสเปน บาร์เซโลนา และเคยลงเล่นให้กับหนึ่ง ในทีมยอดนิยมของคนไทย คือ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

เมื่ออายุ 15 ปี เขาสมัครเข้าร่วมทีมโอกาบอร์กส์ แต่ถูกโค้ชปฏิเสธ โดยบอกว่า เขาตัวเล็กเกินไป และไม่แข็งแกร่งพอที่จะลงเล่นฟุตบอลอาชีพในอนาคตได้ แต่สิ่งที่โค้ชมองข้ามไปก็คือ ความมุ่งมั่น และความตั้งใจที่เต็มเปี่ยมอยู่ในตัวของ ลาร์สสัน เสมอมา

ความพยายามของเขาส่งผลให้ในชีวิตการค้าแข้ง เขาได้ลงเล่นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 2 ครั้ง ฟุตบอลยูโรรอบสุดท้าย 2 ครั้ง คว้าถ้วยรางวัลมากมายกับเซลติก และร่วมทีมบาร์เซโลนาคว้าถ้วยยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก 2005/2006 เป็นความสำเร็จสูงสุดที่ไม่เคยมีนักฟุตบอล

สวีเดนคนใดทำได้มาก่อน

เขาโชว์ผลงานได้โดดเด่นมากกับทีม เฮลซิงบอร์ก ช่วยพาทีมจากดิวิชั่นสองกลับขึ้นสู่ดิวิชั่นหนึ่งของสวีเดนได้สำเร็จ ทำให้ถูกเรียกตัวไปติดทีมชาติอายุต่ำกว่า 21 ปี ในปี 1992 ต่อมาเขาย้ายออกนอกประเทศ ไปเล่นกับ เฟเยนูร์ด รอตเตอร์ดัม ในเนเธอร์แลนด์

ในฟุตบอลโลก 1994 เขา ช่วยยิงประตูให้สวีเดนชนะ บัลแกเรีย ขาดลอย 4-0 ในการชิงอันดับ 3 โดยก่อนหน้านั้นในรอบก่อนรองชนะเลิศเขาคือผู้ยิงลูกโทษตัดสินให้สวีเดนเอาชนะโรมาเนียได้ในการแข่งขันที่ตื่นเต้น โดยหลังจากเสมอกันในเวลาต้องดวลลูกจุดโทษตัดสินจนครบ 5 คน แล้วยังเสมอกันอยู่ต้องให้ผู้เล่นคนที่ 6 มายิงต่อในแบบชู้ตเอาต์ใครชนะก่อนก็เข้ารอบไปเลย กัปตันทีม แพทริก แอนเดอร์สสัน เลือก ลาร์สสัน โดยบอกเขาว่า เธอต้องเป็นคนยิงลูกโทษคนที่ 6 ทั้งที่ ลาร์สสัน ในวัย 23 ปี ไม่ได้ถูกเตรียมให้ยิงลูกโทษมาก่อนด้วยความอ่อนเยาว์ทั้งวัยและประสบ การณ์ เขารับหน้าที่ด้วยความเต็มใจ โดยไม่ได้รู้สึก เท่าใดนักว่านั่นคือการยิงลูกโทษที่มีความหมายสำคัญยิ่ง

