กระดาษเมา (LSD)












 


 






















    คลิกที่นี่เลยครับ


เชียงคำcmu
www.siammaxcyber.com
เวบเมล์
คอม-ไทย
siammedic.com
ClubHP


siam.to/linkland

 






  Monitored  






แอลเอสดี หรือกระดาษเมา


ชื่ออื่น กระดาษมหัศจรรย์ ( magic paper ) LSD (lysergic acid diethylamide)


ตัวอย่างที่ 1


        นักศึกษาหญิงอายุ 19 ปี ภายหลังเสพแอลเอสดีได้ 10 นาที มีอารมณ์รื่นเริงสนุกสนานสลัลกับอารมณ์เศร้า หัวเราะและร้องไห้ รู้สึกกังวลและหวาดกลัว อารมณ์เปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็วมองเห็นรูปภาพบนฝาผนังมีสีสันคมชัด แดงจัด เขียวจัดและเหลืองจ้าเหมือนฟ้าสีทอง มองเห็นภาพลอยได้ แจกันและดอกไม้มีขนาดมหึมาได้ยินเสียงเพลงจากวิทยุแต่กลับเห็นภาพโน้ตดนตรีแทน กระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เหงื่อออกท่วมตัว ม่านตาขยายและเสียการทรงตัว เดินเซ


ตัวอย่างที่ 2


        เลขานุการิณี อายุ 21 ปี เสพแอลเอสดีโดยละลายในเครื่องดื่ม เกิดอาการภาพหลอน เห็นวัตถุสิ่งของรูปทรงต่างๆ เช่น วงกลม สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม สีเขียว แดง ฟ้า และเหลืองเป็นประกายระยิบระยับ เห็นตุ๊กตาแก้วเคลื่อนไหวเป็นทางยาว นอนไม่หลับและฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์ร้ายแรง เมื่อได้รับการรักษาผู้ป่วยเป็นปกติอยู่นาน 2 สัปดาห์ ต่อจากนั้นเริ่มฝันน่ากลัวอีก เห็นภาพการแทงกันและอาบไปด้วยเลือด ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในภาพยนตร์ซึ่งได้ไปดูมาขณะเสพยา นอกจากนี้ยังมีภาพหลอนน่ากลัวขณะที่กำลังจะตื่น ในเวลาต่อมาผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างมากร่วมกับความรู้สึกกระวนกระวาย และมีหูแว่วว่ามีคนจะมาทำร้าย ต้องให้การรักษาด้วย ช๊อคไฟฟ้า อาการของผู้ป่วยจึงเป็นปกติ


ประวัติ



            ในปี ค.ศ. 1960 ทิโมที แลรี่ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดได้ทดลองเสพสารแอลเอสดี และเสนอผลการเสพสารแอลเอสดีไว้ดังนี้
  1. ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขทันที

  2. มีความคิดสร้างสรรค์ทางด้านดนตรีและศิลปะ

  3. เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงาน

  4. เพิ่มความไวของประสาทการรับรู้

       ในระยะแรกได้มีการใช้สารนี้ในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย ผู้เสพในมัยนั้นอายุ มากกว่าในปัจจุบัน โดยมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 21 ปี ต่อมาได้มีการเสพกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากหาซื้อง่ายเพราะมีขายกันทั่วไป กลุ่มผู้เสพที่สำคัญคือ นักดนตรี นักดนตรีร็อค พวกฮิปปี้และบุปผาชน (flower children) ได้มีงานรื่นเริงฉลองการเสพแอลเอสดีอย่างเอิกเกริกและยิ่งใหญ่ เช่น งานฉลองฤดูร้อนแห่งความรัก (summer love) ที่มลรัฐซานฟรานซิสโก


