BRIAN ENO












BRIAN ENO
อัจฉริยะแห่งเสียงสังเคราะห์

(by panyarak poolthup; 1987)

 


src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/enoportrait.jpg

ดูเหมือนว่า ในเมืองไทยเราจะมีผู้เขียนถึง Brian Eno อัจฉริยะแห่งเสียงสังเคราะห์อย่างเป็นจริงเป็นจังเพียงครั้งเดียวโดยคุณพัณณาศิส ศิลาพันธุ์ใน Starpics ซึ่งในขณะที่คุณพัณณาศิส เขียนเกี่ยวกับความรู้สึกที่มีต่อผลงานของ Eno นั้น คุณพัณณาศิส เคยได้ฟังผลงานของ Eno เพียงบางชุดเท่านั้น แต่ก็นับได้ว่าสามารถสรุปลักษณะดนตรีของ Eno ไว้ได้ละเอียดพอสมควร ผมคิดว่าตอนนี้คุณพัณณาศิส คงได้ฟังผลงานของ Eno ครบทุกชุดแล้ว เพราะคุณพัณณาศิส กำลังศึกษาต่ออยู่ที่อเมริกา ซึ่งสามารถหาซื้อแผ่นของ Eno ได้ทุกชุด ในราคาไม่แพง ผมซึ่งได้ฟังผลงานของ Eno มาทุกชุด จึงขอเสริมต่อเกี่ยวกับดนตรีของ Eno สำหรับผู้ที่สนใจดนตรีแปลกๆแต่มีคุณภาพ

ขอยกตัวอย่างอัลบั้มของ Eno พอสังเขปดังนี้ครับ

src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/Fripp__Enos_No_Pussyfooting.jpg

No Pussyfootin' (1973) ร่วมกับ Robert Fripp

เป็นเพลงบรรเลงที่เครียด และน่าเบื่อมากๆ ฟังดูเหมือน Eno กดคีย์บอร์ดแช่อยู่คีย์เดียวนานๆ จึงเปลี่ยนเป็นอีกคีย์หนึ่งซะที ส่วน Fripp ก็เล่นเครื่อง Frippertronics ซึ่งให้เสียงแบบยืดเยื้อ น่าเบื่อ แผ่นนี้เหมาะสำหรับตั้งโชว์มากกว่า เพราะปกสวยมาก ส่วนดนตรีฟังแล้วอารมณ์เสียเปล่าๆ

 
 

src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/herecomesthewarmjet.jpg

Here Come The Warm Jets (1974)

แผ่นนี้เป็น Pop Rock ที่ออก Progressive Rock หน่อยๆ Eno ร้องนำเอง ใครชอบ Progressive Rock ก็น่าจะชอบแผ่นนี้ มีเพลง Baby's On Fire ซึ่งเด่นด้วยเสียง Synth ซึ่งเล่นดังมาก เพลงนี้ Eno ชอบนำไปเล่นแสดงสด ทั้งงานของตนเองและงานในฐานะ นักดนตรีรับเชิญ ก็ยังอุตส่าห์นำเพลงนี้ไปเล่นด้วย

src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/june1.jpg

June 1st 1974 (1974) ร่วมกับ John Cale, Mike Oldfield, Nico, Kevin Ayers

เป็นแผ่นแสดงสด ที่ศิลปินแต่ละคนเอาเพลงของตนมาเล่น ซึ่ง Eno ก็ไม่พลาดที่จะนำเพลง Baby's On Fire มาเล่นด้วย

src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/taking.jpg

Taking Tiger Mountain by Strategy (1974)

แผ่นนี้เป็นเพลงร้องซึ่ง Eno ร้องบีบเสียงแทบทุกเพลง มีเพลง Taking Tiger Mountain ที่ออก Progressive เพลงอื่นๆ ฟังดูธรรมดามากๆ

 


src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/anothergreenworld.jpg

Another Green World (1974)

แผ่นนี้ออก Progressive Rock มีทั้งเพลงร้อง และเพลงบรรเลง ซึ่งนักวิจารณืเมืองนอกยกย่องว่า แผ่นนี้เป็นแผ่นดีที่สุดของ Eno