ในปี 1998 เขาย้ายไปร่วมทีมกลาสโกว์ เซลติก และอยู่กับทีมถึง 7 ฤดูกาล เป็นนักฟุตบอลที่แฟนบอลชื่นชอบมากที่สุดผู้หนึ่งในประวัติศาสตร์ของเซลติก และยิงให้ทีมได้ถึง 175 ประตูจาก 221 เกม ในช่วงนี้เขาได้รับบาดเจ็บรุนแรงถึงขาหักในนัดยูฟ่าด้วยที่ลียง เมื่อเดือนตุลาคม 1999 เขาทุ่มเทฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเต็มที่และกลับมาสมบูรณ์ทันเข้าร่วมทีมชาติสวีเดนในยูโร 2000 และปีต่อมาก็ได้รับรางวัลรองเท้าทองคำ ในฐานะดาวยิงสูงสุดของทุกลีกในยุโรป ด้วยผลงาน 35 ประตู ใน 37 ลีกเกม
ด้วยวัย 34 ปี และผลงานอันยอดเยี่ยมทั้งในระดับสโมสรและระดับชาติ เป็นที่ยกย่องทั้งในและนอกสนาม เขาคว้ามาครองแล้วทั้งแชมป์สกอตติช พรีเมียร์ลีก 4 ครั้ง สกอตติชคัพ 2 ครั้ง สกอตติชลีกคัพ 3 ครั้ง และดัตช์คัพ 2 ครั้ง แต่ ลาร์สสัน ก็ยังกระ หายในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นไปอีก การยิงได้ 3 ประตูในยูโร 2004 รอบสุดท้ายช่วยพิสูจน์ว่า เขายังคงไว้ซึ่งฝีเท้าอันน่าเกรงขาม ทีมใหญ่อย่างบาร์เซโลนาจึงคว้าตัวเขาไปร่วมทีม และเขาก็ไม่ทำให้ทุกคนผิดหวังเมื่อร่วมทีมคว้าแชมป์สโมสรยุโรปได้สำเร็จ

ในช่วงปลายของการค้าแข้งเขามาเล่นให้แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และยังทำผลงานได้ดี จนทีมพยายามดึงตัวเขาให้ลงเล่นต่อไป แต่เขาตัดสินใจจะกลับไปอยู่บ้านเกิดก่อนอำลาชีวิตนักเตะอาชีพ จึงขอกลับไปอยู่เฮลซิงบอร์ก และยังคงลงเล่นและยิงประตูได้อย่างสม่ำเสมอ.

 
รายชื่อ 23 นักเตะที่ติดทีมไปออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์



ผู้รักษาประตู :
อันเดรียส อีซัคส์สัน (แมนเชสเตอร์ ซิตี), รามี ชาบาน (ฮัมมาร์บี), โยฮัน วิแลนด์ (เอล์ฟส์บอร์ก)

กองหลัง : เพ็ตเตอร์ ฮันส์สัน (แรนส์), นิคลาส อเล็กซานเดอร์สสัน (ไอเอฟเค โกเตเบิร์ก), มิคาเอล นีลส์สัน (พานาธิไนกอส), โอลอฟ เมลเบิร์ก (แอสตัน วิลลา), อันเดรส แกรนควิสต์ (เฮลซิงบอร์ก), ดาเนี่ยล มาจ์สโตโรวิช (บาเซิล), เฟรดริก สตัวร์ (โรเซนบอร์ก), มิคาเอล ดอร์ซิน (คลูจ์)

กองกลาง : ดาเนียล อันเดอร์สสัน (มัลโม), คิม คัลสตรอม (โอลิมปิก ลียง), โทเบียส ลินเดรอธ (กาลาตาซาราย), เฟรดริก ลุงเบิร์ก (เวสต์แฮม), เซบาสเตียน ลาร์สสัน (เบอร์มิงแฮม ซิตี), อันเดอร์ส สเวนส์สัน (เอล์ฟส์บอร์ก), คริสเตียน วิลเฮล์มสัน (เดปอร์ติโบ ลา คอรุนญา)

กองหน้า : มาร์คุส อัลบัค (เอฟซี โคเปนเฮเกน), มาร์คุส โรเซนเบิร์ก (แวร์เดอร์ เบรเมน),ซลาตัน อิบราฮิมโมวิช (อินเตอร์ มิลาน), โยฮัน เอลมานเดอร์ (ตูลูส), เฮนริค ลาร์สสัน (เฮลซิงบอร์ก)
รัสเซีย : รอบสุดท้ายต้องไม่ใช่แค่โชคช่วย

