ประวัติทีมซันเดอร์เเลน

ซันเดอร์เเลน

[แก้] ประวัติสโมสร


สโมสรซันเดอร์แลนด์ (Sunderland A.F.C.) ก่อตั้งขึ้นในปี 1879 ภายใต้ชื่อเดิม Sunderland & District Teachers Association และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น Sunderland Association Football Club และได้เริ่มรับนักเตะเข้ามาร่วมทีมและเข้าร่วมฟุตบอลลีกอาชีพในปี 1890


ในช่วงแรกระหว่างปี 1886-1898 ซันเดอร์แลนด์ได้ใช้สนาม Newcastle Road ร่วมกับสโมสรนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ซึ่งถือเป็นคู่แข่งสำคัญ ต่อมาในปี 1898 ซันเดอร์แลนด์ได้ย้ายมาใช้สนามโรเกอร์พาร์ค เป็นสนามเหย้าแห่งใหม่


ปี 1913 ซันเดอร์แลนด์พ่ายให้กับทีมแอสตันวิลลา ในเกมนัดชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ


หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ทีมซันเดอร์แลนด์ก็ย่ำแย่ลงเรื่อยๆ จนในปี 1958 ทีมซันเดอร์แลนด์ตกชั้นไปเล่นลีกดิวิชั่น 1 เป็นครั้งแรก


จนถึงปี 1987 ซันเดอร์แลนด์ทำผลงานได้ย่ำแย่ทำให้ตกลงไปเล่นในระดับดิวิชั้น 3 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ต่อมาภายใต้การทำทีมของ Dennis Smith ทำให้ซันเดอร์แลนด์มีผลงานที่ดีขึ้นและเป็นแชมป์ในปี 1988 และหลังจากนั้น 2 ปีสามารถทำผลงานได้ถึงรอบเพลย์ออฟ (playoff) แต่ต้องพ่ายให้กับสวินดอน หลังจากพ่ายแพ้ทำให้ยังคงต้องเล่นอยู่ในระดับดิวิชั้น 2 ในฤดูกาล 1991-1992 ทีมสามารถเข้าใกล้พื้นที่เพลย์ออฟแต่ทำไม่สำเร็จ ได้เพียงเข้าชิงเอฟเอคัพ และพ่ายให้กับลิเวอร์พูลในที่สุด


Dennis Smith ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมโดยมี Malcolm Crosby ทำหน้าที่แทน(เพียงหนึ่งปี) และ เทอร์รี่ บุทเชอร์ ก็เข้ามาเป็นผู้จัดการในระยะสั้น และได้เปลี่ยนเป็น Mick Buxton


ในปี 1995 ซันเดอร์แลนด์ก็ได้ใช้บริการผู้จัดการทีมคนใหม่ ปีเตอร์ รีด เพียงแค่ฤดูการแรก ปีเตอร์ รีด ก็สร้างความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ด้วยการพาทีมขึ้นสู่ระดับพรีเมียร์ลีก หลังจากต้องพยายามอยู่กว่า 5 ปี แต่เนื่องจากทำผลงานได้ไม่ดีนักทำให้ต้องกลับไปเล่นในระดับดิวิชั่น 1 เมื่อจบฤดูกาล และในปีเดียวกันนั้น ทีมซันเดอร์แลนด์ต้องย้ายจากสนาม Roker Park ที่เคยใช้งานมากว่า 99 ปี มายังสนามแห่งใหม่ที่มีความจุมากที่สุดแห่งหนึ่งในรอบ 70 ปีของสนามกีฬาในอังกฤษ ด้วยจำนวนที่นั่งผู้ชม 42,000 คน และได้ขยายมาเป็น 49,000 คน