 
 

src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/eveningstar.jpg

Evening Star (1975) ร่วมกับ Robert Fripp

แผ่นนี้ก็เหมือนๆกับแผ่น No Pussyfootin'


 

src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/discreetmusic.jpg

Discreet Music (1975)

แผ่นนี้เป็น 1 ใน 10 ชุดของโครงการ Obscure ซึ่งใช้ดนตรีบรรยายภาพ ที่ศิลปินมองออกไปจากหน้าต่าง Apartment ของตน สำหรับ Eno นี้ดนตรีออกจะน่าเบื่อมากๆ ทั้ง 2 เพลง ดนตรีในชุดนี้เป็นดนตรีในแนว Ambient Music ซึ่งเป็นดนตรีที่ไม่ได้มีไว้สำหรับ ฟัง แต่เป็นดนตรีที่เข้าไปถมช่องว่างที่มีอยู่ ที่ Eno โด่งดังมาก ก็จากการที่เขาทำดนตรีในแนว Ambient Music ออกมา

Eno ได้ความคิดการทำ Ambient Music (หรือดนตรีเพื่อถมช่องว่าง หรือดนตรีที่ไม่ได้มีไว้สำหรับฟัง แต่เป็นดนตรีเสริมสร้างบรรยากาศ ซึ่งถ้าเอามาเปิดฟังแล้วนั่งฟังจะน่าเบื่อมาก) จากการที่เขาประสบอุบัติเหตุโดนแท็กซี่ชนจนเคลื่อนไหวไม่ได้ เขาต้องนอนอยู่บนเตียงในบ้าน มีเพื่อนของเขาคนหนึ่งมาเยี่ยม แล้วก่อนที่เพื่อนจะกลับ Eno ได้ขอร้องให้เพื่อนสาวคนนั้นช่วยเปิดแผ่นเสียงที่เธอเพิ่งซื้อมาฝากให้หน่อย แผ่นเสียงแผ่นนั้นเป็นดนตรีบรรเลงบรรเลงเสียงพิณในสมัยศตวรรษที่ 18 ตอนนั้น เครื่องเสียงของเขาทำงานไม่ค่อยดี โดยมีเสียงออกมาทางลำโพงเดียว แล้วระดับเสียงก็ถูกหรี่จนเขาแทบไม่ได้ยินอะไรเลย เนื่องจากถูกเสียงฝนข้างนอกกลบหมด เขารำพึงกับตนเองว่า มันช่างน่ารำคาญจริงๆ ที่ไม่ได้ยินอะไรเลย เขาจะลุกไปปิดก็ไม่ได้ เพราะยังเคลื่อนไหวไม่ได้ ได้แต่รอให้มันเล่นจนหมดแผ่นไปเอง

ขณะที่เขานอนฟังสียงฝนอยู่นั้น เขาก็ได้ยินแต่ตัวโน๊ตที่ดังที่สุด นานๆ ครั้ง หรือไม่ก้เสียงโน้ตเบาๆ เขาเริ่มรู้สึกว่า มันฟังดูเข้าที แล้วก็เริ่มคิดว่า ทำไมไม่มีใครทำดนตรีแบบนี้ออกมาบ้าง ทำไมไม่มีแผ่นเสียงที่เป็นเสียงการผสมผสานอย่างสวยงามโดยไม่จงใจของเสียงเม็ดฝนและละอองฝนเป็นส่วนประกอบ ขณะที่เขากำลังฟังอยู่ เขารู้สึกว่าเขาได้ยินเสียงบางอย่าง ซึ่งเขารู้ว่ามีบางเสียงแอบซ่อนอยู่ภายใต้เสียงนั้นอีกที แล้วเขาก็ตัดสินใจทำแผ่น Discreet Music ออกมาเป็น Ambient Music แผ่นแรก

หลังปกแผ่นนี้ มีคำอธิบายพร้อมรูปวาดประกอบเกี่ยวกับการทำดนตรีแผ่นนี้ออกมาอย่างมีระบบ ซึ่งแสดงถึงขั้นตอนการทำงานของเขาว่ามีการวางแผนเป็นอย่างดี

src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/Before_and_After_Science.jpg

Before And After Science (1977)