     ในเวลาต่อมาสารแอลเอสดีได้แพร่ระบาดเข้าไปในกลุ่มวัยรุ่น และในทุกกลุ่มชนชั้นโดยเฉพาะชนชั้นกลางและร่ำรวย เด็กวัยรุ่นในกลุ่มเสพประท้วงรัฐบาลในการทำสงครามกับเวียดนาม ขอเพิ่มสิทธิมนุษยชนและอิสระในการพูดและแสดงความคิดเห็น         :  ในระยะหลังๆ ผู้เสพแอลเอสดีได้ใช้สารเสพย์ติดชนิดอื่นร่วมด้วย เช่น กัญชา แอมเฟทามิน หรือเฮโรอีน ทำให้การเสพสารนี้กลายเป็นปัญหาระดับชาติที่สำคัญ ร่วมกับปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาเกี่ยวกับสงครามในเวียดนาม จึงได้มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพย์ติดครั้งยิ่งใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้มีการตั้งองค์กรเรียกสถาบันศึกาษาเรื่องยาเสพย์ติดแห่งชาติ * ในปัจจุบันสารแอลเอสดี เฮโรอีนและกัญชาจัดว่าเป็นยาเสพย์ติดต้องห้ามลำดับที่ 1 ของประเทศสหรัฐอเมริการ *


การแพร่ระบาด


*การเสพสารนี้ในประเทศไทยพบได้ในกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษา*         ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1992 มีการเสพสารนี้ในเด็กนักเรียนชั้นมะยมและผู้ใหญ่ตอนต้นเพิ่มมากขึ้น ในปี ค.ศ. 1994 พบว่าร้อยละ 7 ของเด็กนักเรียนโรงเรียนมัธยมร้อยละ 5 ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเสพสารนี้ และจากงานวิจัยของมหาวิทยาลับทูเลน พบว่าเด็กนักเรียนที่เคยเสพสารนี้มีถึงร้อยละ 7


รูปแบบของสาร

        แอลเอสดีเป็นสารหลอนประสาทที่มีฤทธิ์แรงที่สุด การเสพเพียงขนาด 20 ไมโครกรัม หรือ 0.02 มิลลิกรัม ก็ทำให้เกิดความผิดปกติได้โดยทั่วไปสารแอลเอสดีที่ขายตามท้องตลาดมีขนาด 50 – 300 ไมโครกรัม ( .05 – 0.3 ) และได้รับการผลิตออกมาหลายรูปแบบ เช่น ยาเม็ด กระดาษซับและแสตมป์ เรียกว่า กระดาษมหัศจรรย์ ( magic paper ) กระดาษนรกหรือกระดาษเมา ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการพกพาและหลบซ่อนเจ้าหน้าที่ตำรวจ

อาการ


    แอลเอสดีเป็นสารหลอนประสาท มีผลต่ออารมณ์ จิตใจและพฤติกรรมดังต่อไปนี้
  1. มีอารมณ์รื่นเริงสนุกสนาน

  2. อารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้

  3. อาจเกิดความกลัวอย่างรุนแรง เช่น กลัววิกลจริต กลัวตาย

  4. เห็นภาพคมชัดผิดปกติ เช่น มีสีสันกว่าธรรมดา หรือเป็นประกายสวยงาม

  5. ได้ยินเสียงแต่เห็นเป็นภาพแทน เช่น ได้ยินเสียงดนตรีแต่เห็นเป็นภาพโน้ตเพลง

  6. ภาพหลอนที่เห็นมักมีรูปทรงเรขาคณิต เช่น วงกลม สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม

  7. หัวใจเต้นเร็ว มีไข้ และความดันโลหิตสูง
อนึ่งอาการดังกล่าวอาจปรากฎให้เห็นซ้ำอีกได้ แม้ไม่ได้เสพสารแล้ว โดยจะปรากฎเป็นพัก ๆ และอาจทำให้เกิดขึ้นได้เอง เช่น โดยการนึกคิดหรือถูกกระตุ้นโดยเข้าไปอยู่ในที่มืด และอาจมีอาการอยู่นานเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี เรียกลักษณะเช่นนี้ว่า “ ปรากฏการณ์ซ้ำ “ หรือ flashback

อันตรายและพิษของสาร



  1. อาจเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เนื่องจากผู้ป่วยคิดว่าตน “บิน” ได้ จึงกระโดลงมาจากตึกสูง

  2. อาจได้รับบาดเจ็บจากการทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น เนื่องจากผู้ป่วยมีความผิดปกติของการรับรู้ การตัดสินใจเสีย