กลุ่ม D

โปรแกรมการแข่งขัน

10 มิ.ย. 2008 สเปน - รัสเซีย 23.00 น.
14 มิ.ย. 2008 กรีซ - รัสเซีย 01.45 น.
18 มิ.ย. 2008 สวีเดน - รัสเซีย 01.45 น.
วัน/เดือน/ปี 6 กันยายน 2549, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน เสมอ โครเอเชีย, สกอร์ 0-0
วัน/เดือน/ปี 7 ตุลาคม 2549, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน เสมอ อิสราเอล สกอร์ 1-1
วัน/เดือน/ปี 11 ตุลาคม 2549, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน ชนะ เอสโตเนีย สกอร์ 2-0
วัน/เดือน/ปี 15 พฤศจิกายน 2549, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน ชนะ มาเซโดเนีย สกอร์ 2-0
วัน/เดือน/ปี 24 มีนาคม 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน ชนะ เอสโตเนีย สกอร์ 2-0
วัน/เดือน/ปี 2 มิถุนายน 2550, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน ชนะ อันดอร์รา สกอร์ 4-0
วัน/เดือน/ปี 6 มิถุนายน 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน เสมอ โครเอเชีย สกอร์ 0-0
วัน/เดือน/ปี 8 กันยายน 2550, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน ชนะ มาเซโดเนีย สกอร์ 3-0
วัน/เดือน/ปี 12 กันยายน 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน แพ้ อังกฤษ สกอร์ 0-3
วัน/เดือน/ปี 17 ตุลาคม 2550, สถานที่ เหย้า, คู่แข่งขัน ชนะ อังกฤษ สกอร์ 2-1
วัน/เดือน/ปี 17 พฤศจิกายน 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน แพ้ อิสราเอล สกอร์ 1-2
วัน/เดือน/ปี 21 พฤศจิกายน 2550, สถานที่ เยือน, คู่แข่งขัน ชนะ อันดอร์รา สกอร์ 1-0

ข้อมูลจำเพาะรัสเซีย

กัปตันทีม : อังเดร อาร์ชาวิน
อันดับโลกล่าสุด : 22
ผลงานดีที่สุดในยูโร : แชมป์ปี 1960 (ตอนเป็นสหภาพโซเวียต)
ผลงานในฟุตบอลยูโร รอบสุดท้าย : 1960 แชมป์, 1964 รองแชมป์, 1968 อันดับสี่, 1972 รองแชมป์, 1976 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก, 1980 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก, 1984 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก, 1988 รองแชมป์, 1992 ไม่ได้เข้าร่วม, 1996 รอบแรก, 2000 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก, 2004 รอบแรก, 2008 ผ่านเข้ารอบสุดท้าย

ในรอบคัดเลือกฟุตบอลยูโร 2008 กลุ่ม E รัสเซียเริ่มต้นด้วยการเสมอ ในบ้านถึง 2 นัด กับโครเอเชีย และอิสราเอล แต่หลังจากนั้นพวกเขาเอาชนะได้ถึง 5 ใน 6 นัด โดยมี อเล็กซานเดอร์ เคอร์ซาคอฟ ทำ แฮตทริกได้ในนัดชนะอันดอร์รา 4-0 ส่วนอีก 1 นัดในช่วงนี้พวกเขาออกไปเสมอ โครเอเชีย 0-0

ช่วงสำคัญที่สุด คือ การเล่นกับอังกฤษ โดยรัสเซียออกไปเยือนก่อนและพ่ายขาดลอย 0-3 ที่เวมบลีย์ แต่อีก 1 เดือนถัดมาในมอสโก หลังจาก เวย์น รูนีย์ ยิงให้อังกฤษนำไปก่อน 1-0 และทำท่าว่าจะเอาชนะ และเขี่ยรัสเซียตกรอบคัดเลือก รัสเซียกลับมาได้ลูกจุดโทษในครึ่งหลัง กองหน้าตัวสำรอง โรมัน พาฟลิยูเชนโก สังหารเข้าไปได้ และยังยิงลูกตัดสินเอาชนะอังกฤษได้ 2-1 ในอีก 5 นาทีต่อมา ทำให้รัสเซียแซงอังกฤษขึ้นไปอยู่อันดับ 2 ของกลุ่มตามหลังจ่าฝูงโครเอเชีย และถ้าได้ 6 แต้มเต็มจาก 2 เกมที่เหลือกับอิสราเอล และอันดอร์รา ก็จะได้เข้ารอบสุดท้ายแน่นอน