ซันเดอร์แลนด์กลับสู่ระดับพรีเมียร์ชิพอีกครั้งในปี 2000-2001 ด้วยฤดูกาลที่ไม่ยากเย็นนัก ปี 1998-1999 ทำคะแนนได้สูงถึง 105 คะแนน ในอีก 2 ปีต่อมา 2001-2002 ซันเดอร์แลนด์ทำผลงานได้ดีอยู่อันดับ 7 ในระดับพรีเมียร์ลีก แต่ทว่ายังพลาดโอกาสที่จะไปเล่นฟุตบอลสโมสรยุโรป ในปีต่อมา 2002-2003 ผลงานกลับทำผลงานได้ย่ำแย่อีกครั้ง เมื่อชนะเพียง 4 เกม ยิงได้ 21 ประตู เก็บได้แค่ 19 คะแนนเท่านั้น เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ซันเดอร์แลนด์ตกอยู่ในภาวะหนี้สินท้วมสโมสร มากกว่า 20 ล้านปอนด์ ทำให้จำเป็นต้องขายนักเตะที่ดีที่สุดไปเพื่อพยุงสถานการณ์ของสโมสร


ในฤดูกาล 2004-2005 ซันเดอร์แลนด์จบอย่างสวยหรู โดยการทำทีมของ มิค แมคคาร์ธธี โดยเป็นแชมป์ของลีก Coca-Cola Championship และได้กับมาเล่นในระดับพรีเมียร์ชิพอีกครั้ง (ครั้งที่ 3 ในรอบ 10 ปี) อย่างไรก็ตามหลังจากจบซีซัน 2005-2006 ซันเดอร์แลนด์เก็บได้เพียง 15 คะแนน เป็นประวัติการได้คะแนนน้อยที่สุดของสโมสร ทำให้ แมคคาร์ธธี ต้องออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในช่วงกลางฤดูกาล โดยมีรักษาการผู้จัดการทีมคือ Kevin Ball


หลังจากนั้นความหวังของทีมซันเดอร์แลนด์ก็กลับมาอีกครั้งในปี 2006 ด้วยการเข้าซื้อกิจการของไนออล ควินน์ อดีตนักเตะของซันเดอร์แลนด์ ร่วมกับ Irish Drumaville Consortium ทำการซื้อหุ้นจากประธานสโมสรคนก่อน Bob Murray และการเข้ามาคุมทีมของรอย คีน อดีตกัปตันแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นอดีตทีมชาติไอร์แลนด์เหมือนประธานสโมสร


หลังจากการเข้ามาของประธานสโมสร และผู้จัดการทีมคนใหม่ ซันเดอร์แลนด์สร้างสถิติไม่แพ้ใคร 17 นัดติดต่อกันในฤดูกาล 2006-2007 ในช่วงต้นปี 2007 เก็บคะแนนได้เป็นกอบเป็นกำ ขยับจากตำแหน่งบ๊วยของตารางขึ้นมาเป็นจ่าฝูง และทำให้ซันเดอร์แลนด์เลื่อนชั้นมาเล่นในพรีเมียร์ลีกในฐานะ ทีมชนะเลิศ พร้อมกับ เบอร์มิงแฮม ซิตี้(อันดับ 2) และทีมดาร์บีเคาน์ตี (เพลย์ออฟ)


ในนัดเปิดสนามฤดูกาล 2007-2008 ซันเดอร์แลนด์ชนะทอตแนมฮ็อตสเปอร์ ด้วยสกอร์ 1-0 โดยการทำประตูของ ไมเคิล โชปราในช่วงทดเวลาเจ็บ และนัดที่สองเสมอกับทีมน้องใหม่เหมือนกันคือ Birmingham City 2-2 โดย ไมเคิล โชปรา และ สเติร์น จอห์น ช่วยกันทำประตูสนามเหย้า


สเตเดียมออฟไลท์



[แก้] สีประจำสโมสร

เมื่อก่อนนี้ซันเดอร์แลนด์ใช้ชุดแข่งสีน้ำเงินล้วน โดยมีสีแดงเพียงเล็กน้อยบนบ่า และได้เปลี่ยนเปลี่ยนเป็นสีแดงสลับขาวตั้งปี 1887 เป็นต้นมา ปัจจุบันฤดูกาล 2007-2008 ซันเดอร์แลนด์ใช้ชุดทีมเยือนเป็นสีขาวล้วน ซึ่งใช้มานานแล้วตั้งแต่ปี 1898 และชุดทีมเยือนแบบที่ 2 เป็นสีน้ำเงินล้วน



[แก้] ชื่อเล่น


ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ชื่อเล่นที่รู้จักกันทั่วไปของสโมสรซันเดอร์แลนด์ คือ The Black Cats (แมวดำ)


