เบื้องหลังความสำเร็จของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ยังมีคราบนำตาของชาวแอฟริกาใต้




           เบื้องหลังความสำเร็จของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ยังมีคราบนำตาของชาวแอฟริกาใต้


          มหกรรมฟุตบอลโลกอันโอ่อ่าได้เปิดพิธีขึ้น พร้อมกับความทึ่งของชาวโลกที่เห็นภาพลักษณ์ใหม่ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ที่ทั้งสนามกีฬาและสภาพทั่วไปของเมืองถูกสร้างขึ้นอย่างทันสมัยและสวยงาม

          แต่จะมีใครรู้บ้างมั้ยว่า ฉากหลังของความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ กลับเต็มไปด้วยน้ำตาของชาวแอฟริกาใต้จำนวนมาก ที่ถูกทางการจัดหาที่อยู่ใหม่ให้ (มันก็คือการไล่ที่นั่นแหละ) เพื่อว่าทางการจะนำเอาที่แห่งนั้นสร้างสนามกีฬา เอลลิส พาร์ค สเตเดียมและปรับปรุงสภาพของเมืองใหม่ให้สวยงาม ทันสมัย 

          
ทางการอยากปกปิดพวกเราไว้ไม่ให้คนต่างถิ่นรู้ว่าชาวพื้นเมืองอยู่กันนยังไง จึงรื้อบ้านเก่าๆของพวกเราทั้งหมด
       

           นี่คือคำบอกเล่าของชาวพื้นเมืองคนหนึ่งที่ประสบปัญหานี้
           
         
  เขากล่าวว่า หลังจากแอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก เมืองที่เขาเคย
อยู่อย่างสงบสุข แม้จะอยู่ในย่านสลัมก็ตาม ได้รับการปรับปรุงใหม่ทันที เพื่อต้อนรับทั้งการ
แข่งขันและนักท่องเที่ยว ย่านที่อยู่ของพวกเขาถูกรื้อถอนเพื่อเปิดทางให้สนามกีฬาแห่งใหม่
รวมทั้งพื้นที่รอบๆ ดูเรียบร้อยสวยงาม ไม่มีร่องรอยความรุงรังให้รกตานักท่องเที่ยว พวกเขา
ถูกขับไล่ที่ ทั้งหมดต้องไปอยู่รวมกันในสถานที่ใหม่ ซึ่งทางการสร้างขึ้นอย่างลวกๆ ให้อยู่
อาศัยแบบตามมีตามเกิด มีลักษณะเหมือนกล่องสังกะสี 


เมืองกล่องสังกะสีที่ว่านี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บลิคคีส์ดอร์ป (Blikkiesdorp)ประกอบด้วยบ้านที่สร้างเหมือนกล่องที่ทำด้วยสังกะสีเหมือนๆกัน 1700 กล่อง มีรั้วลวดหนามล้อมรอบอย่างแข็งแรง และอยู่ห่างจากที่เดิมที่พวกเขาเคยอาศัยอยู่ มากกว่า 16 กม. แม้ชาวเมืองจะคัดค้านอย่างไรว่าอยู่ห่างไกลจากโรงเรียน ไกลจากย่านที่พอหางานทำได้ และนักวิชาการบอกว่าตำกว่ามาตรฐานของสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ แต่ทางการก็ไม่ฟังเสียง
                จะเห็นได้ว่า อีกด้านของความสวยงามในฟุตบอลโลกครั้งนี้ ล้วนแต่เต็มไปด้วยความลำบากของชาวแอฟริกาใต้ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนของทางการ แต่จะว่าไปแล้ว ประเทศไหนๆเมื่อถึงเวลาที่จะมีมหกรรมที่ยิ่งใหญ่ และคาดว่านักท่องเที่ยวต่างจากแห่แหนกันเข้าประเทศมา เพื่อรักษาชื่อเสียงและทำรายได้ให้กับประเทศ ต่างก็ทำเช่นเดียวกับแอฟริกาใต้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสารคู่สร้างคู่สม


         World Cup 2010: Blikkiesdorp    

World

(Photo: Wiebke Wilting)


South Africa is basking in the glory that the FIFA World Cup 2010 brings with it. An army of foreign fans all having fun together, enjoying the football and enjoying South Africa. This is what the world gets to see, a new and improved South Africa. Crime is down, infrastructure has been much improved, the people are friendly and the Rand keeps on rolling in the hospitality business. It would seem that South Africans are benefitting from the World Cup being held in their country, but this is not the case for the thousands living in Blikkiesdorp. Blikkiesdorp was built in 2007 near Cape Town and contains 1,600 structures made from shiny corrugated iron, Blikkiesdorp translates as Tin Can Town. The people there would have loved to have seen some of the 63 billion Rand the hosting of the World Cup is estimated to cost South Africa go their way in improved housing, schooling and permanent jobs.