แต่เสมือนฝันร้าย พวกเขาออกไปพ่ายอิสราเอลซึ่งหมดหวังในการเข้ารอบไปแล้ว 1-2 ตกเป็นรองอังกฤษถึง 2 คะแนน แต่โชคเข้าข้างรัสเซีย เพราะในนัดสุดท้ายอังกฤษเล่นในบ้านตัวเองแท้ ๆ กลับพ่ายโครเอเชีย ซึ่งเป็นที่ 1 อยู่แล้ว อย่างน่าผิดหวัง 2-3 ปล่อยให้รัสเซีย ซึ่งไปเอาชนะอันดอร์ราทีมปลายแถวได้เพียง 1-0 แซงเข้ารอบเป็นที่ 2 ของกลุ่มได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ผลงานในฟุตบอลโลก 2006

รัสเซียเข้าเป็นอันดับ 3 ในกลุ่มซึ่งมี 7 ทีม ตกรอบคัดเลือกไม่ได้ไปเยอรมนี โดยชนะ 6 เสมอ 5 แพ้ 1 มี 23 คะแนน ตามหลังอันดับ 1 โปรตุเกส 7 คะแนน และเท่ากับอันดับ 2 สโลวีเนีย ซึ่งมีประตูได้เสียดีกว่า ได้ไปเล่นเพลย์ ออฟ และพลาดท่าพ่ายสเปน อดไปเยอรมนีเช่นกัน

ผลงานในฟุตบอลยูโร 2004

รัสเซียเล่นรอบคัดเลือก 8 นัดชนะ 4 และเสมอ 2 โดยชนะได้ทั้ง 4 นัดในบ้านต่อไอร์แลนด์ 4-2 แอลเบเนีย 4-1 สวิตเซอร์แลนด์ 4-1 และจอร์เจีย 3-1 แต่นอกบ้านกลับทำได้ไม่ดี เสมอกับไอร์แลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ และพ่ายทั้งแอลเบเนียและจอร์เจีย ทำให้จบเป็นอันดับ 2 รองจากจ่าฝูง สวิตเซอร์แลนด์ ต้องไปเล่นเพลย์ออฟกับเวลส์ โดยเป็นเจ้าบ้านก่อนทำได้แค่เสมอ 0-0 ในมอสโก แต่กลับไปเอาชนะได้ 1-0 ที่คาร์ดิฟฟ์ ในสนามมิลเลเนียม สเตเดี้ยมจากประตูของ วาดิม เอฟซีฟ ในนาทีที่ 21 ได้ไปรอบสุดท้ายที่โปรตุเกสอย่างหวุดหวิด

ที่โปรตุเกส รัสเซียพ่ายในรอบแบ่งกลุ่ม 2 นัดรวด ต่อ สเปน 0-1 และโปรตุเกส 0-2 แต่แม้จะตกรอบไปแล้ว นัดที่ 3 พวกเขาก็ไว้ลาย เอาชนะ กรีซได้ 2-1 จากประตูของ ดมิตรี คิริเชนโก และ ดมิตรี บูไลกิน

ในอดีต เมื่อมีการริเริ่มต้นฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป เมื่อ 1958 สหภาพโซเวียตได้เข้าร่วมการแข่งขันด้วยทั้ง 4 ครั้งแรก โดยคว้าตำแหน่งแชมป์ยุโรปในปี 1960 และเข้าชิงชนะเลิศแต่พ่ายอีก 3 ครั้งในปี 1964 1972 และ 1988 ในปี 1992 หลังการแยกประเทศของสหภาพโซเวียต พวกเขาได้ลงเล่นฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปในนามของ ซีไอเอส : เครือจักรภาพรัฐอิสระโซเวียต และร่วมการแข่งขันในนามประเทศรัสเซีย ตั้งแต่ยูโร 1996 เป็นต้นมา