โดยในประวัติของสโมสร ได้เคยมีชื่อเล่นที่เรียกสโมสรไว้หลายหลายชื่อ เช่น Black Cat Battery, Eye Plan, Team of All Talents, Bank of England club เป็นต้น


ฤดูกาล 2006-2007 ที่ผ่านมา ตั้งแต่สองนายใหญ่ ไนออล ควินน์ และ รอย คีน เข้ามาคุมทีม มีข้อสังเกตว่าจากที่ทั้งสองเป็นอดีตนักเตะไอร์แลนด์ และได้ดึงนักเตะสัญชาติไอร์แลนด์เข้ามาร่วมทีมหลายคน (9 ใน 34 คน) เลยมีการหยอกล้อว่าเป็น Sund-Ireland


[แก้] อดีตผู้เล่นที่โด่งดัง

[แก้] สถิติที่สำคัญของสโมสร


ระยะเวลา 117 ปี (76 ปีในลีกสูงสุด) ซันเดอร์แลนด์เล่นไปแล้วกว่า 4,700 นัด โดยเฉลี่ยชนะ 41% เสมอ 24% และแพ้ 35% ซึ่งรวมทั้งหมดแล้วประตูได้เสีย รวมแล้วได้มากกว่าเสียประมาณ 600 ประตู



  • สถิติผู้ชม

    • ผู้ชมสูงสุด (รวมทุกรายการ): 75,118 (แข่งกับดาร์บี้ เค้าท์ตี้, เอฟเอคัพ รอบที่ 6 นัดแข่งใหม่, 8 มีนาคม 1933 สนามโรเกอร์พาร์ค)
    • ผู้ชมสูงสุด (เกมลีก): 68,004 (แข่งกับนิวคาสเซิลยูไนเต็ด, 4 มีนาคม 1950) โดยมีการคาดการว่าอาจมีผู้ชมเข้าชมมากถึง 90,000 ในเกมที่พบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในปี 1964 ที่สนามโรเกอร์พาร์ค
    • ผู้ชมสูงสุด (สนามสเตเดียมออฟไลท์): 48,355 (แข่งกับลิเวอร์พูล, พรีเมียร์ลีก, 13 เมษายน 2002) นอกจากนี้สถิติที่เคยทำได้สูงสุดหลังจากไม่ได้เล่นในระดับลีกสูงสุดคือ 47,350 (แข่งกับสโตคซิตี้, ลีกแชมเปียนชิพ, 8 พฤษภาคม 2005)
    • ผู้ชมน้อยที่สุด (รวมทุกรายการ): 1,000? (แข่งกับ Firefield, เอฟเอคัพรอบแรก, 2 กุมภาพันธ์ 1895 สนามนิวคาสเซิลโร้ด) (ประมาณการตัวเลข)
    • ผู้ชมน้อยที่สุด (เกมลีก): 2,000? (แข่งกับเอฟเวอร์ตัน, 10 เมษายน 1910 หรือ แข่งกับเบิร์นลี่ย์, 12 ธันวาคม 1914) (ประมาณการตัวเลข และทั้งสองเกมแข่งที่โรเกอร์พาร์ค)
    • ผู้ชมน้อยที่สุด (สนามสเตเดียมออฟไลท์): 11,450 (แข่งกับเชสเตอร์ซิตี้, ลีกคัพรอบแรก, 24 สิงหาคม 2004)
    • ผู้ชมน้อยที่สุด (สนามสเตเดียมออฟไลท์, เกมลีก): 22,167 (แข่งกับวีแกนแอทเลติค, 2 ธันวาคม 2003)
    • ผู้ชมสูงสุดโดยเฉลี่ย (รวมทุกรายการ): 47,976 (1949-1950 ที่โรเกอร์พาร์ค)
    • ผู้ชมสูงสุดโดยเฉลี่ย (สนามสเตเดียมออฟไลท์): 46,790 (2000-2001)
    • ผู้ชมสูงสุดเปรียบเทียบกับพื้นที่อัฒจันทร์: 97% (1999-2000)