Eno กลับไปทำดนตรี Pop Rock อีกครั้ง แต่ครั้งนี้เป็นดนตรีชวนเต้นรำมากกว่า ผมเคยเข้าไปเลือกซื้อแผ่นเสียง ในร้านแผ่นเสียงร้านนึงในอเมริกา ซึ่งขณะนั้นมีฝรั่งเข้าไปในร้านกันเยอะพอสมควร แล้ว ดีเจ ประจำร้านก็เปิดเพลง Backwater จากแผ่นนี้ขึ้นมา ซึ่งเพลงนี้ไม่มีใครรู้จักมาก่อน วิทยุก็ไม่เคยเล่นเพลงไหนๆ ของ Eno อยู่แล้ว แล้วก็ไม่เคยตัดเป็น Single ด้วย ปรากฏว่าฝรั่งค่อนร้านเต้นตามเพลงนี้กันอย่างสนุกสนาน ซึ่งทำให้ผมประหลาดใจมาก เพราะพอ ดีเจ เปลี่ยนเพลงเป็นเพลงจังหวะเต้นรำโหลๆ ที่รู้จักกันดี ฝรั่งพวกนี้กลับไม่สนใจอย่างมากก็แค่ร้องตาม
สำหรับแผ่นเพลงร้องแล้ว ผมชอบแผ่นนี้ของ Eno มากที่สุด

 


src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/musicforfilm.jpg

Music for Films (1978)

แผ่นนี้เป็นเพลงบรรเลงสั้นๆ สำหรับดนตรีประกอบวีดีโอแปลกๆของ Eno เพลงในแผ่นนี้ต้องดูวีดีโอประกอบจึงจะเข้าถึงดนตรีของ Eno ได้ดี


 

src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/aftertheheat.jpg

After The Heat (1978) ร่วมกับ Cluster

นำมาออกใหม่ในปี 1985 ใช้ชื่อว่า Old Land โดยสลับเพลงระหว่าง Side A กับ B
แผ่นนี้เป็นแนว New Age โดยมี Moebius กับ Hans-Joachim Roedelius มือ Synth จากเยอรมนี มาร่วมด้วย แผ่นนี้มีเพลงร้อง 2 เพลง เพลงนึงชื่อ The Belldog ซึ่งออก Progressive ฟังแล้วล่องลอยไปกับเสียงเพลงดี


 

src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/musicforairport.jpg

Ambient #1 / Music For Airports
(1979)

Eno กลับไปทำ Ambient Music อีกครั้ง ซึ่งเขาวางแผนไว้ว่าจะมีตามออกมาอีก 3 ชุด ในชุดนี้เขาตั้งใจที่จะทำดนตรีให้สนามบิน Cologne ซึ่ง เขาเคยนั่งคอยเครื่องบินอยู่ ขณะนั้นเขาคิดว่า สถานที่นั้นมันขาดอะไรไปอย่างหนึ่ง เขาหวลไประลึกถึงความรู้สึกตอนที่เขาประสบอุบัติเหตุ อีกครั้งหนึ่ง แล้วก็คิดได้ว่าดนตรีแบบนั้น คือสิ่งที่จะเข้ามาถมช่องว่างที่มีอยู่ เขาเริ่มคิดว่าจะทำมันออกมายังไงดี เพราะมันต้องเป็นดนตรีที่ไม่ยี่หระต่อการรบกวนจากเสียงอื่น เช่นเสียงการประกาศของสนามบิน มันต้องไม่ดังจนเกินไป มิฉะนั้นจะทำให้คนยิ่งพูดดังขึ้นแบบในไนต์คลับ เขาตะหนักว่าเขาต้องทำออกมาให้มีความถี่ที่ไม่ขัดกับบทสนทนาของคน ซึ่งในเพลงนึง เขาจะเน้นที่เสียงเบสที่ต่ำมากๆ ในขณะที่เพลงอื่นเขาจะเน้นเสียงแหลมมากๆ โดยไม่ให้ขัดกับเสียงพูดคุย ความคิดนี้ เป็นความพยายามที่จะทำดนตรีสำหรับสนามบิน ที่มีคนพลุกพล่านแต่เขายังมีไอเดียภายใต้ความคิดนี้คือ การทำดนตรีสำหรับสถานที่ใหม่ๆ นอกจากห้องนั่งเล่นที่บ้าน
ผมยังไม่มีโอกาสได้ฟังแผ่นนี้ ในสนามบินก็เลยไม่ทราบว่ามันเป็นยังไง เคยเปิดฟังแต่ในห้องนอน ซึ่งก็น่าเบื่อตามเคย