ในยูโร 1996 รัสเซียทำผลงานในรอบคัดเลือกได้ดีมาก โดยทำได้ 26 คะแนนจาก 10 นัด เข้าเป็นที่ 1 เข้าไปตกรอบแบ่งกลุ่มในรอบสุดท้าย โดยแพ้ อิตาลี 1-2 แพ้เยอรมนี 0-3 และเสมอ สาธารณรัฐเช็ก 3-3

ผลงานในฟุตบอลยูโรหลังการแยกประเทศของรัสเซียลงเล่น 48 ชนะ 27 เสมอ 10 แพ้ 11 ยิงได้ 100 เสีย 48

กลยุทธ์การเล่นของรัสเซีย

โค้ช กุส ฮิดดิงค์ ได้เข้ามาปรับโฉมทีมชาติรัสเซียใหม่ โดยปรับผู้เล่นรุ่นเก่าจากยูโร 2004 ออกไป และนำดาวรุ่งหน้าใหม่เข้ามาร่วมทีม ซึ่งพวกเขาก็สร้างผลงานได้ดีในรอบคัดเลือก

ผู้รักษาประตู อิกอร์ อาคินเฟเยฟ ของ ซีเอสเคเอ มอสโก ได้เข้ามาเป็นมือ 1 ของทีม แต่ในช่วงที่เขาบาดเจ็บเอ็นหัวเข่าต้องพักไปนาน 6 เดือน สองผู้เล่นที่เข้ามาแทน วีเชสลาฟ มาลาเฟเยฟ และ วลาดิเมียร์ กาบูลอฟ ต่างก็แสดงฝีมือได้ดีทั้งคู่

ในแดนหลัง ฮิดดิงค์ ยังคงไว้วางใจนักเตะเก่าให้เป็นหลักของทีมต่อไป โดยมี เซอร์เก อิกนาเชวิช, วาซิลี เบเรซุตสกี และ อเล็กเซ เบเรซุตสกี เป็น ตัวจริงในระบบ 3-5-2 และเพิ่ม อเล็กซานเดอร์ อันยูคอฟ มาเป็นตัวที่ 4 ในเกมที่ปรับเป็นกองหลัง 4 คน นอกจากนี้ยังมี เดนิส โคโลดิน ซึ่งเล่นได้ดีมาก ตอนที่เข้ามาแทนนักเตะที่บาดเจ็บ หรือถูกห้ามลงแข่ง

ในแดนกลางสองตัวรับจะเป็น คอนสแตนติน ซีร์อานอฟ วัย 30 นักเตะอายุมากที่สุดในทีมและนักเตะยอดเยี่ยมของรัสเซียประจำปี 2007 กับ อิกอร์ เซมชอฟ ซึ่งทำได้ดีในรอบคัดเลือก ส่วนกองกลางที่เหลือจะเป็นการแย่งตำแหน่งกันระหว่าง ดินิยาร์ บิลยาเลตดินอฟ, ยูริ เซอร์คอฟ, วลาดิเมียร์ บิสตรอฟ, อิวาน ซาเอนโก และ ดมิตรี ทอร์ปินสกี

แม้ว่าส่วนใหญ่รัสเซียจะเล่นแบบ 3-5-2 มีมิดฟิลด์ 5 คน แต่บางครั้งพวกเขาก็มีมิดฟิลด์คนที่ 6 โดยให้ อังเดร อาร์ชาวิน รับบทกองหน้าต่ำที่ทะลุขึ้นไปจากกลุ่มมิดฟิลด์เพื่อเข้าทำประตู แต่น่าเสียดายที่ อาร์ชาวิน จะถูกลงโทษห้ามแข่ง 2 นัด ทำให้จะมีโอกาสได้ลงช่วยทีมในนัดสุดท้ายของรอบแรกกับสวีเดนเท่านั้น ส่วนกองหน้าที่อาจจะเป็น 1 หรือ 2 ต้องเลือกระหว่าง อเล็กซานเดอร์ เคอร์ซาคอฟ, ดิมิทรี ซีเชฟ และ โรมัน พาฟลิยูเชนโก ซึ่งฟอร์มยังไม่คงเส้นคงวานัก ในช่วงรอบคัดเลือก ทำให้ ฮิดดิงค์ อาจจะดึงผู้เล่นใหม่ ๆ เข้ามาเสริมทีม รวม ทั้งดาวดังที่ไปเล่นในต่างแดนอย่าง มาร์ต อิซไมลอฟ, อเล็กเซ สเมอร์ติน และวิคเตอร์ บูเดียนสกี.