View Guestbook
Sign Guestbook

ติดต่อคนทำเวบ

  ยาเสพติด








    คลิกที่นี่เลยครับ


เชียงคำcmu
www.siammaxcyber.com
เวบเมล์
คอม-ไทย
siammedic.com
ClubHP


siam.to/linkland

 






  Monitored  






แอลเอสดี หรือกระดาษเมาชื่ออื่น กระดาษมหัศจรรย์ ( magic paper ) LSD (lysergic acid diethylamide)


ตัวอย่างที่ 1


        นักศึกษาหญิงอายุ 19 ปี ภายหลังเสพแอลเอสดีได้ 10 นาที มีอารมณ์รื่นเริงสนุกสนานสลัลกับอารมณ์เศร้า หัวเราะและร้องไห้ รู้สึกกังวลและหวาดกลัว อารมณ์เปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็วมองเห็นรูปภาพบนฝาผนังมีสีสันคมชัด แดงจัด เขียวจัดและเหลืองจ้าเหมือนฟ้าสีทอง มองเห็นภาพลอยได้ แจกันและดอกไม้มีขนาดมหึมาได้ยินเสียงเพลงจากวิทยุแต่กลับเห็นภาพโน้ตดนตรีแทน กระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เหงื่อออกท่วมตัว ม่านตาขยายและเสียการทรงตัว เดินเซ


ตัวอย่างที่ 2


        เลขานุการิณี อายุ 21 ปี เสพแอลเอสดีโดยละลายในเครื่องดื่ม เกิดอาการภาพหลอน เห็นวัตถุสิ่งของรูปทรงต่างๆ เช่น วงกลม สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม สีเขียว แดง ฟ้า และเหลืองเป็นประกายระยิบระยับ เห็นตุ๊กตาแก้วเคลื่อนไหวเป็นทางยาว นอนไม่หลับและฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์ร้ายแรง เมื่อได้รับการรักษาผู้ป่วยเป็นปกติอยู่นาน 2 สัปดาห์ ต่อจากนั้นเริ่มฝันน่ากลัวอีก เห็นภาพการแทงกันและอาบไปด้วยเลือด ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในภาพยนตร์ซึ่งได้ไปดูมาขณะเสพยา นอกจากนี้ยังมีภาพหลอนน่ากลัวขณะที่กำลังจะตื่น ในเวลาต่อมาผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างมากร่วมกับความรู้สึกกระวนกระวาย และมีหูแว่วว่ามีคนจะมาทำร้าย ต้องให้การรักษาด้วย ช๊อคไฟฟ้า อาการของผู้ป่วยจึงเป็นปกติ


ประวัติ



            ในปี ค.ศ. 1960 ทิโมที แลรี่ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดได้ทดลองเสพสารแอลเอสดี และเสนอผลการเสพสารแอลเอสดีไว้ดังนี้
  1. ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขทันที

  2. มีความคิดสร้างสรรค์ทางด้านดนตรีและศิลปะ

  3. เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงาน

  4. เพิ่มความไวของประสาทการรับรู้

       ในระยะแรกได้มีการใช้สารนี้ในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย ผู้เสพในมัยนั้นอายุ มากกว่าในปัจจุบัน โดยมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 21 ปี ต่อมาได้มีการเสพกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากหาซื้อง่ายเพราะมีขายกันทั่วไป กลุ่มผู้เสพที่สำคัญคือ นักดนตรี นักดนตรีร็อค พวกฮิปปี้และบุปผาชน (flower children) ได้มีงานรื่นเริงฉลองการเสพแอลเอสดีอย่างเอิกเกริกและยิ่งใหญ่ เช่น งานฉลองฤดูร้อนแห่งความรัก (summer love) ที่มลรัฐซานฟรานซิสโก