World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)


World

(Photo: Wiebke Wilting)



สนามบอลโลก 2010 แอฟริกาใต้



สนามบอลโลก


 มีสนามแข่งขันบอลโลก 2010 ทั้งหมด 10 สนามจาก 9 เมืองทั่วประเทศแอฟริกาใต้จะถูกใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ โดย ฟีฟ่าได้ประกาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2549 ได้แก่


Photo © AFP [2010]



บรรยากาศภายนอกสนามซ็อกเกอร์ ซิตี้ มองเห็นทัศนียภาพของเมืองโยฮันเนสเบิร์ก


 


สนามบอลโลก 2010 ซ็อคเกอร์ ซิตี้ สเตเดี้ยม 


เมือง : โยฮันเนสเบิร์ก


ความจุ: เต็มพิกัด 94,700 (นัดชิงชนะเลิศต้องลดปริมาณ ให้เหลือ 88,460 ตามกฏฟีฟ่า)


สนามฟุตบอลโลก 2010 ที่เรียกว่าใหญ่ที่สุดบนทวีปแอฟริกา และเป็นสนามกีฬาประจำชาติที่เต็มไปด้วยความสวยงาม ทันสมัย น่าตื่นตาตื่นใจ มีมนต์เสน่ห์ที่น่าหลงใหล สนามซ็อคเกอร์ ซิติ้ ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 1987 อันเคยเป็นสถานที่จัดการชุมนุมเมื่อครั้งที่ประธานาธิบดี เนลสันแมนเดลล่า ได้รบอิสระภาพในปี 1990 ก่อนที่จะถูกปรับปรุงใหม่ในเวลาต่อมา สนามฟุตบอลโลก 2010 แห่งนี้ จะใช้ในนัดเปิดสนาม และนัดชิงชนะเลิศ ในศึกฟุตบอลโลก 2010 บริเวณโดยรอบๆ อัฒจันทร์ของสนาม ยังคงความงดงามตื่นตาตื่นใจในยามค่ำคืน ด้วยแสงสีตระการตา หลังถูกดีไซน์มาโดยเฉพาะ ตัวสนามกีฬาถูกออกแบบรูปทรงให้คล้ายกับ คาลาบาช ซึ่งเป็นภาชนะของชาวแอฟฟริกัน


 



ความจุเต็มพิกัดภายในสนาม 94,700 ที่นั่ง ใช้ในนัดเปิดสนามและชิงชนะเลิศ


 


สนามบอลโลก 2010 ซ็อคเกอร์ ซิติ้ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของโยฮันเนสเบิร์ก ห่างจากโซเวโตเมืองที่มีผู้คนคลั่งไคล้เกมลูกหนังไม่ไกลนัก สนามแห่งนี้ ยังทำหน้าที่รับหน้าเสื่อให้เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาระดับโลกหลายประเภท โดยได้ทำการสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด ซึ่งก่อนหน้านี้ความจุของสนามสูงสุดอยู่ที่ 80,000 ที่นั่ง ก่อนที่จะถูกปรับปรุงครั้งใหญ่เพื่อฟุตบอลโลก 2010 โดยเฉพาะ และขยายเพิ่มมาเป็น 94,700 ที่นั่ง สนามถูกอัพเกรดแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2009





สนามที่ถูกออกแบบให้คล้ายกับธงชาติแอฟฟริกาใต้มองเห็นวิวเมืองเดอร์บัน


สนามบอลโลก 2010 เดอร์บัน สเตเดี้ยม


เมือง : เดอร์บัน


ความจุ : 70,000


สนามฟุตบอลโลก 2010 แห่งใหม่นี้ตั้งอยู่ในเมืองที่ว่ากันว่าสวยงามที่สุดเมืองหนึ่งของประเทศอย่าง เดอร์บัน อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โมเซส มาบิดา สเตเดี้ยม เป็นหนึ่งในสนามที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 รอบรองชนะเลิศ สนามฟุตบอลโลก 2010 แห่งนี้ ถูกออกแบบในเชิงสถาปัตยกรรม และมีตัวอย่างแรงบันดาลใจมาจากสัญลักษณ์ธงชาติของพวกเขา ด้วยการออกแบบเสาที่เป็นรูปโค้งแยกเป็น 2 ขา ควบคู่กันไปตั้งแต่ทางทิศใต้ จนกระทั่งประสานเป็นขาเดียวไปสิ้นสุดในทิศเหนือของสนาม