src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/possiblemusic.jpg

Possible Music-Fourth World Vol.1 (1980) ร่วมกับ Jon Hassell

Jon Hassell เป็นนักเป่า Sax แต่เสียง Sax ของเขาโดน Eno ทำ treatment เสียจนกลายเป็นเสียงอย่างอื่นไป ซึ่งฟังดูแล้วมีความไพเราะมาก ดนตรีในแผ่นนี้เกี่ยวกับอารยธรรมแอฟริกา ที่ค่อนข้างล้าหลัง ในสายตาชาวตะวันตก

 

 
src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/theplateaxofmirror.jpg

Ambient #2 / The Plateaux of Mirror (1980) ร่วมกับ Harold Budd

Harold Budd เป็นนักเปียโน New Age แผ่นนี้เกี่ยวกับภูมิประเทศแบบที่ราบสูง ซึ่งฟังดูแล้วน่าเบื่อ ชวนหลับเป็นที่สุด ดนตรีชุดนี้เบาๆ นื่มๆ เหมือนกันหมดทั้งแผ่น

 


src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/mylife.jpg

My Life in The Bush of Ghost (1981) ร่วมกับ David Byrne

แผ่นนี้รวบรวมเสียงประหลาดๆ จากที่ Eno บันทึกเทปไว้ในโอกาสต่างๆ เช่นพิธีการไล่ผี และ งานสวดในศาสนา David Byrne จาก Talking Heads เป็นคนร้องนำ แผ่นนี้ใครชอบ Progressive Rock แบบแปลกๆ ไม่ควรพลาด

 


src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/onland.jpg

Ambient #4 / On Land (1982)

ที่กระโดดมา Ambient 4 ก็เพราะ Ambient 3 เล่นโดย Laraaji โดยมี Eno เป็นแค่ Producer เท่านั้น ชุด On Land เป็นดนตรีเกี่ยวกับภูมิประเทศ ซึ่งฟังได้เพลินดีกว่า Ambient 2 ชุดแรกมาก ส่วน Ambient 3 ใช้ชื่อว่า Day OF Radiance เป็น Ambient ที่ฟังดูไพเราะที่สุด ออกแนว New Age ชัดมาก

src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/Brianenoapollo.jpg

Apollo: Atmospheres and Soundtracks (1983) ร่วมกับ Roger Eno, Daniel Lanois

Roger Eno เป็นน้องชาย Brian Eno, Roger เพิ่งมีแผ่นเดี่ยวออกมาชื่อชุด Voices ซึ่งเป็น New Age ที่ไพเราะมาก ส่วนชุด Apollo นี้ออกมาเพราะแรงดลใจของ Brian Eno ที่มีต่อโครงการอวกาศของสหรัฐ เพลงในแผ่นนี้ฟังดูเป็นอวกาศดีสมกับชื่อแผ่น สำหรับ Daniel Lanois นั้นมีชื่อเสียงด้านการ Produce แผ่นพวก New Age รวมทั้งแผ่น So ของ Peter Gabriel ด้วย พูดถึง Peter Gabriel แล้ว ดูเหมือน เขาเคยร่วมงานกับ Eno อยู่ครั้งนึง ในเพลง Here Comes The Flood ซึ่งอยู่ใน Lp. เดี่ยวแผ่นแรกของ Robert Fripp โดยมี Eno เล่น keyboards, Fripp เล่น Frippertronics ส่วนเสียงกลองถูกตัดทิ้งออกหมด ผลก็คือเพลง Progressive ชั้นยอด


 

src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/Thursday_Afternoon.jpg

Thursday Afternoon (1986)