     ในเวลาต่อมาสารแอลเอสดีได้แพร่ระบาดเข้าไปในกลุ่มวัยรุ่น และในทุกกลุ่มชนชั้นโดยเฉพาะชนชั้นกลางและร่ำรวย เด็กวัยรุ่นในกลุ่มเสพประท้วงรัฐบาลในการทำสงครามกับเวียดนาม ขอเพิ่มสิทธิมนุษยชนและอิสระในการพูดและแสดงความคิดเห็น         :  ในระยะหลังๆ ผู้เสพแอลเอสดีได้ใช้สารเสพย์ติดชนิดอื่นร่วมด้วย เช่น กัญชา แอมเฟทามิน หรือเฮโรอีน ทำให้การเสพสารนี้กลายเป็นปัญหาระดับชาติที่สำคัญ ร่วมกับปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาเกี่ยวกับสงครามในเวียดนาม จึงได้มีการรณรงค์ต่อต้านยาเสพย์ติดครั้งยิ่งใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้มีการตั้งองค์กรเรียกสถาบันศึกาษาเรื่องยาเสพย์ติดแห่งชาติ * ในปัจจุบันสารแอลเอสดี เฮโรอีนและกัญชาจัดว่าเป็นยาเสพย์ติดต้องห้ามลำดับที่ 1 ของประเทศสหรัฐอเมริการ *


การแพร่ระบาด


*การเสพสารนี้ในประเทศไทยพบได้ในกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษา*         ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1992 มีการเสพสารนี้ในเด็กนักเรียนชั้นมะยมและผู้ใหญ่ตอนต้นเพิ่มมากขึ้น ในปี ค.ศ. 1994 พบว่าร้อยละ 7 ของเด็กนักเรียนโรงเรียนมัธยมร้อยละ 5 ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเสพสารนี้ และจากงานวิจัยของมหาวิทยาลับทูเลน พบว่าเด็กนักเรียนที่เคยเสพสารนี้มีถึงร้อยละ 7


รูปแบบของสาร

        แอลเอสดีเป็นสารหลอนประสาทที่มีฤทธิ์แรงที่สุด การเสพเพียงขนาด 20 ไมโครกรัม หรือ 0.02 มิลลิกรัม ก็ทำให้เกิดความผิดปกติได้โดยทั่วไปสารแอลเอสดีที่ขายตามท้องตลาดมีขนาด 50 – 300 ไมโครกรัม ( .05 – 0.3 ) และได้รับการผลิตออกมาหลายรูปแบบ เช่น ยาเม็ด กระดาษซับและแสตมป์ เรียกว่า กระดาษมหัศจรรย์ ( magic paper ) กระดาษนรกหรือกระดาษเมา ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการพกพาและหลบซ่อนเจ้าหน้าที่ตำรวจ

อาการ


    แอลเอสดีเป็นสารหลอนประสาท มีผลต่ออารมณ์ จิตใจและพฤติกรรมดังต่อไปนี้
  1. มีอารมณ์รื่นเริงสนุกสนาน

  2. อารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้

  3. อาจเกิดความกลัวอย่างรุนแรง เช่น กลัววิกลจริต กลัวตาย

  4. เห็นภาพคมชัดผิดปกติ เช่น มีสีสันกว่าธรรมดา หรือเป็นประกายสวยงาม

  5. ได้ยินเสียงแต่เห็นเป็นภาพแทน เช่น ได้ยินเสียงดนตรีแต่เห็นเป็นภาพโน้ตเพลง

  6. ภาพหลอนที่เห็นมักมีรูปทรงเรขาคณิต เช่น วงกลม สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม

  7. หัวใจเต้นเร็ว มีไข้ และความดันโลหิตสูง
อนึ่งอาการดังกล่าวอาจปรากฎให้เห็นซ้ำอีกได้ แม้ไม่ได้เสพสารแล้ว โดยจะปรากฎเป็นพัก ๆ และอาจทำให้เกิดขึ้นได้เอง เช่น โดยการนึกคิดหรือถูกกระตุ้นโดยเข้าไปอยู่ในที่มืด และอาจมีอาการอยู่นานเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี เรียกลักษณะเช่นนี้ว่า “ ปรากฏการณ์ซ้ำ “ หรือ flashback

อันตรายและพิษของสาร



  1. อาจเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เนื่องจากผู้ป่วยคิดว่าตน “บิน” ได้ จึงกระโดลงมาจากตึกสูง

  2. อาจได้รับบาดเจ็บจากการทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น เนื่องจากผู้ป่วยมีความผิดปกติของการรับรู้ การตัดสินใจเสีย

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์