 



เดอร์บันสนามขนาดใหญ่ที่มีเคเบิ้ลคาร์ไว้คอยบริการข้ามฟากอัฒจรรย์เพื่อชมวิว


 


สนามบอลโลก 2010 เดอร์บัน สเตเดี้ยม มีความจุ 70,000 ที่นั่ง มีจุดเด่นตรงความสูงจากพื้นสนามถึงจุดสูงสุดที่ 350 เมตร และความยาว 106 เมตร ตัวอัฒจรรย์ถูกออกแบบให้ผู้ชมได้เห็นเกมการแข่งขันแบบสะดวกสบายในทุกที่ นั่ง สนามแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในบริเวณ เดอะ โอลด์ คิงส์ พาร์ค สเตเดี้ยม หรือตระกูล โมเซส มาบฮิดา ที่ถือกำเนิดมาวันที่ 14 ตุลาคม 1923 ใน ธอร์นวิลเล่ พีเทอร์มาริทซ์เบิร์ก เป็นครอบครัวยากจน ซึ่งภายหลังถูกบังคับให้ขายที่แห่งนี้ในปี 1963 โดยคำสั่งของ โอลิเวอร์ แทมโบ จากนั้น มาบฮิดา ไปทำงานอยู่ในกรุงปราก ก่อนที่จะกลับมาทำหน้าที่ทางการทหาร และกลายเป็นผู้นำทางด้านการเมือง


 



หนึ่งในสนามการแข่งขันที่บรรจงสร้างอย่างวิจิตรศิลป์เื่พื่อเป็นสังเวียนรอบรองชนะเลิศ


 


สนามบอลโลก กรีน พอยท์ สเตเดี้ยม


เมือง : เคปทาวน์


ความจุ : 69,070


สนามบอลโลก 2010 กรีนพ้อย สเตเดี้ยม หรือ เคปทาวน์ สเตเดี้ยม ตั้งอยู่ในเมืองเคปทาวน์ ซิติ้ ทางตอนใต้ของประเทศ เป็นหนึ่งในสนามฟุตบอลที่ถูกสร้างได้อย่างวิจิตรศิลป์ และเต็มไปด้วยความน่าหลงไหลที่สุด ซึ่งการออกแบบผสมผสานระหว่างความทันสมัย แต่คงไว้ด้วยเอกลัษณ์ในแบบแอฟริกา สนามแห่งนี้ถูกวางไว้รองรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 รอบรองชนะเลิศ

นอกจากจะใช้เป็นเวทีฟุตบอลโลก 2010 แล้ว ยังมีไว้รองรับกิจกรรมที่สำคัญไม่ว่าจะเป็น พิธีการแสดง หรืองานคอนเสิร์ต กรีน พอยท์ สเตเดี้ยม มีจุดเด่นคือตั้งอยู่ติดมหาสมุทร ขนาดที่ว่าโยนก้อนหินจากสนามไปถึงได้เลย แถมยังรายล้อมไปด้วยภูเขาสูง เรียกว่าเป็นสนามแห่งธรรมชาติอย่างแท้จริง สถานที่ตั้งก็เดินทางมาได้อย่างสะดวกสบาย สามารถเดินในระยะทางที่สั้นจากใจกลางเมืองสู่สนาม หรือไม่ก็จะมีรถรับส่งคอยบริการ



สนามแข่งขันที่รายล้อมไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเมืองเคปทาวน์


 


สนามบอลโลก 2010 ใหม่แห่งนี้แต่เดิมเคยเป็นสนามกอล์ฟ ก่อนที่จะถูกสร้างเป็นสนามฟุตบอลในเวลาต่อมา ความจุของกรีนพอยท์ สเตเดี้ยม อยู่ที่ 70,000 ที่นั่ง            และสร้างเสร็จในเดือนธันวาคม 2009 ถือเป็นสนามที่น่าจับตามองเป็นอย่างมากในปี 2010 นอกจากจะใช้ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอล ยังมีไว้สำหรับกีฬาดังๆ ในแอฟริกาใต้อย่างรักบี้     อีกด้วย


 