ทำออกมาเป็น CD เท่านั้น ชุดนี้ฟังจากที่คุณพัณณศิส คุยให้ฟังแล้ว ก็ทราบว่ามันเป็นยังไง นั่นคือเหมือนแผ่น No Pussyfootin' แต่ตัดเสียง Frippertronics ของ Fripp ออก
   

 

src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/DesertIslandSelection-cover.jpg

More Blank than Frank/Desert Island Selection (1986; compilation)

แผ่นรวมเพลงที่ Eno ชอบมากที่สุด 10 เพลง บางเพลง Mix เสียงใหม่
 

 

Rarities (1986)

ชุดนี้เป็นกล่องมี 10 แผ่น เป็นผลงานเดี่ยวของ Eno ในอดีตทั้งหมด บวกแผ่น Ep. ซึ่งมีเพลงที่ Eno เคยออกเป็น Single สมัยเริ่มต้นออกผลงานเดี่ยว โดยมีเพลง The Lion Sleeps Tonight รวมอยู่ด้วย




src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/220px-Brian_Eno_Profile_Long_Now_Fo.jpg

Brian Eno at the Long Now Foundation, June 26, 2006.

นอกจากนี้ Eno ยังเป็นศิลปินรับเชิญให้เพื่อนร่วมวงการอีกหลายคน เช่น John Cale, Phil Manzanera, David Bowie, David Byrne และเป็น Producer ให้ เช่น Roger Eno, Harold Budd, John Hassell, Michael Brooks, Laraaji, U2, Talking Heads และศิลปินในโครงการ Obscure ที่มีทั้งหมด 10 ชุด

ในร้านแผ่นเสียงในอเมริกา มีปัญหาในการจัดประเภทดนตรีของ Eno เช่นเดียวกับ Philip Glass แต่โดยมากแล้ว แผ่นของ Eno ทั้งหมดจะถูกจัดไว้ในประเภททั้ง Rock หรือ New Age ได้

นอกจากอัลบั้มแล้ว Eno ยังมีผลงานศิลปะออกมาอีกพอสมควร เช่น หนังสือรวมรูปภาพม งานแสดงศิลปะซึ่งเป็นวีดีโอความยาว 47 นาที ชื่อ Mistaken Memories of Medieval Manhattan (1981) และภาพเปลี่ยนสีซึ่งมีเสียงดนตรีประกอบ รวมทั้งนิยายวิทยาศาสตร์ในรูปแผ่นเสียงซึ่งเล่นดนตรีประกอบโดย Eno

โดยความรู้สึกส่วนตัวแล้ว Brian Eno เป็นทั้ง Musician และ Artist ที่มีผลงานออกมาสม่ำเสมอ โดยไม่คำนึงว่าผลงานที่ออกมาจะขายได้หรือไม่ เพราะเขาเชื่อว่า มีคนกลุ่มหนึ่ง ที่ติดตามผลงานของเขาทุกชุด เนื่องจากเขาเปลี่ยนแนวดนตรีไปมา โดยไม่สามารถทำนายได้ล่วงหน้า การซื้อแผ่นเพียงไม่กี่ชุดแล้วคิดว่าชุดอื่นๆ ก็คงเหมือนกันก็ย่อมทำไม่ได้ ทำให้ผลงานดนตรีของ Eno น่าติดตามอยู่เสมอ แต่ใจจริงแล้ว ผมชอบ เพลงร้องของ Eno มากกว่า ส่วนเพลงบรรเลงของเขาเนื่องจากยังไม่เคยได้ฟังในสถานที่ๆ เขาตั้งใจจะให้ฟัง จึงยังไม่สามารถเข้าถึงเป้าหมาย ของดนตรีของเขาได้เต็มที่ สำหรับผู้อ่านที่เป็นโรคนอนไม่หลับ ถ้ามีเครื่องเล่น CD ก็ลองซื้อแผ่น Thursday Afternoon ส่วนผู้เล่นแผ่นก็ควรลองซื้อ Discreet Music มาฟังดู คิดว่าผู้อ่านคงหลับสนิทใน 10 นาที

 


src=http://i137.photobucket.com/albums/q239/polotoon/enoportrait1.jpg


end.

ขอบคุณ:Polotoon [The Snow Goose]แห่ง Thaiprog


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์