  • ผลการแข่งขัน

    • ชนะมากที่สูงสุด (เกมลีก): 1-9 (แข่งกับนิวคาสเซิลยูไนเต็ด, ดิวิชั่น 1, 5 ธันวาคม 1908)
    • ชนะมากที่สูงสุด (ฟุตบอลถ้วย): 11-1 (แข่งกับ Fairfield, เอฟเอคัพรอบแรก, 2 กุมภาพันธ์ 1895)
    • แพ้มากที่สุด: 8-0 (แข่งกับเวสต์แฮมยูไนเต็ด, 19 ตุลาคม 1968 และ แข่งกับวัตฟอร์ด 25 กันยายน 1982)


  • ผู้เล่น

    • ลงเล่นมากที่สุดตลอดกาล: 623 นัด - Jimmy Montgomery (เกมลีก 537, ฟุตบอลถ้วย 78 และอื่นๆ 8 นัด)
    • ทำประตูมากที่สุดตลอดกาล: 228 ประตู - Bobby Gurney
    • ทำประตูมากที่สุดเมื่อเร็วๆ นี้: 113 ประตู - Kevin Phillips
    • ทำประตูมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล: 43 ประตู - Dave Halliday ฤดูกาล 1928-29
    • นักเตะที่มีค่าตัวสูงที่สุด: 9 ล้านปอนด์ (Craig Cordon ซื้อจาก Hearts) (เป็นบันทึกการซื้อตัวผู้รักษาประตูที่แพงที่สุดในฟุตบอลลีกอังกฤษ)


  • ผลการแข่งขันต่อเนื่อง

    • ชนะติดต่อกันนานที่สุด: 13 เกม (14 พฤศจิกายน 1891 - 2 เมษายน 1982)
    • เสมอติดต่อกันนานที่สุด: 6 เกม (26 มีนาคม 1949 - 19 เมษายน 1949)
    • แพ้ติดต่อกันนานที่สุด: 17 เกม (18 มกราคม 2003 - 23 สิงหาคม 2003)
    • ไม่แพ้ติดต่อกันนานที่สุด: 19 เกม (3 พฤษภาคม 1998 - 11 พฤศจิกายน 1998)
    • ไม่ชนะติดต่อกันนานที่สุด: 22 เกม (21 ธันวาคม 2002 - 23 สิงหาคม 2003)


  • คะแนน

    • คะแนนสูงสุดในหนึ่งฤดูกาล: 105 คะแนน (ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 1998-99) (เป็นบันทึกในฟุตบอลลีกของอังกฤษ)
    • คะแนนน้อยที่สุดในหนึ่งฤดูกาล: 15 คะแนน (พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2005-06) (เป็นบันทึกในฟุตบอลลีกของอังกฤษ ตั้งแต่ใช้วิธีเก็บคะแนนแบบชนะได้ 3 คะแนน)


[แก้] เกียรติประวัติ



  • แชมป์ดิวิชั้น 1 (เดิม): 6 ครั้ง

    • 1891/1892, 1892/1893, 1894/1895, 1901/1902, 1912/1913, 1935/1936


  • รองแชมป์ดิวิชั้น 1 (เดิม): 5 ครั้ง

    • 1893/1894, 1897/1898, 1900/1901, 1922/1923, 1934/1935


  • แชมป์ฟุตบอลลีก (ลีกแชมเปี้ยนชิพในปัจจุบัน): 2 ครั้ง

    • 2004/2005, 2006/2007


  • แชมป์ดิวิชั้น 1 (ใหม่): 2 ครั้ง

    • 1995/1996, 1998/1999


  • แชมป์ดิวิชั้น 2 (เดิม): 1 ครั้ง

    • 1975/1976


  • รองแชมป์ดิวิชั้น 2 (เดิม): 1 ครั้ง

    • 1963/1964


  • แชมป์ดิวิชั้น 3 (เดิม): 1 ครั้ง

    • 1987/1988


  • แชมป์เอฟเอคัพ: 2 ครั้ง

    • 1936/1937, 1972/1973


  • รองแชมป์เอฟเอคัพ: 3 ครั้ง

    • 1912/1913, 1941/1942, 1991/1992


  • รองแชมป์ลีกคัพ: 1 ครั้ง

    • 1984/1985


  • แชมป์ Charity Shield: 1 ครั้ง

    • 1936/1937


  • รองแชมป์ Charity Shield: 1 ครั้ง

    • 1937/1938



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์