เอลลิส ปาร์ค สนามอันเป็นบ้านของสโมสรชื่อก้อง ออร์ลันโด ไฟเรตส์ เอฟซี




สนามบอลโลก เอลลิส ปาร์ค สเตเดี้ยม


เมือง : โยฮันเนสเบิร์ก


ความจุ : 62,567


สนามบอลโลก 2010 แห่งนี้ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวงโยฮันเนสเบิร์ก เป็นสนามศูนย์กลางที่ใช้แข่งขันกีฬาสำคัญหลายประเภท รวมถึง ฟุตบอลคอนเฟดเดอเรชั่นคัพ 2009 รอบชิงชนะเลิศด้วย และปัจจุบันตัวสนามถูกปรับปรุงขยายความจุจากเดิม 57,000 เพิ่มเป็น 62,000 ที่นั่ง เอลลิส ปาร์ค ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี 1928 ใช้ทำการแข่งขันรักบี้มาก่อน จากนั้นก็ถูกทุบทิ้งและสร้างขึ้นใหม่ในปี 1982 แต่ยังถูกคงไว้สำหรับกีฬารักบี้อยู่ดี โดยใช้ชื่อ เจดี เอลลิส และได้รับการอนุมัติจากสมาชิกสภาเมืองให้ครอบครองพื้นที่ถึง 13 เอเคอร์ส ที่พรั่งพร้อมไปด้วยสาธารณูปโภคอย่างครบครัน


 



ทัศนียภาพภายในสนามที่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งสัญลักษณ์แห่งความทรงจำของคนแอฟฟริกาใต้


สนามกีฬาแห่งนี้ถือเป็นสนามเวทย์มนตร์สำหรับชาวแอฟริกาใต้ นับตั้งแต่ทีมรักบี้ของแอฟริกาใต้ ช็อกโลกด้วยการเอาชนะ ยอดทีมอย่างนิวซีแลนด์ไปได้ในศึกรักบี้ชิงแชมป์โลกในปี 1995 และที่สำคัญคือ เอลลิส ปาร์ค สเตเดี้ยม ยังคงเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลดังอย่าง ออร์แลนโด ไพเรทส์ เอฟซี


 



    ลอฟตัส สนามเก่าแก่บ้านของสโมสรมาเมโลดี้ ซันดาวน์สและซูเปอร์สปอร์ต ยูไนเต็ด



สนามบอลโลก 2010 ลอฟตัส เวอร์สเฟลด์ สเตเดี้ยม  


เมือง : ชวาเน่/พริทอเรีย


ความจุ : 51,760


สนามบอลโลก 2010 ลอฟตัส เวอร์สเฟลด์ สเตเดี้ยม ตั้งอยู่ในเมือง ชวาเน่ และพริทอเรีย เป็นสนามกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดในแอฟริกาใต้ ซึ่งถูกใช้ในการแข่งขันกีฬาสำคัญๆ หลากหลายประเภทตั้งแต่ปี 1903 และครั้งแรกที่สนามแห่งนี้เปิดใช้ ภายในสนามจุผู้คนได้เพียง 2,000 ที่นั่งเท่านั้น ทั้งนี้สภาเมืองของปรีโตเรียได้สร้างสนามนี้ขึ้นในปี 1923


 



อดีตสังเวียนรักบี้ชิงแชมป์โลก 1995 และแอฟริกันเนชั่นคัพ 1996


ตั้งแต่ปี 1948 สนามถูกปรับปรุงขึ้นมาใหม่ ซึ่งถูกใช้แข่งขันทั้งรักบี้ และฟุตบอล อีกทั้งยังเป็นสนามเหย้าของทีมรักบี้ท้องถิ่นเดอะ บลูส์ บูลอีกด้วย ลอฟตัส เวอร์สเฟลด์      ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ชวาเน่/ปรีโตเรีย มีความจุที่นั่งทั้งหมด 50,000 ที่นั่ง เคยผ่านศึกใหญ่มาแล้วทั้ง รักบี้ชิงแชมป์โลกปี 1995 และแอฟริกันเนชั่นคัพปี 1996 ปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอล มาเมโลดี้ ซันดาวน์ส และ ซูเปอร์สปอร์ต ยูไนเต็ด


ทีมชาติฟุตบอลแอฟริกาใต้ หรือ บาฟาน่า บาฟาน่า ได้รับชัยชนะเหนือทีมจากยุโรปบนสนามแห่งนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1999 ด้วยการชนะสวีเดน 1-0


 