     โค้ช : กุส ฮิดดิงค์ 


     กุส ฮิดดิงค์ ยอดโค้ชผู้ได้รับสมญาว่า “พ่อมดแห่งวงการฟุตบอล” สร้างผลงานที่เกินความคาดหมายมาแล้วมากมายทั้งในการคุมทีมระดับสโมสรและทีมชาติและในฟุตบอลยูโร 2008 นี้ เขาก็ไม่ทำให้ชาวรัสเซียผิดหวัง เมื่อนำทีมชาติรัสเซีย เข้าสู่รอบสุดท้ายได้สำเร็จ 

สมัยเป็นนักเตะอาชีพเขามีผลงานที่ดีพอควร แต่ไม่ถึงกับโดดเด่นนัก โดยได้ลงเล่นให้กับหลายสโมสร ทั้งวาสเซเวลด์, เดอ กราฟชาป, พีเอสวี ไอนด์โฮเฟน, เอ็นอีซี เนจ์เมเกน, วอชิงตัน ดิพโลแมตส์ และ ซานโฮเซ เอิร์ธเควราส์ 

เขาเริ่มอาชีพโค้ช โดยเข้าร่วมงานที่พีเอสวี ไอนด์โฮเฟน ภายใต้การดูแลของ แยน เรเคอร์ และ ฮานส์ คราย และได้รับผิดชอบเป็นโค้ชเพียงผู้เดียวในเดือนมีนาคม 1987 เขาสามารถพาพีเอสวี ไอนด์โฮเฟน ครองแชมป์ลีก ดัตช์ ได้ 3 ครั้ง และได้รับการยกย่องมาก เมื่อพาพีเอสวี ไอนด์โฮเฟน เอาชนะเบนฟิกา คว้าแชมป์ฟุตบอลสโมสรยุโรปถ้วยใหญ่ ได้ในปี 1988 หลังจากนั้นก็รับบทจอมพเนจร ไปคุมทีมต่างประเทศที่เฟเนร์บาห์เช ในตุรกี, บาเลนเซีย, รีล มาดริด และ รีล เบติส ในสเปน โดยในระหว่างนั้นได้เข้ารับหน้าที่โค้ชทีมชาติเนเธอร์แลนด์ พาทีม “อัศวินสีส้ม” เข้าถึงรอบรองชนะเลิศฟุตบอลโลก 1998

ในปี 2001 เขารับข้อเสนอไปคุมทีมชาติเกาหลีใต้ ซึ่งได้รับสิทธิเป็นเจ้าภาพร่วมฟุตบอลโลก 2002 และสร้างผลงานได้ประทับใจเกินคาดหมาย เมื่อพาทีมเกาหลีใต้เข้าถึงรอบรองชนะเลิศ

หลังจบฟุตบอลโลก 2002 เขากลับมาคุมทีม พีเอสวี ไอนด์โฮเฟน อีกครั้ง และเพียงปีแรกก็พาพีเอสวี ไอนด์โฮเฟนครองแชมป์ลีกดัตช์ได้ในฤดูกาล 2002/03 ตามด้วยการคว้าดับเบิลแชมป์ดัตช์ในฤดูกาล 2004/05 และพาทีมสู้กับมิลานได้อย่างสูสี ในรอบรองชนะเลิศสโมสรยุโรป ยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก

เขาพาทีมป้องกันแชมป์ลีกดัตช์ไว้ได้ในปี 2005/06 พร้อมกับรับงานคุมทีมชาติออสเตรเลีย และพาทีมบ้านเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลก 2006 ได้สำเร็จ ทั้งยังคุมออสเตรเลียลงสู้กับยอดทีมที่เยอรมนีได้อย่างสูสี และเกือบพาทีมเข้าสู่รอบสองได้สำเร็จอยู่แล้ว จนกระทั่งเสียลูกจุดโทษในนาทีสุดท้ายให้กับอิตาลีตกรอบไปอย่างน่าเสียดายเป็นที่สุด

เขารับงานคุมทีมชาติรัสเซียตั้งแต่เมษายน 2006 แต่เข้าคุมทีมจริงหลังฟุตบอลโลก 2006 รอบสุดท้ายที่เยอรมนี โดยมีภาระพาทีมลงสู้ศึกรอบคัดเลือกฟุตบอลยูโร 2008 และพ่อมดแห่งวงการลูกหนังก็ทำได้สำเร็จอีกครั้งหนึ่ง ในแบบที่หลายคนเปรียบเทียบว่าเหมือนการร่ายมนตร์ของพ่อมดอย่างแท้จริง

อย่างไรก็ดี การเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลยูโร 2008 ของ รัสเซีย ในครั้งนี้ ต้องถือว่าพวกเขาอาศัยความโชคดีในเคราะห์ร้ายของอังกฤษทำให้เป็น 1 ใน 16 ทีมสุดท้ายได้อย่างเหลือเชื่อแต่เมื่อถึงรอบสุดท้ายนักเตะจากแดนหมีขาวจะต้องสำแดงศักยภาพที่มีอยู่ออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด เพื่อก้าวเดินไปสู่ความสำเร็จ ด้วยการผ่านเข้ารอบสอง รอบรองชนะเลิศ และเข้าไปลุ้นแชมป์ครั้งนี้ อาศัยดวงดีอย่างเดียวไม่พอแน่นอน.
รายชื่อนักเตะทีมชาติรัสเซียที่คาดว่าจะติดทีมไปออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์



ผู้รักษาประตู :
อิกอร์ อคินเฟเยฟ (ซีเอสเคเอ มอสโก), วีเชสลาฟ มาลาเฟเยฟ (เซนิต เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก), วลาดิเมียร์ กาบูลอฟ (อัมการ์ เพิร์ม)

กองหลัง : เซอร์เก อิกนาเชวิช (ซีเอสเคเอ มอสโก), อเล็กเซ เบเรซุตสกี (ซีเอสเคเอ มอสโก) , วาซิลี่ เบเรซุตสกี (ซีเอสเคเอ มอสโก), อเล็กซานเดอร์ อันยูคอฟ (เซนิต เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก), เดนิส โคโลดิน (ดินาโม มอสโก), เรนาต ยานบาเยฟ (โลโคโมทีฟ มอสโก)

กองกลาง : ดินิย่าร์ บิลยาเล็ตดินอฟ (โลโคโมทีฟ มอสโก), ยูริ เซอร์คอฟ (ซีเอสเคเอ มอสโก), อิกอร์ เซมชอฟ (ดินาโม มอสโก), ดิมิทรี ตอร์บินสกี (โลโคโมทีฟ มอสโก), วลาดิเมียร์ บิสตอฟ (สปาร์ตัก มอสโก), คอนสแตนติน ซีร์ยานอฟ (เซนิต เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก), โรมัน ชิโรคอฟ (เซนิต เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก), เซอร์เก เซมัค (รูบิน คาซาน), อเล็กซานเดอร์ ปาฟเลนโก้ (สปาร์ตัก มอสโก), โอเล็ก อิวานอฟ (ครีเลีย โซเวียตอฟ ซามารา)

กองหน้า : อังเดร อาร์ชาวิน (เซนิต เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก), พาเวล โปเกร็บยัค (เซนิต เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก), โรมัน พาฟลิยูเชนโก (สปาร์ตัก มอสโก), ดิมิทรี ซีเชฟ (โลโคโมทีฟ มอสโก), โรมัน อดามอฟ (เอฟเค มอสโก), อิวาน ซาเอนโก (เนิร์นแบร์ก/เยอรมนี)

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์