สนามบอลโลก 2010 เนลสัน แมนเดล่า เบย์ มีทิวทัศน์มองเห็นทะเลสาป นอร์ท เอนด์ เลค


สนามบอลโลก 2010 เนลสัน แมนเดล่า เบย์ สเตเดี้ยม
ความจุ: 48,000


เป็นสนามฟุตบอลโลกแห่งใหม่ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อมหกรรมฟุตบอลโลก 2010 โดยเฉพาะ พื้นที่ของสนามตั้งอยู่ติดกับทะเลสาป นอร์ท เอนด์ เลค สนามถูกสร้างแล้วเสร็จใน    ปี 2009 นี้เอง สนามบอลโลก 2010 เนลสัน แมนเดล่า เบย์ จะถูกใช้ในเกมชิงที่ 3 และรอบแปดทีมสุดท้าย รวมถึงรอบแบ่งกลุ่ม รวมทั้งสิ้นทั้งหมด 8 แมทช์ สนามแห่งนี้เป็นที่น่าจับตามองมาก โดยเฉพาะโครงสร้างหลังคาที่เป็นเอกลักษณ์ และทิวทัศน์ที่สามารถมองเห็นทะเลสาปได้อย่างชัดเจน


 


ช่วงที่ สนามบอลโลก 2010 เนลสัน แมนเดล่า เบย์ อยู่ในระหว่างก่อสร้าง การแข่งขันฟุตบอลระดับชาติจะไปใช้สนามกีฬาแห่งชาติรักบี้ทางตะวันออกของ ประเทศ              ชื่อ อีพีอาร์ยู สเตเดี้ยม สนามแห่งนี้ผ่านการทดลอลเกมมาแล้ว ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่าง ออร์แลนโด ไพเรทส์ กับ ไกเซอร์ ชีฟส์ ซึ่งการแข่งขันครั้งนั้นได้รับความสนใจจากแฟนบอลแอฟริกาใต้ จนเข้ามาชมเกมในสนามอย่างคับคั่ง


 



   
สนามบอลโลก 2010 ฟรี สเตท สเตเดี้ยม
ความจุ: 48,070
เป็นสนามที่น่าจับตามองมากที่สุดแห่งหนึ่งในทัวร์นาเมนต์ฟุตบอลโลก 2010 ด้วยรูปแบบที่ทันสมัย และเคยผ่านการใช้งานมาแล้วในรายการคอนเฟดเดอเรชั่นคัพ 2009   ในเกมแห่งความทรงจำรอบรองชนะเลิศระหว่าง สเปน กับ สหรัฐอเมริกา ที่มีผลการแข่งขันแบบช็อกโลกประจำทัวร์นาเมนต์เป็นประเดิมด้วย

ตัวสนามตั้งอยู่บนใจกลางเมือง บลูมฟอนเทน ทางใต้ของประเทศ ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 1952 เป็นสนามกีฬาขนาดกลาง ฟรี สเตท สเตเดี้ยม ถูกปรับปรุงความจุขึ้นมาจากเดิม 38,000 ที่นั่ง เพิ่มเป็น 45,000 ที่นั่ง ฟรี สเตท สเตเดี้ยม ยุคปรับปรุงใหม่ ถูกใช้ในการจัดการแข่งขันฟุตบอลและรักบี้เป็นส่วนมาก ตามธรรมชาติของคนพื้นเมืองบลูมฟอนเทน จะรักการเล่นและดูกีฬาเป็นชีวิตจิตใจอยู่แล้ว โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอล เป็นที่คลั่งใคล้ในเมืองนี้มาก โดยมีสโมสร บลูมฟอนเทน เซลติก เป็นทีมท้องถิ่น


 



 


สนามบอลโลก 2010 ปีเตอร์ โมโคบา สเตเดี้ยม
ความจุ: 46,000


ชื่อสนามแห่งนี้ถูกตั้งตามบุคคลที่มีชื่อเสียง ซึ่งเคยดิ้นรนต่อสู้กับกลุ่มชนเหยียดสีผิวจนกระทั่งได้รับอิสระ ปีเตอร์ โมโคบา เกิดและโตในเมืองโพลอกวาเน่ และเป็นที่รู้จักในวงกว้างขวาง หลังจากเจ้าตัวต่อสู้จนได้รับชัยชนะ และกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มชนรุ่นหลังได้ต่อสู้กับพวกเหยียดสีผิว

การออกแบบโครงสร้างของคอนกรีตได้แรงบันดาลใจมาจากต้นไม้เบาบาบ ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติ


 


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์